บพข. รับโล่ประกาศเกียรติคุณผู้สนับสนุนระบบนิเวศธุรกิจฐานวิจัยนวัตกรรมของประเทศไทย

อังคาร ๑๗ ตุลาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๔๒
รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ขึ้นรับโล่ประกาศเกียรติคุณหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนระบบนิเวศธุรกิจฐานวิจัยนวัตกรรมของประเทศไทย ( Thailand Deep Tech Startup Ecosystem) ในงาน "Chula Deep Tech Demo Day 2023" จัดขึ้นโดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUiHub) พร้อมเชิญนักลงทุน ( Venture Capital ) กว่า 800 คนจากทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมงาน โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องเพลนารี ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

นางสาวศุภมาส กล่าวว่า "งานนี้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อกลุ่มสตาร์ตอัพที่เน้นเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) วัตถุประสงค์หลักคือ การให้โอกาสแก่สตาร์ตอัพที่เข้าร่วมงานได้นำเสนอและแสดงผลิตภัณฑ์ให้กับนักลงทุนที่มีศักยภาพ อีกทั้งมุ่งหวังให้เกิดการดึงดูดนักลงทุน VCs และ CVCs จากทั่วโลกเข้ามายังประเทศไทย นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานยังมีโอกาสในการเชื่อมโยงกับสตาร์ตอัพและผู้เล่นสำคัญในระบบนิเวศนวัตกรรม โอกาสในการเข้าร่วมเครือข่ายกับบุคคลผู้มีอิทธิพลในระบบนิเวศนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) ระดับโลก พร้อมทั้งได้รับข้อมูลสารสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์ของตลาดสตาร์ตอัพไทยในปัจจุบันอีกด้วย"

รศ.ดร.ธงชัย ได้กล่าวถึงบทบาทของ บพข. ในการสนับสนุน Deep Tech Startup ของไทย ในเวทีเสวนา ภายใต้หัวข้อ Opportunities and Ecosystem of Thailand Deep Tech Landscape ว่า "การที่จะช่วยให้ Deep Tech Startup ประสบความสำเร็จใน Ecosystem ของไทยได้นั้น เราจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมในการสร้างเทคโนโลยีและระบบนิเวศของการสร้างความรู้และเทคโนโลยีของเราเอง ซึ่ง บพข. เป็นหน่วยงานให้ทุนที่ส่งเสริมและขับเคลื่อนงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Science and Technology) เพื่อให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการมูลค่าสูงออกสู่เชิงพาณิชย์ ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บพข. มีแผนงาน "Deep Science and Technology Accelerator Platform" ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา Thai Deep Tech Startups และ SMEs ผ่านกลไกที่เรียกว่า Accelerator Platform ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างแพลตฟอร์มบ่มเพาะและพัฒนาธุรกิจที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก ช่วยส่งเสริมและผลักดันให้ Deep Tech Startup ก้าวไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องของ Market Fit โดยการฝึกสอน การให้คำปรึกษาแนะนำ ทั้งในเรื่องของ Market size, market growth และ financial feasibilityรวมถึงการจับคู่ธุรกิจกับ Deep Tech Startup ด้วยแนวทางถูกต้อง เพื่อช่วยสร้างโอกาสให้ Deep Tech Startup สามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้ โดยใน 3 ปีที่ผ่านมา บพข. ได้ให้การสนับสนุนทุนกว่า 190 ล้านบาท ให้แก่ 11 Accelerator จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 9 แห่ง และสถาบันวิจัย 1 แห่ง เกิด startups 84 สตาร์อัพ โดยมีแหล่งทุนภายนอกร่วมลงทุนกับ startup ในภาคอุตสาหกรรมกว่า 8 อุตสาหกรรม คิดเป็นมูลค่ากว่า 972 ล้านบาท เพื่อขยายขนาดและได้รับมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเป้าหมายในการยกระดับ Deep Tech Startups ของไทยให้ก้าวพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและการเป็นเพียงผู้ผลิต OEM แต่ต้องสามารถพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึกจนได้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่มีมูลค่าสูง สามารถทำให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพื่อนำผลิตภัณฑ์หรือบริการออกสู่ global market เสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศและก่อให้มูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงได้"

"สิ่งสำคัญที่ บพข. จะช่วยสนับสนุนให้ Deep Tech Startup ของไทยประสบความสำเร็จได้นั้น เริ่มด้วยการสร้าง Connection เพราะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ startup ซึ่ง บพข. ได้เป็นหน่วยงานหลักในการเชื่อมโยงการจัดการทุนวิจัยพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ประเทศ สิ่งต่อมาคือ Corroboration เรามุ่งเน้นในการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนและสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการของเรา สิ่งที่สามคือ Convert เราสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี เป็นผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่พร้อมออกสู่เชิงพาณิชย์ สิ่งที่สี่คือ Catalyst เรามีระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) และระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation management system) ที่เป็นตัวเร่งให้ Deep Tech Startup สามารถเข้าสู่ global market ได้ และทำให้เกิดสิ่งสุดท้ายคือ Competitiveness หรือความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ซึ่งทั้งหมดนี้คือพันธกิจของ บพข. ที่จะต้องทำเพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการไทยเกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและก้าวพ้นประเทศกับดักรายได้ปานกลาง" รศ.ดร.ธงชัย กล่าวทิ้งท้าย

โดยในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ บพข. จะนำทัพ 22 ผู้ประกอบการจาก 11 Accelerator ไปร่วมออกบูธจัดแสดงผลงานด้านนวัตกรรม ในงาน "TechInnovation 2023, Singapore" จัดโดย Innovation Partner for Impact (IPI) ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อหาพาร์ทเนอร์ใหม่จากต่างชาติมาร่วมลงทุนในนวัตกรรม และสร้างโอกาสในการแข่งขันในระดับ global market ของผู้ประกอบการไทยต่อไป

ที่มา: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ