วว. ผนึกกำลังเอกชน ขับเคลื่อนงานวิจัย มุ่งฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

พุธ ๒๕ ตุลาคม ๒๐๒๓ ๑๒:๓๑
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้แทน วว. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ นางสาวอรทัยรัชต์ ภูมิวงศ์พิทักษ์ ประธานบริษัท ซัสเทนเนเบิ้ล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่ดำเนินโครงการ "SD Tree for Net Zero" โดยความร่วมมือของ วว. และบริษัทฯในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบูรณาการร่วมกันในการผลักดันผลงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้เกิดการพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์จากงานวิจัยด้านป่าไม้ สู่การร่วมดูแลรักษา การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำ และการให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่ทางสังคมให้สอดคล้องกับ BCG Model ต่อไป

โอกาสนี้ นายสมพร มั่งมี กรรมการ วว. พร้อมด้วย ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ดร.โสภาพรรณ สัญญาณเสนาะ ผู้อำนวยการ สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม นายจิราวัฒน์ วัฒนบุตร ผู้อำนวยการ กองบริการธุรกิจนวัตกรรม และนักวิจัย วว. ร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดี ในวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุม กวท. ชั้น 8 อาคาร RD 1 วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี

"วว. เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Planet) เป้าหมายที่ 15 : ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ หยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งปัจจุบัน วว. มีความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตร ทั้งการเตรียมความพร้อมดินก่อนการเพาะปลูก การเพาะปลูกที่มีคุณภาพ และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงผลักดันองค์ความรู้และประสบการณ์จากงานวิจัยด้านป่าไม้ สู่การร่วมดูแลรักษา และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำอย่างเป็นรูปธรรม โดยครอบคลุมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม ตลอดจนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน เยาวชน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนพื้นที่ทางสังคมให้สอดคล้องกับ BCG Model ซึ่งจะเป็นกลไกการพัฒนาพื้นที่ที่เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงต่อไป" ดร.โศรดา วัลภา กล่าว

ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.tistr.or.th/PressCenter/news/8652/

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๑ ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ จับมือ PMK Group จัดกิจกรรม CSR 2024
๑๔:๕๘ เสียวหมี่ ประเทศไทย ประกาศวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ AIoT รุ่นใหม่
๑๔:๕๙ งาน Amarin BabyKids Fair ช็อปมัน เพื่อแม่ลูก ธีมงาน FUN สนุกเล่น สนุกคิด เสริมสร้างจินตนาการ
๑๔:๔๐ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) คว้ารางวัล CAC Change Agent Award 2024
๑๔:๒๒ เรียนรู้จากตัวจริง! ธุรกิจการบิน SPU ทัวร์คลังสินค้า บางกอกแอร์เวย์ส เจาะลึกโลจิสติกส์การบิน เสริมความพร้อมสู่อุตสาหกรรมในอนาคต
๑๔:๐๘ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ปั้นคอนเทนต์ ครีเอเตอร์วัยเยาว์ จัดประกวดทำคลิปสั้นโครงการ อาหารดีพี่ให้น้อง ปี 7
๑๔:๕๖ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมฉลอง 44 ปี สยามอะเมซิ่งพาร์ค ชูบทบาทขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทย
๑๔:๕๓ แม็คโคร ส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ Happiness Overload ขนทัพกระเช้าของขวัญคอลเลคชันพิเศษ รับเทศกาลปีใหม่
๑๔:๕๑ แสนสิริโกยยอดโอนคอนโดทะลัก 11,300 ล้านบาท ทุบเป้าทุกไตรมาส ล่าสุดประกาศปรับเป้าโอนคอนโด ทะยานสู่ 14,500 ล้านบาท มั่นใจปี '67
๑๔:๒๖ เซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยว