จากข้อมูลของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้พูดถึงข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับทิศทางการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในเชิงมหภาคไว้ว่า "ภายในปี 2027 ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายบรรลุการหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยหนึ่งในกลไกที่มีบทบาทอย่างยิ่งคือ การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมที่มีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาท ให้ได้อย่างน้อย 2,000 บริษัท"
ในการนี้ ดร. ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) ได้เผยถึง "หมากตัวสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกองค์กรทุกธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสนใจ หากต้องการสยายปีกปรับฐานธุรกิจให้ครอบคลุมและเข้าถึงผู้บริโภคในยุค Marketing 6.0 มากยิ่งขึ้นว่า ตัวเปลี่ยนเกมที่มีอานุภาพในการขับเคลื่อนนวัตกรรมของผู้ประกอบการไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด คือ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันบนคลาวด์และเทคโนโลยี Generative AI ซึ่งสอดคล้องกับบทวิเคราะห์ของ 'การ์ทเนอร์' ที่คาดการณ์ถึงเทรนด์เทคโนโลยีไว้ในงานสัมมนาครั้งล่าสุด The Gartner IT Symposium/Xpo(TM) 2023 Conference ว่าเทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ในปี 2024 ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับองค์กรและธุรกิจในช่วง 3 ปีข้างหน้า ในช่วงปี 2026 - 2027 มีอยู่ 10 เทรนด์ด้วยกัน ได้แก่
- AI Trust, Risk and Security Management (AI TRiSM) เทคโนโลยีในการกำกับดูแล AI ให้น่าเชื่อถือโปร่งใส สร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์
- Continuous Threat Exposure Management (CTEM) เทคโนโลยีจัดการความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง
- Sustainable Technology เทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
- Platform Engineering การพัฒนา Internal Platform Product ให้ตอบโจทย์การใช้งานแบบ self-service เพื่อแก้ปัญหาในการทำงานของ Developer เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สร้างประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยม และเร่งสปีดความสามารถในการเพิ่ม value ทางธุรกิจ
- AI-Augmented Development เทคโนโลยี AI ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิศวกรซอฟต์แวร์ในการสร้างการทดสอบ รวมถึงส่งมอบแอปพลิเคชัน
- Industry Cloud Platforms (ICPs) เทคโนโลยีคลาวด์โซลูชันที่รวมบริการ SaaS, PaaS, IaaS เข้าไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นตัวเร่งการเติบโตขององค์กร
- Intelligent Applications เทคโนโลยีการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้ AI ในการขับเคลื่อน สามารถจัดการและเชื่อมต่อข้อมูลจากภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Democratized Generative AI การนำGenerative AI มาสร้างความเสมอภาคความเท่าเทียมกัน ด้านองค์ความรู้และความชำนาญการ (democratizing knowledge and skills) แต่ก็ควรพึงระวังเรื่องสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ เพราะบนความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูล อาจเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ของข้อมูลได้
- Augmented Connected Workforce (ACWF) เทคโนโลยีที่เชื่อมการทำงานของบุคลากรแต่ละคนเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
- Machine Customers เทคโนโลยีลูกค้าโรบอตที่สามารถซื้อสินค้าและบริการ อีกทั้งยังมีสกิลต่อรองราคาได้เองอัตโนมัติ"
"ซึ่งจากข้อมูลเทรนด์ที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น แน่นอนว่าจะส่งผลต่อการปรับโครงสร้างการทำงานในทุกองค์กรทุกภาคส่วนอุตสาหกรรมจึงควรเตรียมรับมือและแสวงหาหนทางในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลให้มากขึ้น เพราะเทรนด์เหล่านี้คือหนึ่งในกุญแจที่จะนำพาธุรกิจสู่ความสำเร็จ โดยเฉพาะความสามารถของ AI เจเนอเรชันใหม่ ที่เปรียบเหมือนทางลัดในการช่วยนำพาธุรกิจของผู้ประกอบการไทยไปสู่ความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และยั่งยืน" ดร. ชัยยุทธ เผยแนวคิด ก่อนถ่ายทอดถึง 3 แกนหลักที่จีเอเบิลใช้ในการออกแบบความสำเร็จให้กับทุกองค์กรในทุกภาคธุรกิจ นั่นก็คือ "Smart" "Secure" และ "Sustain" กล่าวคือ เราคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลักว่า ลูกค้าจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการใช้เทคโนโลยีที่เราออกแบบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างตรงจุด ทำให้ระบบงาน Operation ของลูกค้าสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และสร้างผลลัพธ์การทำงานที่น่าพอใจได้มากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการงานเอกสารก็ช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษลงได้จำนวนมาก นอกจากช่วยลดพื้นที่การจัดเก็บเอกสารแล้ว ยังช่วยลดการตัดต้นไม้ต้นเหตุของสภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจของลูกค้าได้ในระยะยาว พร้อมความมั่นใจในระบบความปลอดภัยทางเทคโนโลยีโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลตลอด 24/7 นอกจากนั้นเรายังผสานความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก จนนำมาซึ่ง 5 ดิจิทัลโซลูชันนำสมัยที่จีเอเบิลพร้อมให้บริการอย่างครอบคลุมและครบวงจร ได้แก่
- Cybersecurity การป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองทันทีต่อภัยคุกคามทางดิจิทัลที่อาจก่อความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ระบบคลาวด์ ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ปลายทางระบบล็อกอิน รวมถึงข้อมูลสำคัญภายในองค์กร
- Cloud and Data Center Modernization การพัฒนาระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ ให้ก้าวทันยุคสมัยเช่น การกู้คืนและจัดเก็บข้อมูล การรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก การเชื่อมต่อหน่วยงานสาขากับศูนย์กลางและคลาวด์สาธารณะ รวมถึงการทำงานร่วมกันผ่านดิจิทัลเวิร์กเพลส ฯลฯ
- Data and Analytics การจัดการข้อมูลที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มการจัดเก็บ การปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลที่สามารถรองรับการทำงานแบบชุดข้อมูล ทั้งเรียลไทม์และกึ่งเรียลไทม์ แพลตฟอร์มการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับข้อมูล
- Digital Business and Application นวัตกรรมดิจิทัลและแอปพลิเคชันที่ออกแบบเป็นการเฉพาะสำหรับ แต่ละผลิตภัณฑ์หรือบริการ ทั้งนี้ไม่เพียงช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภค แต่ยังเพิ่มคุณค่าให้ธุรกิจด้วยการลดต้นทุน ร่นระยะเวลาดำเนินการ ป้องกันความผิดพลาด และขยายโอกาสทางการแข่งขัน
- Managed Tech Services บริการเทคโนโลยี IT เชิงปฏิบัติการ ทั้งในด้านการวางกลยุทธ์ การเพิ่มประสิทธิภาพ การวิเคราะห์การทำงานของระบบ การวัดผล การวางโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ ฯลฯ"
"โดยโซลูชันทั้ง 5 ของจีเอเบิล ผ่านการออกแบบและทดสอบประสิทธิภาพโดยทีมผู้ชำนาญการอย่างต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การสร้างสรรค์ระบบ การติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการข้อมูล การคุ้มครองความปลอดภัยทางไซเบอร์ ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทุกองค์กรธุรกิจสามารถใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างราบรื่นและเกิดผลสัมฤทธิ์มากที่สุด ทั้งยังส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมที่มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ช่วยให้ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารระดับสูงสามารถรับมือกับแรงกดดันของตลาดได้อย่างชาญฉลาดและยืดหยุ่น จนประสบความสำเร็จและก้าวขึ้นเป็นผู้นำของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม" ดร. ชัยยุทธ ตอกย้ำถึงประสบการณ์และความพร้อมของจีเอเบิลในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้ประกอบการไทยมากว่า 3 ทศวรรษ"
ที่มา: สยามพีอาร์