มบส.เปิดเวทีนักวิจัยในและต่างประเทศนำเสนอผลงานและข้อเสนอการแก้ปัญหายุคสมดุลใหม่

จันทร์ ๓๐ ตุลาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๒๐
เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 66 ที่หอประชุมใหญ่ อาคาร 1 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดี มบส. เป็นประธานเปิดงานโครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่3 หัวข้อ ""การปรับตัวสู่ความสมดุลใหม่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต" (Next Normal Readjustment for Future Sustainable Development) โดยผศ.ดร.ลินดา กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นความต่อเนื่องในการดำเนินงานด้านการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย และได้เห็นถึงความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ระดับบัณฑิตศึกษาสู่สากล อีกทั้งยังได้เห็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการจากทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้นในการประชุมครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและผู้ร่วมงานทุกท่านที่มาจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ และเสนอผลงานวิจัยที่มีความหลากหลายและทันสมัย ที่จะเสนอแนะแนวคิดและข้อเสนอการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสมดุลใหม่ (Next Normal) ทั้งนี้การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมสมัยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ดิฉันขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อนำไปสู่การปรับตัวสู่สมดุลใหม่ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านอย่างต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้นี้

ด้านผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มบส .กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการสร้างเวทีทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการระดับสูงระหว่างนักวิชาการและนักศึกษาทั้งจากในและนอกประเทศ โดยให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างการพัฒนาทางวิชาการและการพัฒนาทางสังคมด้วยการรวมผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากทางวิชาการต่างๆ และต่างประเทศมาร่วมกันออกแบบและนำเสนอแนวทางและแนวปฏิบัติในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบันและอนาคต ทางบัณฑิตวิทยาลัย มบส. ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ของคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัย และบุคคลที่สนใจทั้งในมหาวิทยาลัยราชภัฏและสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศสู่สาธารณชน เพื่อเป็นแนวทางในการบูรณาการองค์ความรู้ในการปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่

ผศ.ดร.คณกร กล่าวต่อว่า ส่วนกิจกรรมการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ มี 2 รูปแบบคือ1.รูปแบบการนำเสนอผลงานด้วยวาจา และ2.รูปแบบการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ ส่วนการนำเสนอผลงานวิจัย ประกอบด้วย งานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ งานวิจัยด้านการศึกษา ด้านวิทยาการจัดการ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี ด้านมนุษยศาสตร์ และด้านสังคมศาสตร์ อย่างไรก็ตามการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติในปีนี้ มีผู้นำเสนอผลงานวิจัยจำนวน ทั้งสิ้น 103 เรื่อง แบ่งออกเป็น การนำเสนอด้วยวาจาระดับชาติและนานาชาติ จำนวน 79 เรื่อง และ การนำเสนอระดับชาติและนานาชาติ แบบโปสเตอร์ 24 เรื่อง นอกจากนี้บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมขึ้นในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ที่มีผู้ร่วมกิจกรรม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและช่องทางออนไลน์ผ่านทางระบบ BSRU News ระบบ Zoom และระบบ Ding Talk เพื่อให้ผู้ร่วมงานและผู้นำเสนอได้มีส่วนร่วมผ่านช่องทางที่หลากหลาย

ที่มา: เอยู คอมมิวนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version