ดูไบจัดการประชุมว่าด้วยการขนส่งไร้คนขับครั้งที่ 3 พร้อมยกย่องผู้ชนะการประกวด

อังคาร ๐๓ ตุลาคม ๒๐๒๓ ๐๘:๐๗
ชัยค์ ฮัมดาน บิน มุฮัมมัด บิน รอชิด อาล มักตูม (Sheikh Hamdan bin Mohammed bin Rashid Al Maktoum) เจ้าผู้ครองนครดูไบและประธานสภาบริหาร ทรงเปิดการประชุมดูไบ เวิลด์ ว่าด้วยการขนส่งไร้คนขับ (Dubai World Congress for Self-Driving Transport) ครั้งที่ 3 และทรงยกย่องผู้ชนะการประกวดนวัตกรรมการขนส่งไร้คนขับด้วย โดยการเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้สอดคล้องกับความพยายามของ RTA ในการเปลี่ยนการเดินทาง 25% ในดูไบให้เป็นการเดินทางที่ชาญฉลาดและไร้คนขับให้ได้ภายในปี 2573

การประกวดครั้งนี้มีผู้ส่งผลงานเข้ามา 27 รายการทั่วโลก โดยมีบริษัทระดับโลก 5 แห่งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและได้รับเลือกเข้าชิงรางวัลในหมวดผู้นำอุตสาหกรรม (Industry Leaders) ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ เดนนิส (Alexander Dennis) ไบรต์ ไดรฟ์ (Bright Drive) คิง ลอง (King Long) ควอดริบอต (Quadribot) และไอออโต เทคโนโลยี (iAuto Technology) และมีมหาวิทยาลัย 5 แห่งได้รับเลือกให้เข้ารอบชิงชนะเลิศในกลุ่มสถาบันวิชาการระดับท้องถิ่น (Local Academia) ได้แก่ มหาวิทยาลัยเฮเรียต-วัตต์ (Heriot-Watt University) ในดูไบ มหาวิทยาลัยคาลิฟา (Khalifa University) ในอาบูดาบี มหาวิทยาลัยดูไบ (University of Dubai) มหาวิทยาลัยโบลตัน (University of Bolton) ในราสอัลไคมาห์ และมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งชาร์จาห์ (American University of Sharjah)

ชัยค์ ฮัมดาน บิน มุฮัมมัด บิน รอชิด อาล มักตูม ทรงยกย่องบริษัทคิง ลอง จากจีน ผู้คว้าอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้นำอุตสาหกรรม และเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยบริษัทแห่งนี้ได้นำเสนอรถบัสไร้คนขับ ตัวรถยาว 6 เมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรองรับผู้โดยสารได้ 12 คน รถบัสมีกล้องและเซ็นเซอร์ 27 ตัว ซึ่งแบตเตอรี่ชาร์จเต็มได้ภายใน 120 นาที

ส่วนบริษัทไบรต์ ไดรฟ์ จากอียิปต์ คว้าอันดับสองไปครอง พร้อมเงินรางวัล 750,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากการนำเสนอรถบัสไร้คนขับที่มีความยาว 6 เมตร และมีความเร็วสูงสุด 69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถบัสนี้รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 15 คน มีกล้องและเซ็นเซอร์ 16 ตัว และชาร์จเต็มได้ภายใน 180 นาที

ชัยค์ ฮัมดาน บิน มุฮัมมัด บิน รอชิด อาล มักตูม ทรงยกย่องมหาวิทยาลัยเฮเรียต-วัตต์ ในดูไบ ซึ่งนำเสนอแนวคิดแบบใหม่ ที่ผู้โดยสารจะได้สัมผัสประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ไร้คนขับในโหมดความเป็นจริงเสมือน โดดเด่นด้วยความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้โดยสาร โดยมีฟีเจอร์ใหม่ที่ทำงานร่วมกับแอป RTA และนำเสนอฟีเจอร์วางแผนการเดินทาง (Journey Planner) ให้ผู้ขับรถบัสผ่านการโต้ตอบกับแชตบอต

ส่วนมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคาลิฟาในอาบูดาบี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศมูลค่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทางมหาวิทยาลัยได้นำเสนอแนวคิดเรื่องประสบการณ์ของลูกค้าเกี่ยวกับรถโดยสารอัตโนมัติ โดยพัฒนาผู้ช่วยมนุษย์เสมือนที่ตอบสนองและตอบคำถามผู้โดยสารเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางของรถประจำทาง จำนวนผู้โดยสาร ไปจนถึงอุณหภูมิภายในและภายนอกได้

การประชุมนี้ส่งท้ายด้วยการประกาศกิจกรรมประกวดที่กำลังจะมีขึ้นอย่าง "เขตขนส่งอัตโนมัติดูไบ" (Dubai Autonomous Transport Zone) ในปี 2568

วิดีโอ - https://mma.prnewswire.com/media/2235193/Roads_and_Transport_Authority.mp4
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2235224/Roads_and_Transport_Authority.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ