เทเลนอร์ เอเชีย เผยผลจากการศึกษา ชี้ตัวขับเคลื่อนทางทั้ง 5 ที่น่าสนใจเพื่อยกระดับชีวิตดิจิทัลของชาวไทยให้ดีกว่าเดิม

จันทร์ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๒:๐๕
คนไทยมีการเชื่อมต่อบนโลกออนไลน์มากที่สุดของเอเชีย: โดยร้อยละ 86 ของคนไทยใช้เวลามากกว่าครึ่งวันบนโทรศัพท์มือถือ และจะมีการเพิ่มขึ้นในอีก 1 ถึง 2 ปีข้างหน้ากว่าร้อยละ 83ธุรกิจไทยกำลังเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ณ ที่ทำงาน: เกือบสองในสาม หรือร้อยละ 66 เชื่อว่าการใช้ AI ในที่ทำงานจะเพิ่มขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในเอเชียโทรศัพท์มือถือถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นเครื่องมือในการจัดการค่าครองชีพที่สูงขึ้น: ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ท้าทาย โดยร้อยละ 93 ของคนไทยใช้โทรศัพท์เพื่อจัดการธุรกรรมทางการเงินทั่วประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนต่าง ๆ เพื่อติดต่อสื่อสารและทำให้พวกเราทุกคนใกล้ชิดกันมากขึ้น เสริมให้การทำงานก้าวหน้า เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และใช้ชีวิตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น ชาวไทยในหลายครัวเรือนยังเรียนรู้ที่จะปกป้องตนเองและบุคคลในครอบครัวจากความเสี่ยงและอันตรายจากโลกออนไลน์

ปัจจัยขับเคลื่อนทั้ง 5 ประการนี้มาจากการศึกษา Digital Lives Decoded ของ Telenor Asia ซึ่งถือว่าเป็นปีที่สองแล้ว การศึกษานี้สำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือมากกว่า 8,000 ราย ในประเทศบังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งสะท้อนภาพให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อจะได้เข้าใจว่าการใช้โทรศัพท์มือถือช่วยให้ผู้คนทั่วเอเชียมีชีวิตดิจิทัลที่ดีขึ้นได้อย่างไร

ชาวไทยถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ตัวยงที่สุดในเอเชีย เกือบ 9 ใน 10 หรือร้อยละ 86 ที่ใช้เวลามากกว่าครึ่งวันบนมือถือ และร้อยละ 83 ที่คาดว่าจะมีการใช้งานเพิ่มขึ้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งสูงที่สุดในภูมิภาคนี้เลยก็ว่าได้ ในประเทศไทย คาดการณ์ได้ว่าผู้หญิงนั้นจะมีการใช้งานมากขึ้นกว่าผู้ชายอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากผู้หญิงก็มีแนวโน้มที่จะใช้ทักษะและความสามารถใหม่ๆ เพื่อความก้าวหน้าในสายงานหรือริเริ่มธุรกิจของตน

ข้อค้นพบที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งในปีนี้คือ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ท้าทายและสภาพแวดล้อมที่มีสภาวะเงินเฟ้อสูง คนไทยกำลังใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อจัดการค่าครองชีพที่สูงขึ้น คนไทยร้อยละ 93 ใช้โทรศัพท์เพื่อจัดการธุรกรรมทางการเงิน และส่วนใหญ่ใช้มือถือเพื่อเปรียบเทียบราคา (ร้อยละ 74) ค้นหาข้อเสนอที่ดีที่สุด (ร้อยละ 64) หรือติดตามการใช้จ่าย (ร้อยละ 49) ทั้งนี้อีกร้อยละ 93 ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อจัดการธุรกรรมทางการเงินทุกสัปดาห์ และ อีกร้อยละ 55 กำลังที่จะลงทุนออนไลน์เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่

คุณ Petter-B?rre Furberg (เพตเตอร์ บอเร่ เฟอร์เบิร์ค), EVP and Head of Telenor Asia ได้กล่าวว่า "การศึกษาเรื่อง Digital Lives Decoded ครั้งแรกของเราเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่โลกกำลังฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดไปทั่วโลกของโรคโควิด-19 และกระแสการใช้งานทางด้านดิจิทัลก็ได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้คนยังคงมีทัศนคติเชิงบวกอย่างท่วมท้นเกี่ยวกับผลกระทบที่การเชื่อมต่อผ่านมือถือเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตของพวกเขา และในปีนี้ จากการศึกษาได้สะท้อนให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นซึ่งนั้นก็แสดงให้เห็นถึงโอกาสอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นเช่นกัน เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการทำงานในทุก ๆ วันนี้กลายเป็นแรงผลักดันหลักในการเพิ่มการใช้งาน เนื่องจากคนไทยต้องการที่จะแสวงหาวิธีการใหม่ๆ ที่นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพ ประสิทธิภาพการทำงาน และเนื้องานของพวกเขา เพื่อยกระดับทักษะและความสามารถ อีกทั้งเสริมการเข้าถึงแหล่งรายได้เพิ่มเติม

เนื่องจากเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตของคนไทยมากขึ้น หลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นต้องเข้าใจผู้คนและรู้ถึงข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเข้ามาของเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งเพื่อปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของอุปกรณ์พกพาเหล่านี้ เราต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเครือข่ายการเชื่อมต่อ ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ และเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น"

  1. การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมออนไลน์ที่ดี

ในขณะที่ประเทศไทยมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นจากโรคระบาด แนวโน้มในการใช้งานอุปกรณ์ของผู้คนก็เริ่มเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น การใช้มือถือทำให้คนไทยรู้สึกได้รับข้อมูลข่าวสารและยังคงเชื่อมต่อการสื่อสารเข้าหากัน โดย Facebook ยังคงเป็นแอปพลิเคชัน ยอดนิยมในการเชื่อมต่อกับกลุ่มคน (ร้อยละ 57) และรับข้อมูลข่าวสาร (ร้อยละ 52) อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในระยะเริ่มแรก โดยเกือบหนึ่งในแปดของเยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 29 ปีได้รับข่าวสารจาก TikTok

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพูดถึงระบบ 5G เหตุผลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยระบุไว้คือการสตรีมวิดีโอหรือเพลง (ร้อยละ 84) ทำงานหรือเรียน (ร้อยละ 69) และเล่นเกม (ร้อยละ 66)

การเล่นเกมบนมือถือยังคงเป็นกิจกรรมอดิเรกยอดนิยม และผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะใช้โทรศัพท์เพื่อเล่นเกม โดยเกือบครึ่งของผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลของรายงานหรือร้อยละ 44 กล่าวว่าพวกเขาใช้อุปกรณ์มือถือเพื่อเล่นเกมส์ในทุกๆวัน โดยค่าเฉลี่ยของระดับภูมิภาคที่อยู่ที่ร้อยละ 30

คนไทยถึงสามในสี่รู้สึกว่าตนมีสมดุลที่ดีในการใช้เทคโนโลยีและไม่ได้มีการใช้งานที่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้มือถือชาวไทยมีแนวโน้มที่จะรู้สึกหงุดหงิดมากกว่าผู้ใช้ในระดับภูมิภาค เมื่อไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือได้ถึงร้อยละ 55 เลยทีเดียว ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในภูมิภาคจะอยู่ที่ร้อยละ 39

  1. การปลดล็อกโอกาสใหม่ๆ ในที่ทำงาน

ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยเกือบครึ่งเชื่อว่าการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถช่วยส่งเสริมให้พวกเขามีความก้าวหน้าในการทำงานได้ (ร้อยละ 53) ช่วยในการเปลี่ยนอาชีพ (ร้อยละ 37) หรือการจัดตั้งธุรกิจของตนเอง (ร้อยละ 31) ซึ่งเป็นรากฐานของศักยภาพอันมหาศาลของการเชื่อมต่อผ่านมือถือ

ผู้ตอบแบบสอบถามยังคาดหวังการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อเร่งการทำงานในสถานที่ทำงาน สองในสามเชื่อว่าการใช้ generative AI ในการทำงานจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนในอีก 6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเป็นสิ่งสำคัญในสถานที่ทำงาน และเกือบครึ่งหวังว่าจะได้เรียนรู้และเข้าใจในทักษะที่จำเป็นเพื่อสามารถใช้งานและเข้าถึงเครื่องมือ generative AI เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในอาชีพการงานของพวกเขา

ธุรกิจในไทยยังคงเปิดรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยกว่าร้อยละ 82 ระบุว่าองค์กรของพวกเขาสนับสนุนให้พนักงานใช้ generative AI ในที่ทำงาน มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่บอกว่าองค์กรของตนห้ามหรือไม่สนับสนุนการใช้ AI ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในบรรดาประเทศที่ทำการสำรวจ ซึ่งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 15

  1. ประสบการณ์บนโลกออนไลน์ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

คนไทยมีความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยบนโทรศัพท์น้อยที่สุดจากผลสำรวจซึ่งมีความโดดเด่นกว่าคู่แข่งในระดับภูมิภาคเป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยในกลุ่มที่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามอันดับต้น ๆ กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้กังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ถึงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในระดับภูมิภาคอยู่ที่เพียงร้อยละ 8 เท่านั้น

อย่างไรก็ตามชาวไทยมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ของผู้สูงอายุ (ร้อยละ 75) และ เด็กเยาวชน (ร้อยละ 72) โดยพวกเขาเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดในการให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับความปลอดภัยทางออนไลน์คือการให้แนวทางสำหรับพฤติกรรมออนไลน์ (ร้อยละ 71) และการพูดคุยอย่างเปิดเผย (ร้อยละ 61) 

อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยมีการให้แสดงความกังวลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล (ร้อยละ 77) โดยเป็นการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว (ร้อยละ 69) และการคุกคามทางออนไลน์ (ร้อยละ 57) และบ่อยครั้งที่พวกเขาเผชิญกับข่าวปลอม การหลอกลวง และความรู้สึกติดกับโลกออนไลน์ ซึ่งพวกเขายังเผชิญกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในระดับสูงสุดในภูมิภาค โดยเกือบครึ่ง (ร้อยละ 47) รายงานว่าพวกเขาประสบปัญหานี้อย่างน้อยเดือนละครั้ง

  1. เข้าถึงการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง

การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เอื้อต่อโอกาสในการยกระดับทักษะและสร้างแหล่งรายได้ใหม่ทั่วประเทศไทย เกินครึ่งของผู้เข้าร่วม (ร้อยละ 57) ของผู้ตอบแบบสำรวจในปีนี้กล่าวว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่ของตนยังคงเปิดประตูสู่การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจที่เกือบร้อยละ 91 ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาใช้มือถือเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

โดยการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้ ทักษะด้านการสื่อสาร เช่น การเรียนรู้ภาษาใหม่ (ร้อยละ 67) และการจัดการโซเชียลมีเดีย (ร้อยละ 63) ซึ่งกลายเป็นทักษะที่ต้องการมากที่สุดในการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์มือถือ ทั้งนี้ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้การจัดการโซเชียลมีเดียของคนไทยมีความโดดเด่นเป็นอันดับที่สูงที่สุดในการสำรวจ

โดยกว่าร้อยละ 72 กล่าวว่าพวกเขาต้องการใช้ทักษะที่มีเพื่อหารายได้เพิ่มเติม และแหล่งรายได้ใหม่ยอดนิยมที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่มาจากการลงทุนออนไลน์ (ร้อยละ 55) การขายในตลาดออนไลน์ (ร้อยละ 40) และการกลายเป็นนักสร้างคอนเทนต์ (ร้อยละ 38)

  1. การลดผลกระทบของเราที่มีต่อโลก

ร้อยละ 71 ของผู้ตอบแบบสำรวจรู้สึกว่าการใช้โทรศัพท์มือถือช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้นโดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะ ลดความจำเป็นในการเดินทาง และลดการใช้กระดาษ แม้ว่าคนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72) แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้โทรศัพท์มือถือ แต่มีเพียงหนึ่งในสิบคนเท่านั้นที่ไม่ตระหนักถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากโทรศัพท์มือถือของตนเลย

ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงที่สุดในหมู่คนไทยในกลุ่มช่วงอายุ 18-29 ปี โดยร้อยละ 64 ระบุว่าตนตระหนักรู้ดี และ ร้อยละ 42 ระบุว่าตนกังวลอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อสภาพภูมิอากาศ 4ใน 10 คนในกลุ่มอายุนี้กล่าวว่าสภาพภูมิอากาศและตำแหน่งความยั่งยืนของผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีความสำคัญมากสำหรับพวกเขา และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเลือกผู้ให้บริการของพวกเขา

ที่มา: มิดัส พีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ