วว. ร่วมต้อนรับรองนายกรัฐมนตรี "อนุทิน ชาญวีรกูล" พร้อมโชว์นวัตกรรมขับเคลื่อนเมืองคาร์บอนต่ำ

จันทร์ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๖:๓๑
วันนี้ ( 13 พ.ย. 2566 ณ กระทรวง อว. โยธี) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายแก่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว. พร้อมผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดร่วมต้อนรับ โอกาสนี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมผู้บริหารและนักวิจัย วว. ร่วมต้อนรับและนำเสนอการดำเนินงานนวัตกรรมขับเคลื่อนเมืองคาร์บอนต่ำ ได้แก่ โครงการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านไม้ดอกไม้ประดับ โครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร และโครงการศึกษาวิจัย พัฒนาการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์จิตอาสา เพื่อใช้ในการบำบัดของเสียและกำจัดเชื้อโรค

ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ผลงานที่ วว. นำมาจัดแสดงในครั้งนี้เป็นผลจากการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรม โดย วว. ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ/เอกชน มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระดับประเทศ  ดังนี้

โครงการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านไม้ดอกไม้ประดับ วว. ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สถาบันการศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 13 แห่ง ขับเคลื่อนผลงานวิจัยด้านไม้ดอกไม้ประดับในชุมชนท้องถิ่นอย่างมีอัตลักษณ์ เพื่อลดต้นทุนและอันตรายจากการใช้สารเคมีในการผลิต ความเสียหายระหว่างการขนส่ง สำหรับการสร้างมาตรฐานไม้ตัดดอกและดอกไม้เพื่อการบริโภค อันจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนอย่างยั่งยืน

โครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร วว. ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สถาบันพลาสติก เทศบาลตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง และจังหวัดระยอง กลุ่มบริษัทสมาชิก Alliance to End Plastic Waste (AEPW) ในประเทศไทย และ Public Private Partnership for Sustainable Plastic and Waste Management (PPP Plastics) โดยเป็นศูนย์ฯต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย จากการขยายผลความสำเร็จ "ตาลเดี่ยวโมเดล" สู่ภาคเอกชน สำหรับการคัดแยกและยกระดับคุณภาพวัสดุรีไซเคิลเหลือใช้ในชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน มุ่งเน้นการจัดการวัสดุรีไซเคิลที่ต้นทางเพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สร้างงาน สร้างอาชีพ สอดคล้องกับนโยบาย BCG Economy พร้อมขยายผลสำเร็จไปยังจังหวัดต่างๆ ของไทย

          โครงการศึกษาวิจัย พัฒนาและการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์จิตอาสา เพื่อใช้ในการบำบัดของเสียและกำจัดเชื้อโรค   เป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   โดย ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.จอส.พระราชทาน) ร่วมกับ วว. ตระหนักถึงปัญหาน้ำเสีย ขยะเน่าเหม็น ในแม่น้ำ คู คลอง รวมทั้งปัญหากลิ่นเหม็นรบกวนจากของเสียต่างๆ และสิ่งปฏิกูล อีกทั้งเพื่อเป็นการงดเว้นการใช้สารเคมีอันตรายในการบำบัดของเสีย  จึงได้วิจัยพัฒนาจุลินทรีย์เพื่อการบำบัดน้ำเสีย ที่สามารถนำไปใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกระบบ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียให้ดียิ่งขึ้น และเป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์เข้าไปในระบบโดยตรง ทำให้เกิดการย่อยสลายกลิ่นเหม็น กลิ่นขยะของเน่าเสีย และช่วยบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ