UAC โชว์กำไร 9 เดือน โต 204.06% (YoY) ประกาศเร่งเครื่อง ดันรายได้ปี 2027 แตะ 4 พันลบ. ลุยขยายธุรกิจพลังงาน "ปิโตรเลียม - โรงไฟฟ้าชุมชน - โรงงานผลิต RDF"

อังคาร ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๓:๒๐
บมจ.ยูเอซี โกลบอล ("UAC") ประกาศผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกปี 2566 โกยรายได้ 1,258.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.80% (YoY) โดยมีกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท 257.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 204.06% (YoY) และ EBITDA อยู่ที่ 397.97 ล้านบาท จากการเติบโต 3 กลุ่มธุรกิจ และรับรู้ส่วนแบ่งกำไร - เงินปันผลจากบริษัทร่วม ด้าน CEO "ชัชพล ประสพโชค"ประกาศขับเคลื่อนองค์กรสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ลุยลงทุนธุรกิจพลังงานสะอาดใน-นอกประเทศ ดันเป้าปีรายได้ปี 2027 แตะ 4,000 ลบ.

นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ "UAC" เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้มีการรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทในงวด 9 เดือนแรกปี 2566 โดยมีรายได้จากการขายและบริการ 1,258.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 289.04 ล้านบาท หรือ 29.80% (YoY) และมีกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท 257.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 172.62 ล้านบาท หรือ 204.06%(YoY) ขณะที่ EBITDA อยู่ที่ 397.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103.47%

ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2566 บริษัทฯมีรายได้จากการขายและบริการ 460.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 137.14 ล้านบาท หรือ 42.35% (YoY) และพลิกเป็นกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท 76.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81.71 ล้านบาท หรือ 1,550.99% (YoY) และมี EBITDA อยู่ที่ 117.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 213.06%

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างโดดเด่น นั้น โดยหลักมากจากการรับรู้รายได้จากการขายและให้บริการจากกลุ่มธุรกิจ Trading ที่มียอดขายเพิ่มขึ้น 32.42% (YoY) จากปัญหาการขนส่งสินค้าที่เริ่มคลี่คลาย กลุ่มธุรกิจ Manufacturing - Energy ยังคงมีรายได้ที่ลดลง 8.21% (YoY) จากวัตถุดิบหลักที่ไม่เพียงพอต่อการผลิต อย่างไรก็ตามบริษัทฯยังคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ เพิ่มขึ้นในไตรมาสถัด ๆ ไปจากการขาย RDF3 ในสปป.ลาว และการขายไฟฟ้าจากโรงผลิตไฟฟ้าภูผาม่าน และกลุ่มธุรกิจ - Petroleum ที่ทยอยรับรู้รายได้และคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการติดตั้งเครื่อง Artificial lift เพื่อเพิ่มการผลิตปิโตรเลียมให้ได้วันละ 300 BBL/Day พร้อมทั้ง รับรู้กำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม และเงินปันผลจากบริษัทร่วมอย่างต่อเนื่อง

"จากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังเจอแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มองว่าเศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากภาระเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ดังนั้น UAC จึงให้ความสำคัญในการรักษาสภาพคล่องทางการเงิน ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทำให้บริษัทมีเงินสดในมือ ณ สิ้นไตรมาส 3/2566 จำนวน 250.73 ล้านบาท และอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) 0.84 เท่า ยังคงเป็นไปตามกรอบนโยบายทางการเงินของบริษัทที่ไม่เกิน 2 เท่า"

นอกจากนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ UAC กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการการลงทุนต่าง ๆ ว่า สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าภูผาม่าน (PPM) คาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) เดินเครื่อง Generator#1 กำลังการผลิต 1.5 เมกกะวัตต์ ภายในเดือนธันวาคม 2566 นี้ ส่วนGenerator#2 กำลังการผลิต 1.5 เมกกะวัตต์ จะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในไตรมาส 1/2567

ส่วนโครงการ PT Cahaya Yasa Cipta (CYC) ซึ่งเป็นโครงการภายการการลงทุนของบริษัท ยูเอซี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (บริษัทย่อย) ร่วมลงทุนใน PT Cahaya Cipta สัดส่วน 70% เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่าย RDF3 ในประเทศอินโดนีเซีย มีกำลังการผลิตประมาณ 40,000 ตัน/ปี โดยจะจำหน่ายให้กับโรงปูนซีเมนต์ในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งได้มีการวางศิลาฤกษ์เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 และอยู่ระหว่างการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อยื่นขอใบอนุญาตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างโรงงานและเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ภายในไตรมาส 3/2567

และด้วยกลยุทธ์การลงทุนธุรกิจพลังงานสะอาดข้างต้นจะผลักดันให้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เติบโตตามเป้ารายได้ที่วางไว้ในปีนี้เพิ่มขึ้น 15% ควบคู่กับการรักษาระดับการเติบโตของอัตรากำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) มากกว่า 20% ของรายได้ยอดขายรวม พร้อมทั้งอยู่ระหว่างการเตรียมปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของ UAC Group เพื่อเป้าหมายรายได้ 4,000 ล้านบาทในปี 2027

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้รับการประเมินตามโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย (CGR) ประจำปี 2566 อยู่ในระดับ "ดีเลิศ (Excellent)" หรือ 5 ดาว ที่จัดขึ้นโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ภายใต้การสนับสนุนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 ถือเป็นการสะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการให้ความสำคัญด้านการบริหารงานอย่างมีความรับผิดชอบ โปร่งใส และให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกส่วน ซึ่งสอดกับวิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่น สู่การเป็นผู้ประกอบการด้านพลังงานสะอาด ปิโตรเคมีและสาธารณูปโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG)

ที่มา: มีเดีย แพลนเนอร์ คอนซัลแทนท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๕ สองสถาบันประชุมเตรียมความพร้อม จัดงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 75
๑๖:๒๙ ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น Masked Depression ภัยเงียบที่คุณอาจมองไม่เห็น
๑๖:๔๑ สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 52
๑๖:๑๙ กทพ. สร้างประวัติศาสตร์ใหม่! มหกรรมสุขเต็มสิบ ฉลองสะพานทศมราชัน ดึงผู้ร่วมงานกว่า 2 แสนคน พร้อมเตรียมพบกิจกรรมเดิน - วิ่งลอยฟ้า บนสะพานทศมราชัน 26 ม.ค.
๑๕:๑๒ วิทยาลัยดุสิตธานี จัดการแข่งขันภายใน โครงการ DTC X Unilever food solutions The Future Food Menu 2024 ร่วมกับ Unilever Food
๑๕:๒๑ ร้านอาหารจีน เฮยยิน ต้อนรับตรุษจีนปีมะเส็ง กับ 11 เมนูอะลาคาร์ตมงคล และ 3 เซตตรุษจีนมงคล
๑๕:๐๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ส่งความสุข และกำลังใจ มอบอั่งเปา ชุดของขวัญ และจัดเลี้ยงอาหารแก่คนชราไทย -จีน รวม 5 แห่ง เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ประจำปี
๑๕:๑๘ บางกอกทูเดย์จัดเสวนา 2568 สัญญาณอันตรายรัฐบาล ในสายตากูรูการเมือง
๑๔:๑๖ เจแปน ไพรซ์ ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลประจำปี 2568
๑๔:๕๕ ยูนิเซฟ ประเทศไทย เปิดบ้านต้อนรับเด็กและเยาวชน ส่งต่อแรงบันดาลใจ เพื่อสร้าง วันนี้ เพื่อพรุ่งนี้ที่ดีกว่า