ธนาคารกรุงเทพ มั่นใจ 'อาเซียน' เนื้อหอม พร้อมเปิดรับเงินลงทุนทั่วโลก จัดสัมมนาใหญ่ AEC Business Forum 2023 ดึงซีอีโอระดับโลกร่วมแชร์มุมมอง เจาะลึก 'อุตสาหกรรมและประเทศดาวเด่นแห่งอาเซียน'

พฤหัส ๐๒ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๔:๐๓
ธนาคารกรุงเทพ เชื่อมั่นศักยภาพตลาดอาเซียน เนื้อหอมพร้อมเปิดรับเงินลงทุนจากทั่วโลก เชื่อเศรษฐกิจอาเซียนขยายตัว 4.6% ในปีหน้า และก้าวสู่เขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลกในปี 2030 แนะผู้ประกอบการขยายการลงทุนสู่ภูมิภาคมากขึ้น ล่าสุด จัดสัมมนาใหญ่ประจำปี AEC Business Forum 2023 เชิญกูรู-นักธุรกิจชั้นนำร่วมเสดงวิสัยทัศน์ เผยอนาคตอาเซียนยุคต่อไป ภายใต้หัวข้อ "ASEAN Rising : Capture New Growth" พร้อมเจาะลึกอุตสาหกรรมน่าสนใจ และปักหมุดประเทศเนื้อหอมของอาเซียนที่นักลงทุนห้ามพลาด มั่นใจศักยภาพผู้ประกอบการไทย พร้อมสนับสนุนลุยตลาดภูมิภาคเต็มที่ คว้าโอกาสเพื่อต่อยอดธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารมีความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของภูมิภาคอาเซียนว่าจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจนก้าวสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลกภายในปี 2030 จากข้อมูลของ IMF คาดว่าเศรษฐกิจอาเซียนจะเติบโต 4.2% ในปีนี้และ 4.6% ในปีหน้า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ทั้งยังมีศักยภาพที่จะเป็นเป้าหมายการลงทุนที่น่าดึงดูดมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกด้วยความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จำนวนประชากรกว่า 650 ล้านคนซึ่งมีสัดส่วนของวัยแรงงานค่อนข้างสูง ทั้งอยู่ในทำเลที่ดีเข้าถึงตลาดใหญ่อย่างจีนและอินเดียได้ง่าย จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะต้องพิจารณาถึงการลงทุนและขยายธุรกิจไปสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้นเพื่อตอบรับกับโอกาสทางธุรกิจที่สูงขึ้นเช่นกัน

โอกาสนี้ ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะ 'สถาบันการเงินชั้นนำของภูมิภาค' ได้จัดสัมมนาประจำปี AEC Business Forum 2023 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 5 และนับเป็นครั้งแรกภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยปีนี้จะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "ASEAN Rising : Capture New Growth" เพื่อสนับสนุนให้นักธุรกิจไทยสามารถไขว่คว้าโอกาสที่มีอยู่มากมายทั่วภูมิภาค และมองเห็นโอกาสใหม่ ๆ จากธุรกิจอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตได้มากขึ้น โดยธนาคารได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำของภูมิภาคอาเซียนตอบรับเข้าร่วมอภิปรายและแสดงวิสัยทัศน์อย่างคับคั่งเช่นเดิม

"เราเชื่อมั่นว่าอาเซียน ยังคงเป็นเป้าหมายการลงทุนที่น่าดึงดูดมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก นอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานของภูมิภาคทั้งเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและโครงสร้างประชากรแล้ว เศรษฐกิจอาเซียนเองก็กำลังขยายตัวตามปัจจัยบวกหลายเรื่อง เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีในระดับภูมิภาค โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อด้านโลจิสติกส์ ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมที่ถือเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญให้กับอาเซียน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเองก็ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยความท้าทาย ทั้งสถานการณ์การส่งออกที่ชะลอตัวลง อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ตลอดจนข้อจำกัดภายในของแต่ละประเทศที่ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจด้วย ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้รับฟังมุมมองและประสบการณ์ตรงจากผู้บริหารของธุรกิจชั้นนำในอาเซียนจากการสัมมนา AEC Business Forum 2023 ครั้งนี้"

สำหรับไฮไลท์ของงานสัมมนาดังกล่าวเริ่มต้นด้วยการบรรยายพิเศษ (Keynote Speech) จาก นายหลิว เสวียเลี่ยง ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากประเทศจีน ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดในตลาดประเทศไทยและอีกหลายประเทศ จนก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของโลก ซึ่งให้เกียรติมาแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับศักยภาพตลาดที่กำลังเติบโตขึ้นของภูมิภาคอาเซียน รวมถึงฉายภาพทิศทางและโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในตลาดแห่งนี้ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมเชิงกลยุทธ์ที่เงินลงทุนจากจีนจะขยับขยายมาสู่ภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น นอกจากนี้ ในช่วงบ่าย ยังได้รับเกียรติจาก นางเมลิซา รุสลี กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพอร์มาตา บรรยายพิเศษในหัวข้อ 'Indonesia Rising' อีกด้วย

อีกหนึ่งไฮไลท์ของการสัมมนาใหญ่ครั้งนี้คือ เสวนาเรื่อง "Rising Sectors" โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรชั้นนำระดับภูมิภาคที่เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมดาวเด่น ได้แก่ นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะตัวแทนของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ดร.ทรงพล ดีจงกิจ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ตัวแทนจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ซึ่งอาเซียนกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมดังกล่าว และ ดร.โรเบิร์ต แย็ป ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วายซีเอช กรุ๊ป ตัวแทนจากอุตสาหกรรม โลจิสติกส์ หนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญที่ดึงดูดเม็ดเงินเข้าสู่เอเชียและภูมิภาคอาเซียนที่อยู่ในจังหวะขยายตัวอย่างรวดเร็ว

เสวนาอีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ "Rising Countries" เจาะลึกลงรายละเอียดกับประเทศสุดฮอตของอาเซียน เช่น "อินโดนีเซีย" ที่เป็นกำลังหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยมูลค่า GDP กว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง 3.7% และ 5.3% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ต่อด้วย "เวียดนาม" เป้าหมายการลงทุนที่สำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการลดความเสี่ยงจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ในปีที่ผ่านมา เวียดนามมีปริมาณเงินลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) สูงสุดในรอบทศวรรษ บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Dell, Google, Microsoft และ Apple ต่างพากันย้ายห่วงโซ่อุปทานบางส่วนมาที่นี่แล้ว และเชื่อว่าจะมีมาเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตด้วยอานิสงส์ของกลยุทธ์ "จีน+1" (China plus one) และเพื่อตอกย้ำโอกาสทางธุรกิจอันมหาศาลในภูมิภาค ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาจะได้รับข้อมูลเชิงลึกการปักหมุดประเทศอื่น ๆ ที่น่าสนใจในด้านการค้าและการลงทุนนอกเหนือจาก 2 ประเทศข้างต้นด้วย

เสวนาในหัวข้อ "Rising Countries" นี้ ได้รับเกียรติจาก 3 นักธุรกิจชั้นนำของแต่ละประเทศมาแบ่งปันมุมมอง และความน่าสนใจของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ประกอบด้วย นายจอห์น เรียดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท PT. Lippo Karawaci Tbk นายโยฮัน นีเวน ประธาน บริษัท Ho Chi Minh City Securities Corporation และ นายก๊วก เมง เวย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท K2 Strategic Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ก๊วก กรุ๊ป

"เรามองเห็นศักยภาพของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกในปี 2566 ขณะเดียวกันเราก็เชื่อมั่นในศักยภาพของลูกค้าผู้ประกอบการไทย ที่จะสามารถออกไปแข่งขันหรือขยายตลาดและธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้นในภูมิภาคอาเซียนนี้ได้เช่นกัน ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะ 'สถาบันการเงินชั้นนำของภูมิภาค' ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของอาเซียน ซึ่งพร้อมให้การสนับสนุนลูกค้าอย่างเต็มที่ทั้งในด้านเครือข่ายสาขาที่ครอบคลุม 9 จาก 10 ประเทศอาเซียน โดยเฉพาะธุรกิจที่แข็งแกร่งใน 2 ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของภูมิภาค ทั้งอินโดนีเซียที่ดำเนินการผ่านธนาคารเพอร์มาตา (Permata Bank) ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือของเรา และประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่หลักของธนาคารกรุงเทพที่ดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแกร่งมาเกือบ 80 ปี ด้วยบริการทางการเงินหลากหลายครบวงจร รวมถึงข้อมูลและความรู้ที่อัปเดตอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ธนาคารจึงตั้งใจจัดงานสัมมนา AEC Business Forum 2023 ครั้งที่ 5 นี้ เพื่อเป็นอีกแหล่งข้อมูลสำคัญที่จะช่วยเปิดมุมมองของการทำธุรกิจและการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย ให้ก้าวออกไปคว้าโอกาสใหม่ๆ ที่มีอยู่ทั่วภูมิภาค เพื่อสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในระยะยาว" นายชาติศิริ กล่าว

งานสัมมนาใหญ่ประจำปี AEC Business Forum 2023 ครั้งที่ 5 หัวข้อ "ASEAN Rising : Capture New Growth" จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 - 15.00 น. ณ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

ที่มา: ธนาคารกรุงเทพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version