เอสทีแอล พัฒนาไฟเบอร์ขนาด 160 ไมครอน ขึ้นแท่นเทคโนโลยีสายไฟเบอร์ที่บางที่สุดในโลก

อังคาร ๓๑ ตุลาคม ๒๐๒๓ ๐๘:๔๐
ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการรถไฟ ร่วมเปิดตัวนวัตกรรมในงานอินเดีย โมบายล์ คองเกรส ประจำปี 2566

เอสทีแอล (STL) [NSE: STLTECH] บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านโซลูชันดิจิทัลและออปติก ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาเส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติกสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมที่บางที่สุดในโลกเพียง160 ไมครอน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอันน่าภาคภูมิใจที่แสดงถึงความสามารถในด้านการวิจัยและพัฒนาของอินเดีย ในโอกาสนี้ คุณอัชวินี ไวชนาว (Ashwini Vaishnaw) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการรถไฟ ได้กล่าวยกย่องนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ออกแบบในอินเดียและผลิตในอินเดีย พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกนี้ที่บูธของเอสทีแอลในงานอินเดีย โมบายล์ คองเกรส ประจำปี 2566 (IMC 2023) รวมทั้งเยี่ยมชมส่วนจัดแสดงไฟเบอร์ขนาด 160 ไมครอน และ ท่านรัฐมนตรีได้ทำการ "สไปลซ์" หรือ "เชื่อมต่อ" สายไฟเบอร์ออปติกสองเส้น ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความแม่นยำสูงเพื่อเชื่อมต่อแกนของไฟเบอร์ออปติกสองเส้นอย่างสมบูรณ์

สายเคเบิลที่ทำด้วยไฟเบอร์ออปติกขนาด 160 ไมครอนของเอสทีแอล มีความจุมากกว่าไฟเบอร์ขนาด 250 ไมครอนแบบเดิมถึง 3 เท่า โดยเป็นผลงานที่เกิดจากการวางแนวคิดและพัฒนาขึ้นภายในประเทศ ณ ศูนย์ความเป็นเลิศของเอสทีแอลในรัฐมหาราษฏระ และทำให้เอสทีแอลเป็นบริษัทแรก ๆ ของโลกที่พัฒนาและจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรมดังกล่าว

เนื่องจากอินเดียเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก จึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายไฟเบอร์หนาแน่น ทั้งในส่วนโครงข่ายเชื่อมต่อ (backhaul) และในส่วนขยายเพื่อให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี การวางท่อสายเคเบิลคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ของต้นทุนการติดตั้งสายไฟเบอร์ออปติกทั้งหมด ส่งผลให้พื้นที่วางท่อเป็นทรัพย์สินอันมีค่า ผู้พัฒนาเครือข่ายทั่วโลกจึงต่างพยายามหาวิธีลดขนาดไฟเบอร์เพื่อเพิ่มความจุมากขึ้น ๆ ให้กับพื้นที่ท่อที่มีอยู่จำกัด

การใช้สายเคเบิลที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางลดลง 6.4 มม. (ลดลงประมาณ 32% เมื่อเทียบกับไฟเบอร์ 250 ไมครอน) ช่วยเพิ่มความจุภายในท่อที่มีพื้นที่จำกัด โดยไฟเบอร์ขนาด 160 ไมครอนของเอสทีแอลจะปฏิวัติการดำเนินการที่เกี่ยวกับเครือข่าย ทั้งการติดตั้งวางระบบ ความจุแบนด์วิดท์ และความฉลาดทางสิ่งแวดล้อม (green quotient) นวัตกรรมนี้ส่งผลในวงกว้างอย่างมหาศาลต่อภูมิทัศน์บรอดแบนด์ของอินเดีย ตัวอย่างเช่น ในโครงการขนาดใหญ่อย่าง ภารัตเน็ต (Bharatnet) ของรัฐบาลอินเดีย ซึ่งจำเป็นต้องติดตั้งสายไฟเบอร์ประมาณ 20 ล้านกิโลเมตรภายในปี 2568 นั้น การใช้ไฟเบอร์ขนาด 160 ไมครอนแทนไฟเบอร์มาตรฐานขนาด 250 ไมครอนจะช่วยลดเวลาในการติดตั้งวางระบบลงได้ประมาณ 15% ทั้งยังสามารถใช้ท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง จึงช่วยลดพลาสติกฟุตพริ้นท์ (plastic footprint) ในพื้นดินลงได้ประมาณ 30%

"ไฟเบอร์ที่บางที่สุดนี้เป็นการพัฒนาที่โดดเด่น และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความพยายามอย่างต่อเนื่องในการวิจัยและพัฒนาสาขาโฟโตนิกส์และวัสดุศาสตร์" ดร.บาดรี โกมาทัม (Dr. Badri Gomatam) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของกลุ่มบริษัทเอสทีแอล กล่าว

การลดขนาดไฟเบอร์ลงอีกถือเป็นความสำเร็จที่ท้าทายจินตนาการของผู้เชี่ยวชาญด้านทัศนศาสตร์ทั่วโลกเป็นอย่างมาก ความท้าทายที่สำคัญประการหนึ่งในการลดขนาดไฟเบอร์ให้ต่ำกว่า 250 ไมครอนก็คือ ความไวต่อการโค้งงอที่เพิ่มขึ้นเมื่อสายยาวขึ้น (micro-bending) และความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นในขั้นตอนการดึงสายไฟเบอร์

เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาความท้าทายเหล่านี้ ดร.บาดรี กล่าวเสริมว่า "ด้วยกระบวนการและวิศวกรรมวัสดุที่มีการสอบเทียบสูง (highly calibrated) เราจึงประสบความสำเร็จในกระบวนการผลิตและองค์ประกอบของใยแก้วเพื่อลดความไวของสายไฟเบอร์ต่อการโค้งงอ" 

ผลิตภัณฑ์นี้ได้มาตรฐานประสิทธิภาพออปติกสำหรับการใช้งานด้านโทรคมนาคม และสอดคล้องกับมาตรฐาน ITU G.657A2 โดยการประกาศความสำเร็จล่าสุดนี้เกิดขึ้นหลังจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาของเรา ซึ่งรวมถึงไฟเบอร์มัลติคอร์ตัวแรกของอินเดียที่มีความจุ 4 เท่า และไฟเบอร์ขนาด 180 ไมครอน

"นวัตกรรมที่ก้าวล้ำนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจของเราในการปักหมุดเทคโนโลยีและการวิจัยและพัฒนาของอินเดียบนแผนที่โลก ผมรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้จินตนาการถึงอนาคตของเครือข่ายดิจิทัลของอินเดียที่ใช้ไฟเบอร์ที่พลิกโฉมนี้" คุณอังกิต อการ์วัล (Ankit Agarwal) กรรมการผู้จัดการของเอสทีแอล กล่าว

เกี่ยวกับเอสทีแอล - สเตอร์ไลต์ เทคโนโลยีส์ ลิมิเต็ด

เอสทีแอล (STL) หรือ สเตอร์ไลต์ เทคโนโลยีส์ ลิมิเต็ด (Sterlite Technologies Ltd.) คือบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านโซลูชันดิจิทัลและออปติก ซึ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ขั้นสูงสำหรับการสร้างโครงข่าย 5G, โครงข่ายในชนบท, โครงข่าย FTTx, โครงข่ายระดับองค์กร และโครงข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://stl.tech/about-us/ และติดต่อเราได้ที่ https://stl.tech/contact-us/ หรือติดตามเราได้ทางเว็บไซต์ stl.tech | ทวิตเตอร์ | ลิงด์อิน | ยูทูบ 

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2259888/Shri_Ashwini_Vaishnav_at_STLs_booth_at_IMC_2023.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2259887/Shri_Ashwini_Vaishnav_unveils_160_micron.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/876464/Sterlite_Technologies_STL_New_Logo.jpg 



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ