การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประกาศผลผู้เข้ารอบโครงการ DIGIWAR ปี 5 รอบสอง นิสิตนักศึกษา จาก 12 มหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ รวมจำนวน 55 ทีม ให้การตอบรับและสร้างสรรค์ผลงานคลิปวิดีโอส่งเข้าประกวดภายใต้โครงการ DIGIWAR ปี 5 ของ กฟผ. อย่างเต็มที่ ในหัวข้อ "พลังงานไฮโดรเจนคืออะไร ใครรู้บ้าง" โดยได้คัดเลือกผู้ผ่านเข้าสู่รอบสองเพียง 15 ทีม เท่านั้น เพื่อเข้ารับการอบรมเทคนิคการทำ Tiktok จากกูรูตัวจริง พร้อมทั้งลงพื้นที่เรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียน ชมนิทรรศการพลังงานไฟฟ้าและสิ่งแวดล้อม ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง หรือ EGAT Learning Center ตลอดจนเยี่ยมชมสถานีชาร์จรถ EV "EleX by EGAT" บ้านรักษ์พลังงาน และบ้านไฮโดรเจน เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดทำคลิปวิดีโอประกวดส่งเข้าประกวดในหัวข้อ ทำไมต้อง "ไฮโดรเจน" และคัดเลือกผ่านเข้าสู่รอบที่สามต่อไป
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา คุณรัชดาพร เสียงเสนาะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ กฟผ. เป็นผู้แทน กฟผ. ให้การต้อนรับ กฟผ. เปิดบ้านต้อนรับนิสิตนักศึกษาที่ผ่านการคัดดเลือกจากการทำคลิปวิดีโอส่งเข้าประกวดในหัวข้อ "Hydrogen คืออะไรใครรู้บ้าง" จำนวน 15 ทีม จาก 11 สถาบันทั่วประเทศ โดยจัดเต็มกิจกรรมทั้งวัน พร้อมจัดกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนแบบจัดเต็มจากคุณนวพล เชื่อมวราศาสตร์ TikToker เจ้าของช่อง SaySci ที่มีผู้ติดตามกว่า 1.3 ล้านคน มาร่วมติดอาวุธและเปลี่ยนความรู้การทำ TikTok เรื่องวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจง่าย ในหัวข้อ "หัวใจการทำ TikTok เรื่องวิทย์ใต้ติดเทรนด์" และชมระบบไฮโดรเจนของ กฟผ. ที่ใช้พลังงานกรีนไฮโดรเจนของจริง ซึ่งได้รับความสนใจจากนิสิตนักศึกษาเป็นอย่างมาก
คุณรัชดาพร เสียงเสนาะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ กฟผ. เปิดเผยว่า "รู้สึกดีใจและขอชื่นชมน้องๆทุกคนที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกในโครงการ DIGIWAR ปี 5 จำนวน 15 ทีม จาก 55 ทีม ที่ส่งผลงาน ในการทำคลิปประกวดในหัวข้อ "ไฮโดรเจน คืออะไร ใครรู้บ้าง" เข้ามา ซึ่งคลิปที่น้องๆได้ทำมานั้นมีความน่าสนใจและสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก และเพื่อให้น้องๆ ได้เข้าใจมากขึ้นว่าไฮโดรเจนสำคัญอย่างไร นำไปใช้ทำอะไรบ้าง ทาง กฟผ. จะพาน้องๆไปเยี่ยมชมกระบวนการทำงานของ ไฮโดรเจน ที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และสถานที่กักเก็บพลังงานไฮโดรเจน ซึ่งเป็นบ้านที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน 100% ซึ่งหลังจากน้องๆ ได้เข้าชมและรับฟังข้อมูลแล้ว พี่มั่นใจว่าน้องๆ จะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของไฮโดรเจนที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผนวกกับความรู้ที่น้องๆ จะได้รับจากการบรรยาย เกี่ยวกับเทคนิคในการทำ TikTok จากกูรูเสียงจริงตัวจริงทีมวิทยากร และทีมสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ กฟผ. ที่เตรียมความรู้มาอย่างเต็มที่ พี่ก็ขอให้น้องใช้โอกาสดี ๆ แบบนี้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานส่งประกวดให้ออกมีประสิทธิภาพมากที่สุด และผ่านการตัดสินเข้าสู่กิจกรรมในรอบถัดไป"
สำหรับนิสิตนักศึกษาที่ได้ผ่านการคัดเลือกรอบ 2 เข้าร่วมโครงการ DIGIWAR ปี 5 ในเฟสต่อไป จำนวน 15 ทีม จาก 11 สถาบัน ได้แก่ ทีม horkney สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง , ทีมรวมพล (assemble) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม , ทีมยังไม่ได้คิด cool cool มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม , ทีมAnt มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม , ทีมTigerPig มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี , ทีมวานรขอกล้วย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม , ทีมMINIMINI มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ , ทีมใบแทน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ทีม Triple Three มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , ทีมเอนเนอจี้เอนเนอใจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง , ทีม markhydrogen มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ , ทีมนัทมาหยกๆ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ , ทีม Harmony สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง , ทีมรักโลกรักใจ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และทีม Prometheus จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล
การประกวดคลิปวิดีโอในโครงการ DIGIWAR ปี 5 กฟผ. ได้รับเกียรติจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน จาก 7 หน่วยงาน เป็นผู้พิจารณา ได้แก่ ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเพื่อความยั่งยืน สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.), คุณเกียรติพร หวังภัทรพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ OKMD, ผศ.ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสื่อสาร และนายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย, คุณเอกราช ประกอบกิจ เจ้าของเพจ Curiosity Channel คนช่างสงสัย, ดร.วิศาล ลีลาวิวัฒน์ นักวิจัยในทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC), คุณปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด และคุณชัชชญา โจนส์ หัวหน้ากองสื่อสังคมและศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ กฟผ. โดยกำหนดส่งคลิปประกวดรอบต่อไปสองในหัวข้อ ทำไมต้อง "Hydrogen" เพื่อคัดเลือกคลิปวิดีโอของนิสิตนักศึกษาให้เหลือเพียง 10 ทีม ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2566 นี้ ซึ่งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับพลังงานไฮโดรเจนที่ กฟผ. โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา แหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้ ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมเป็นกำลังใจ และติดตามผลงานของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ได้ที่ Facebook และ TiKToK "DIGIWAR"
ที่มา: มอร์ แดน เวิร์ค