CMAN ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 เดินหน้าขยายกำลังการผลิต - บุกตลาดเอเชียแปซิฟิก รองรับความต้องการใช้ปูนไลม์พุ่ง ปักหมุดขึ้นแท่น Top 5 ของโลก

พฤหัส ๐๒ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๐:๔๙
บมจ.เคมีแมน หรือ CMAN เดินหน้าสู่ทศวรรษใหม่ มั่นใจไต่อันดับสู่ผู้ผลิตปูนไลม์ครบวงจร Top 5 ของโลก ด้านประธานใหญ่ "จันทรจุฑา จันทรทัต" ระบุแนวโน้มความต้องการใช้ปูนไลม์ในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเนื่องจากอุตสาหกรรมหลักเติบโตสูง ล่าสุดพบ New Demand ขนาดใหญ่ในตลาดอินโดฯ เชื่อมั่นหนุนธุรกิจเติบโตแข็งแกร่ง

หม่อมหลวงจันทรจุฑา จันทรทัต ประธานกรรมการ บริษัท เคมีแมน จำกัด (มหาชน) หรือ CMAN ผู้ผลิตปูนไลม์ครบวงจรระดับท็อปเทนของโลก ภายใต้แบรนด์ 'CHEMEMAN' เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จัดงาน ฉลองโอกาสครบรอบ 20 ปี ภายใต้ธีม "The Next Chapter Begins" นับจากการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 จากผู้ผลิตขนาดเล็กในประเทศเติบโตเป็นผู้นำระดับ Top 10 ของโลก ด้วยกำลังการผลิตปูนไลม์รวมกว่า 1,200,000 ตันต่อปี วางแผนก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 ตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำธุรกิจปูนไลม์ระดับ Top 5 ของโลก เดินหน้าขยายกำลังการผลิต เน้นกลยุทธ์เจาะตลาดเป้าหมายที่เติบโตสูงในเอเชียแปซิฟิก ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มเพื่อสร้างฐานลูกค้าใหม่ พร้อมลงทุนพลังงานสะอาดช่วยลดโลกร้อน เพื่อมุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

"เราเริ่มต้นจากบริษัท Startup เมื่อ 20 ปีก่อน โดยช่วงแรกเน้นขายในประเทศเป็นหลัก ต่อมาจึงส่งออกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งประสบความสำเร็จกลายเป็นผู้ผลิตปูนไลม์ที่ส่งออกมากที่สุดของเอเชียแปซิฟิก สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการปูนไลม์อันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทเก่าแก่มีอายุและประวัติที่ยาวนานกว่า 100 ปี เพราะว่า CMAN มีทีมงานที่เชี่ยวชาญและเข้าใจอุตสาหกรรมอย่างมาก มีแหล่งวัตถุดิบคุณภาพสูงในไทยและเวียดนามเป็นของตัวเองผสานกับเทคโนโลยีการผลิตระดับโลกสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ยอมรับของลูกค้า มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาในการสร้างฐานลูกค้าให้แข็งแกร่งที่ประกอบด้วยลูกค้าชั้นนำมากกว่า 25 อุตสาหกรรม ครอบคลุมกว่า 30 ประเทศในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และแอฟริกา เพื่อรักษาอัตราการเติบโตของรายได้ และสิ่งสำคัญมากที่สุดสำหรับเรา คือการรักษาคำมั่นสัญญาในการส่งมอบสินค้าและบริการที่ให้ไว้กับลูกค้า ส่งผลให้บริษัทได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำอย่างต่อเนื่อง และขยายไปถึงลูกค้าระดับโลกในที่สุด" มล.จันทรจุฑากล่าว

ความต้องการใช้ปูนไลม์ในเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตสูงจากอุตสาหกรรม 2 ส่วน คือ อุตสาหกรรมที่เติบโตตามจีดีพีของประเทศ เช่น กระดาษ น้ำตาล อาหารสัตว์ ขวดแก้ว การเกษตร เป็นต้น และอุตสาหกรรมที่เติบโตสูงตามแนวโน้มธุรกิจของโลก เช่น พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) แร่นิกเกิล แร่ลิเทียม เป็นต้น บริษัทฯ พบว่าตลอด 3 ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองแร่นิกเกิลมากที่สุดของโลก ได้ประกาศโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่และยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 12 โครงการ มูลค่ารวมสูงถึง 15 พันล้านเหรียญ ส่งผลให้เกิด new demand ของปูนไลม์ซึ่งใช้ในกระบวนการสกัดแร่นิกเกิล ทั้งนี้ บริษัทฯ ประเมินว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียมีความต้องการใช้ปูนไลม์รวมมากกว่า 3 ล้านตันต่อปี และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 ล้านตันต่อปี หลังจาก 12 โครงการข้างต้นเสร็จสมบูรณ์

มล.จันทรจุฑา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "ปัจจุบันบริษัทฯ ครองส่วนแบ่งตลาดในประเทศประมาณ 40% และกำลังขยายธุรกิจเข้าไปในตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว ทั้งนี้ ปูนไลม์ถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมจำนวนมากของโลกมายาวนานหลายร้อยปี มีการใช้ทั้งทางตรงในรูปของวัตถุดิบการผลิตและทางอ้อมในกระบวนการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันของเรา ดังนั้น ปูนไลม์จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมของโลกไปแล้ว และยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกนาน เพราะมีคุณสมบัติทางเคมีที่เหมาะสมกับการใช้งาน ต้นทุนต่ำ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม"

ที่มา: ไออาร์เน็ตเวิร์ค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ 15 พฤศจิกายน 2567 ร่วมฉลองเทศกาลลอยกระทง กับ 5 โรงแรมหรูวิวริมทะเล ในเครือ เคป แอนด์ แคนทารี โฮเทลส์
๑๖:๑๘ Blendata เปิดตัว Blendata Cloud บน Microsoft Azure Marketplace ยกระดับโซลูชัน Big Data ไทยสู่ระดับโลก
๑๖:๓๔ แอปเรียกรถ Maxim เปิดประสบการณ์บริการเรียกรถสุดพิเศษวันฮาโลวีน เซอร์ไพรส์จากคนขับที่คุณไม่ควรพลาด
๑๖:๑๔ เกษตรหนองหญ้าปล้อง จัดเวทีประชาคมและลงตรวจสอบพื้นที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ประจำปี 2567/68
๑๖:๔๗ เสริมความแกร่ง! ธุรกิจการบิน ม.ศรีปทุม เปิดเวทีบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ ติดปีกให้นักศึกษาสู่ตลาดอุตสาหกรรมการบิน
๑๖:๕๗ Wayzim ปรับโฉมการจัดการคลังสินค้าด้วยระบบ ASRS Stacker Crane สำหรับประสิทธิภาพสูงสุด
๑๖:๔๑ การเคหะแห่งชาติ ระดมกูรูด้านภัยพิบัติ ตั้งรับ ปรับตัวกับภัยพิบัติ
๑๖:๑๑ ก.ล.ต. - ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประสานความร่วมมือ ยกระดับการทำหน้าที่กำกับดูแลตลาดทุนร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
๑๖:๕๗ ไทย-ไต้หวันร่วมยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เสริมแกร่งกำลังคนทักษะสูง สู่ฮับการผลิต PCB แห่งอาเซียน
๑๕:๔๐ JAS คว้า 5 ดาว 2 ปีซ้อน จากการประเมิน CGR 2024