เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี โครงการศรัทธาและสื่อ (Faith & Media Initiative) ของมูลนิธิเรเดียนท์ (Radiant Foundation) ได้จับมือกับ แกลลัพ (Gallup) เผยแพร่รายงานในหัวข้อ "ศรัทธาและสุขภาวะ ความเชื่อมโยงทั่วโลกระหว่างความเชื่อทางจิตวิญญาณกับสุขภาวะ" (Faith and Wellness: The Worldwide Connection Between Spirituality & Wellbeing) (ลิงก์รายงาน: https://www.faithandmedia.com/research/gallup) ซึ่งเป็นรายงานการวิเคราะห์อภิมานของข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลที่แกลลัพรวบรวมมาจากทั่วโลก ซึ่งเผยให้เห็นว่าความเชื่อทางจิตวิญญาณสามารถช่วยแก้ไขวิกฤตสุขภาพจิตได้ โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาจากการสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกของแกลลัพ (Gallup World Poll) ตลอดระยะเวลา 10 ปี ในกว่า 140 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมประชากรราว 1.47 ล้านคน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นระหว่างความศรัทธาในศาสนากับสุขภาวะ ขณะที่ดัชนีของแกลลัพที่ชี้วัดอารมณ์เชิงบวก ชีวิตทางสังคม การมองโลกในแง่ดี และการมีจิตสาธารณะ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความศรัทธาในศาสนา ซึ่งนิยามโดยความสำคัญของศาสนาในชีวิตประจำวัน กับผลลัพธ์ด้านสุขภาวะ
จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วโลกพบว่า ผู้ที่กล่าวว่าศาสนามีความสำคัญต่อตนเอง มีแนวโน้มที่จะมีจิตสาธารณะมากกว่า โดยชี้วัดด้วยดัชนีจิตสาธารณะ ซึ่งประเมินแนวโน้มในการสละเวลาของตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์อภิมานพบว่า คนที่ศรัทธาในศาสนาราว 100 ล้านคน เชื่อว่าตนเองสามารถพึ่งพาผู้อื่นในยามจำเป็นได้มากกว่าเมื่อเทียบกับถ้าตนเองไม่ศรัทธาในศาสนา และจากดัชนีประสบการณ์เชิงบวก พบว่าผู้ใหญ่ประมาณ 160 ล้านคนทั่วโลกเชื่อว่าตนเองมีประสบการณ์เชิงบวกมากกว่าเมื่อเทียบกับถ้าตนเองไม่ศรัทธาในศาสนา
นอกจากนี้ แกลลัพได้พิจารณาเอกสารข้อมูลที่มีอยู่และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อพัฒนากรอบการทำงานใหม่ ซึ่งระบุผลพวงสำคัญ 5 ประการที่ความเชื่อทางจิตวิญญาณส่งผลดีต่อสุขภาวะ ได้แก่ 1) การเผชิญปัญหาเชิงบวกและการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต 2) การเชื่อมโยงทางสังคมด้วยศรัทธา 3) การมีจิตสาธารณะและการมีส่วนร่วมในชุมชน 4) ความมีเสถียรภาพเชิงโครงสร้าง และ 5) การมีสถานที่ทำงานที่สนับสนุนสุขภาวะแบบองค์รวม
"ในขณะที่คุณพยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น คุณก็จะได้รับความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน นั่นคือโครงสร้างของโลก หากคุณเมตตาผู้อื่นโดยไม่เห็นแก่ตัวและไม่มีเงื่อนไข ชีวิตของคุณก็จะมีความมั่นคงเช่นเดียวกัน" คุณฮาโรลด์ โคนิก (Harold Koenig) ศาสตราจารย์สาขาจิตเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์จากโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยดุ๊ก กล่าว "ศาสนาใช้ได้กับทุกคนและทุกเวลา โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพทางการเงิน สังคม ร่างกาย หรือจิตใจ"
"เรากำลังเผชิญกับวิกฤตสุขภาพจิตทั่วโลก ดังนั้น เราไม่อาจมองข้ามแง่มุมใดของชีวิตหรือกิจกรรมใดก็ตามที่สามารถยกระดับสุขภาวะของเราได้" คุณแอรอน เชอริเนียน (Aaron Sherinian) ซีอีโอของมูลนิธิเรเดียนท์ กล่าว "ก่อนหน้านี้ การสำรวจส่วนใหญ่ถามเฉพาะคำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ แต่การวัดผลที่ครอบคลุมมากขึ้นนี้จะช่วยให้เราเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าปัจจัยด้านความศรัทธาและจิตวิญญาณสามารถเสริมสร้างสุขภาพจิตได้อย่างไร การศึกษานี้ทำให้เรามีกรอบการทำงานใหม่สำหรับการเชื่อมโยงปัจจัยเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ตลอดจนทำความเข้าใจอย่างเหมาะสมและครอบคลุมมากขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักศาสนา จิตวิญญาณ และสุขภาวะ"
แม้ว่าผลการศึกษาและการวิเคราะห์อย่างละเอียดในรายงานจะแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างจิตวิญญาณกับสุขภาวะ ทว่าความสัมพันธ์นั้นมีความซับซ้อน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากทั่วโลกของแกลลัพในช่วงปี 2555-2565 แสดงให้เห็นว่า จิตวิญญาณและผลลัพธ์ด้านสุขภาวะมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละสถานที่ทั่วโลก แต่โดยรวมแล้ว ผู้นับถือศาสนามีแนวโน้มที่จะได้คะแนนดีกว่าผู้ที่ไม่นับถือศาสนา ทั้งในดัชนีประสบการณ์เชิงบวก ดัชนีชีวิตทางสังคม ดัชนีพื้นฐานชุมชน และดัชนีการมองโลกในแง่ดี นอกจากนี้ ผลลัพธ์เชิงบวกยังเพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้นับถือศาสนาอาศัยอยู่ในประเทศที่ศรัทธาในศาสนามากกว่า
"แม้ว่าความเชื่อมโยงระหว่างศาสนา จิตวิญญาณ และสุขภาวะจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องตรวจสอบให้ลึกยิ่งขึ้น" คุณอิลานา รอน-เลวีย์ (Ilana Ron-Levey) กรรมการผู้จัดการของแกลลัพ กล่าว "คนจำนวนมากอาจยังไม่ตระหนักเต็มที่ถึงผลลัพธ์เชิงบวกที่การปฏิบัติทางจิตวิญญาณมีต่อสุขภาพกายและใจของตนเอง ดังนั้น การศึกษานี้ได้ช่วยเผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างจิตวิญญาณกับสุขภาวะในหลายประเทศและภูมิภาค"
รายงานฉบับนี้ยังตั้งคำถามด้วยว่า สถานที่ทำงานสามารถนำองค์ประกอบด้านจิตวิญญาณมารวมเข้ากับโครงการส่งเสริมสุขภาวะของพนักงานได้หรือไม่ เนื่องจากรายงานล่าสุดของกรมการแพทย์ทหารแห่งสหรัฐอเมริกา ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของสถานที่ทำงานที่ใส่ใจสุขภาวะของพนักงาน
"หนึ่งใน "ประเด็นร้อน" ที่นายจ้างต้องรับมือคือ การตอบสนองต่อศรัทธาในที่ทำงาน เนื่องจากพนักงานจากหลากหลายประเพณีต่างต้องการเป็นตัวของตัวเองในที่ทำงาน ซึ่งครอบคลุมถึงอัตลักษณ์ทางจิตวิญญาณของตนเองด้วย" ดร.เดวิด มิลเลอร์ (David Miller) ผู้อำนวยการโครงการศรัทธาและงาน (Faith & Work Initiative) ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน กล่าว "ความศรัทธาและจิตวิญญาณจะต้องเป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยกในทุกองค์กร"
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยและอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://www.faithandmedia.com/research/gallup
เกี่ยวกับมูลนิธิเรเดียนท์
มูลนิธิเรเดียนท์ (Radiant Foundation) มีพันธกิจในการสร้างสถานที่เชิงบวกและเป็นส่วนตัวมากขึ้นเพื่อรองรับศรัทธาในสังคมยุคใหม่ ทางมูลนิธิกำลังเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและชีวิตของผู้คนมากมาย ด้วยการสนับสนุนการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับศรัทธาในข่าวและสื่อบันเทิงอย่างหลากหลายและถูกต้องมากขึ้น ช่วยให้ผู้คนพัฒนาความสัมพันธ์อย่างมีคุณค่ากับพระเจ้า ลดการแบ่งแยก ส่งเสริมความเข้าใจ และสร้างแรงบันดาลใจในการแลกเปลี่ยนทางจิตวิญญาณอย่างมีคุณค่า
เกี่ยวกับแกลลัพ
แกลลัพ (Gallup) ให้บริการวิเคราะห์และให้คำแนะนำ เพื่อช่วยให้ผู้นำและองค์กรต่าง ๆ สามารถแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่สุดได้ แกลลัพผสานประสบการณ์ที่สั่งสมมานานกว่า 80 ปี เข้ากับเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ทำให้เข้าใจทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงาน ลูกค้า นักเรียนนักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไปมากกว่าองค์กรใดในโลกนี้
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/2240944/gallup_vector_logo_Logo.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/2240945/Dark_Initiative_Logo_Horiz_Logo.jpg