นักการทูตและผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศเข้าร่วมการประชุมด้านการศึกษาระดับโลกของมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล

จันทร์ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๐๘:๐๘
การประชุมด้านการศึกษาระดับโลกของมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล ประจำปี 2566 (2023 XJTLU Global Education Forum) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล (Xi'an Jiaotong-Liverpool University หรือ XJTLU) มีนักการทูตและผู้แทน 11 ท่าน จาก 7 ประเทศเข้าร่วมการประชุม โดยประเทศและองค์กรที่เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยสถานกงสุลใหญ่อังกฤษประจำเซี่ยงไฮ้ ราชอาณาจักรเลโซโท สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐมาลาวี สาธารณรัฐนามิเบีย สาธารณรัฐซิมบับเว และสถานเอกอัครราชทูตไทย

ในโอกาสนี้ เหล่านักการทูตและผู้แทนได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสำคัญของหลักสูตรการศึกษาต่อต่างประเทศ ในระหว่างการอภิปรายแบบคณะ

นายอัลลัน ชินเทดซา (Allan Chintedza) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐมาลาวีประจำประเทศจีน ได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือระดับโลกว่า "คุณสามารถคิดในระดับประเทศได้ แต่คุณต้องลงมือทำในระดับสากล เพราะเราทุกคนมีความรับผิดชอบร่วมกันในระดับโลก"

นายตูเมโล โมเซเม (Tumelo Moseme) อัครราชทูตที่ปรึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเลโซโท กล่าวว่า "สำหรับนักเรียนนักศึกษาทุกคน การเรียนรู้นอกประเทศของตนเองจะช่วยพัฒนาทักษะในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม การปรับตัว และความเป็นตัวของตัวเอง"

นายเพดซิไซ ปีเตอร์ มวาเยรา (Pedzisai Peter Mwayera) อัครราชทูตที่ปรึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐซิมบับเว กล่าวเสริมว่า "การเรียนในต่างประเทศไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาได้พัฒนาตัวเองเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ได้ซึมซับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอีกด้วย"

นายยูดิล ชาติม (Yudil Chatim) ผู้ช่วยเลขานุการด้านการศึกษาและวัฒนธรรมประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซีย กล่าวว่า "ผมขอเชิญชวนนักเรียนนักศึกษาชาวอินโดนีเซียให้พิจารณาโอกาสทางการศึกษาในประเทศจีน ซึ่งไม่เพียงเปิดประตูสู่อาชีพที่สดใสเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและภาษาอีกด้วย"

นายนีเฮปาวาลี ไมเคิล ฮามูควายา (Nghihepavali Michael Hamukwaya) เลขานุการด้านการเมือง เศรษฐกิจ และกฎหมายประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐนามิเบีย กล่าวว่า "ทางสถานทูตของเราช่วยส่งเสริมความเป็นสากลของการศึกษาด้วยการติดต่อกับสถาบันหลายแห่งในประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ โดยมุ่งเน้นไปที่การทูตสาธารณะและการสำรวจแนวทางต่าง ๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือระหว่างกัน"

คุณแคทเธอรีน ซินแคลร์-โจนส์ (Catherine Sinclair-Jones) กงสุลด้านวัฒนธรรมและการศึกษาประจำสถานกงสุลใหญ่อังกฤษในเซี่ยงไฮ้ กล่าวว่า "นับเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นว่ามหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล มีความมุ่งมั่นในการตอบสนองต่อความท้าทายระดับโลกด้านการศึกษาระหว่างประเทศ เช่น เทคโนโลยีเอไอและการจ้างงาน นับเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล และรับฟังการนำเสนอและการเสวนาในครั้งนี้"

ทั้งนี้ การประชุมด้านการศึกษาระดับโลกเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมพันธมิตรระดับโลกของมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล ประจำปี 2566 (2023 XJTLU Global Partner Forum) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน โดยดึงดูดผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 500 คน จากกว่า 50 ประเทศ สำหรับกิจกรรมภายในงานนี้ประกอบด้วยการเยี่ยมชมวิทยาเขตและห้องปฏิบัติการของทางมหาวิทยาลัย กิจกรรมการจัดหางานระหว่างประเทศ การแนะนำโครงการต่าง ๆ และการเยี่ยมชมวิทยาลัยผู้ประกอบการแห่งมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง-ลิเวอร์พูล เมืองไท่ชาง

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2265846/ambassadors.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ