ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด AF คือ อายุที่มากขึ้น ภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคอ้วน โรคไทรอยด์ โรคไต ฯลฯ
ผู้ป่วย AF มักจะมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก หรือแน่นหน้าอก เป็นๆ หายๆ หรืออาจไม่มีอาการใดๆ เลย ใครที่ไม่แน่ใจว่าอาการผิดปกติที่เป็นอยู่นั้นใช่ AF หรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ
ผู้ที่มีอาการผิดปกติบ่อยๆ และเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แพทย์อาจแนะนำให้ติดอุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Multiday Patch Holter เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24-72 ชั่วโมง วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจจับ AF ได้แม่นยำยิ่งขึ้น
Multiday Patch Holter เทคโนโลยีบันทึกการเต้นของหัวใจในโลกยุคดิจิทัล คลิกอ่าน >> https://bit.ly/3Rk7jno
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมโรคประจำตัวให้ดี จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิด AFได้ ด้วยการหมั่นตรวจเช็คสุขภาพทั้งระดับน้ำตาล ไขมัน ความดันโลหิต ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงตรวจคัดกรอง AF เป็นระยะๆ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในผู้ที่มีความเสี่ยง
ที่มา: โรงพยาบาลรามคำแหง