"ดีใจมากครับที่เราได้รับรางวัลครั้งนี้ ถือเป็นความสามารถของเด็ก ๆ ทางสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ โดยเฉพาะโครงการหนูน้อยเจ้าเวหา สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการต่อยอด เพราะการได้รับรางวัลทั้งเยอรมนี และที่เกาหลี สามารถนำมาใช้ได้จริง รวมทั้งนำไปขายได้จริง เรามองอนาคตทั้งของตัวเด็กและสิ่งแวดล้อม เหมือนกับการสร้างหนัง สร้างจินตนาการ เราต้องทำให้สำเร็จ อย่างตอนแรกจะสร้างเด็กไทยให้บินได้ทั่วประเทศ ก็ถูกคนหัวเราะ แต่ปัจจุบันเด็กไทย ก็สามารถบินได้จริง และต่อไปเราคิกว่าจะทำให้คนไทยและเยาวชนไทย ไปนอกโลกให้ได้ ซึ่งอนาคตจะเกิดขึ้นแน่นอน เพราะการมาคว้ารางวัลในเวทีนานาชาติ จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับพวกเขา อย่างการสร้างโปรแกรมโดรน เป็นการพัฒนาซอฟแวร์ ซึ่งปัจจุบันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวงการแพทย์ รวมถึงการใช้กำจัดเชื้อรากับโรคพืช เป็นการแตกยอดมาจากโครงการหนูน้อยจ้าวเวหาทั้งสิ้น ผมขอยกนิ้วและเป็นกำลังใจให้กับเยาวชนไทยเราครับ" นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวเปิดเผย
นายอภิลักษณ์ สุรเกียรติสมบัติ และ นายญาณกร แจ่มจำรัส สองนักกีฬาเครื่องบินบังคับหนูน้อยจ้าวเวหาไทยพีบีเอส เผยว่า "การนำผลงานโดรนฉีดน้ำดับเพลงสำหรับพื้นที่สูงและพื้นที่จำกัด ที่รถดับเพลิงไม่สามารถเข้าได้ โดยโดรน สามารถควบคุมได้ทั้งสองระบบ คือ 4G สามารถควบคุมได้ทุกที่ หรือจะปรับเป็นการควบคุมหน้างานก็ได้ ส่วนตัวดีใจที่ได้รับรางวัลครั้งนี้ครับ และเราจะนำประสงการณ์และการแลกเปลี่ยนที่ได้พบกับนักประดิษฐ์และวิจัยในเวทีนานาชาติแบบนี้ไปถ่ายทอดให้กับเพื่อน ๆ และน้อง ๆ ต่อไปครับ"
ทีมนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยคว้ารางวัล ในเวที SIIF ในเหรียญรางวัลในระดับต่างๆ ดังนี้-Grand Prize 1 ผลงาน-Wipo 1 ผลงาน-KIPA Special Prize 1 ผลงาน- เหรียญทอง 38 ผลงาน- เหรียญเงิน 19 ผลงาน- เหรียญทองแดง 21 ผลงานพร้อมด้วย Special Prize อีกเป็นจำนวนมากจากประเทศต่างๆ
ที่มา: สำนักข่าวการศึกษาไทย