บพข. ร่วมประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก ขับเคลื่อนระบบอาหารของไทยให้สอดรับกับสภาวะความแปรปรวน

พุธ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๗:๐๙
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งอาหารประเทศไทย (FoSTAT) International Union of Food Science & Technology (IUFoST) และ Union Nations Industrial Development Organization (UNIDO) จัดงานเสวนาเรื่อง "Resilient and Innovation Food Systems วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

งานดังกล่าวเป็นการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก (UN Food Systems Summits: UNFSS) ที่รวบรวมหน่วยงานกำกับดูแล ผู้นำความคิดเห็น นักวิจัยเทคโนโลยี ผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหาร อาทิ IUFoST UNIDO, Food Security and Food Systems Unit, Division of Agri-Business and Infrastructure Development, World Health Organisation (WHO), Codex Alimentarius Commission (CAC), และ FAO Regional Office for Asia and the Pacific (RAP) โดยมีสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ Informa Market (Thailand) เป็นหน่วยงานร่วมจัด เพื่อประโยชน์ต่อการขับเคลื่อน และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรวิชาการในการสนับสนุนระบบอาหาร (Food Systems) ตามกรอบวัตถุประสงค์ของการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก โดยมุ่งเน้นการหาแนวทางแก้ไขปัญหาและผลลัพธ์ที่จะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้ระบบอาหาร ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร บูรณาการร่วมกับการใช้นวัตกรรมผ่านกิจกรรมอภิปรายแลกเปลี่ยนมุมมองและการรายงานสรุปเชิงนโยบายจากผู้นำ ผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงระบบอาหารของไทย และเพื่อเป็นกลไกพัฒนา ขับเคลื่อนระบบอาหารของไทยให้สอดรับกับระบบอาหารที่มีในระดับสากล

ศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี ชินะโชติ อนุกรรมการแผนงานกลุ่มเกษตรและอาหาร บพข. ในฐานะที่ปรึกษาสมาคม FoSTAT คณะกรรมการ IUFoST หัวหน้าโครงการ Food Innovation and Regulation Network (FIRN) กล่าวว่า "โลกเรากำลังเข้าสู่วิกฤตการณ์ ทั้งด้านประชากร และด้านอาหาร เรามีโปรตีน และสารอาหารไม่เพียงพอ และในขณะเดียวกันยังมีเรื่องภัยธรรมชาติที่เป็นผลกระทบมาจากสภาวะโลกร้อน รวมถึงสงครามที่กำลังเกิดขึ้น ส่งผลกระทบทำให้อาหารไม่เพียงพอ เราจำเป็นต้องมี Resilient หรือความยืดหยุ่นของระบบอาหาร ที่จะต้องยืดหยุ่นพอที่จะหาทางออกของมันได้ เช่น ซัพพลายเชนอาหารที่ดี วิธีการปลูก หรือวิธีการเลี้ยงที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับสภาวะของดินฟ้าอากาศ เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารเมื่อเกิดวิกฤต ดังนั้น Resilient จึงเป็นเรื่องของการบริหารจัดการทำให้เราสามารถที่จะอยู่กับสภาวะที่มีความเสี่ยงได้ โดยเราต้องมีการทำวิจัยแบบใหม่ที่มีการนำเอานวัตกรรมมาบูรณาการ (innovative) เพื่อพัฒนาอาหารให้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ปลอดภัย และดีต่อสุขภาพ และสามารถรองรับกับสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงได้"

ศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี กล่าวต่อว่า "ที่สุดของนวัตกรรมทางอาหารขณะนี้คือเรื่อง Cultured Meat หรือเนื้อแห่งอนาคต ซึ่งมีชื่ออื่น ๆ เช่น Clean Meat, Synthetic Meat หรือ In Vitro Meat โดยเนื้อดังกล่าวเกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสเต็มเซลล์ (Stem Cell) ของสัตว์ ภายนอกร่างกายของสัตว์นั้น ๆ โดยนำไปเพาะเลี้ยงในห้องทดลองด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่พื้นที่การปศุสัตว์มีจำกัดและการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน แต่การทำ Cultured Meat ต้องใช้เวลานานหลายปี จึงเป็นเรื่องที่ยากมากในการที่จะทำเป็น Mass Production แต่ขณะเดียวกัน จุดเด่นของบ้านเราคือเรื่องการเพาะปลูก การทำเกษตรกรรม และเทคโนโลยีการผลิตอาหารเพื่อออกสู่ตลาดของเรานั้นไม่ได้มีปัญหา เรามีโรงงานเยอะมาก แต่เรามีปัญหาในเรื่องของเกษตรกรรมต้นน้ำ เกษตรกรรมของเรานั้นสุ่มเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางสภาพอากาศเกษตรกรของเราลำบาก และวิธีแก้ปัญหาของรัฐบาลในปัจจุบันเป็นการ Subsidies ด้วยการให้เงินอุดหนุน เช่น การการันตีราคาข้าว แต่ไม่ได้สนับสนุนเรื่องเทคโนโลยีการเกษตรเท่าที่ควร ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อบริหารจัดการทำให้เขาสามารถที่จะอยู่กับสภาวะการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงได้ เพราะฉะนั้น การแก้ปัญหาในระยะยาวคือการสอนให้เกษตรกรรู้จักการเทคโนโลยีในการเพาะปลูก เพื่อที่พวกเขาจะได้มี Resilient Innovative Agriculture สามารถปรับตัวและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและวิกฤตได้"

"ตอนนี้ทุกคนอาจจะเข้าใจว่าประเทศไทยของเรามีความมั่นคงทางอาหารมาก เพราะเรามีอาหารเยอะแยะมากมาย แต่ที่จริงแล้วเราค่อนเปราะบาง ดูได้จากสถานะการกินอยู่และสถานะทางการเงินของผู้ที่ผลิตอาหารมาเลี้ยงเราอย่างเช่นเกษตรกร คนเหล่านี้มีสถานะทางการเงินที่ยากจนมาก เพราะฉะนั้นหมายความว่าเขามีความเปราะบางมาก หากเกิดอะไรขึ้นเขาจะเป็นกลุ่มที่ล้มลงเป็นกลุ่มแรก ที่เราเห็นว่าตอนนี้มีเยอะนั่นเพราะว่าเรามีจำนวนคนที่ชีวิตแขวนอยู่กับธุรกิจนี้เยอะมาก แต่เขาต่างใช้กำลังในการทำงาน มากกว่าการใช้เทคโนโลยี ประชากรไทยกว่า 50% ทำเรื่องเกษตรและอาหาร ซึ่งนั่นหมายความเช่นเดียวกันว่า 50% ของคนในประเทศเราเป็นชนชั้นล่างที่มีรายได้น้อยและเปราะบาง หากไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย พวกเขาเหล่านี้จะลำบากแน่นอน ดังนั้นรัฐต้องสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านอาหารที่อยู่ต้นน้ำและเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางมาก สิ่งที่เราพูดคุยกันในวันนี้ มีเทคโนโลยีหลายอย่างที่น่าสนใจและสามารถนำไปใช้กับเกษตรกรของเราได้ เช่น การเพาะเลี้ยงไข่ผำ และ Insect Protein ถ้าสามารถทำให้ถูกสุขลักษณะของการเลี้ยง การปลูก จะทำให้มีคุณภาพดี และสามารถออกสู่ตลาด มีราคาที่ดี และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีองค์ความรู้ นอกจากนี้ ตอนนี้ทาง บพข. กำลังมองกลุ่มประมงทางทะเล เพราะมักมีการกังวลว่าการจับปลาในทะเลจำนวนมากจะทำลายระบบนิเวศน์ทางทะเล เราจึงพยายามมองหาเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยง นวัตกรรมอาหารปลาเพื่อให้ปลามีโอเมก้า 3 ที่สูงขึ้น เพื่อให้เราสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีโอเมก้า 3 ได้เอง และคนทั่วไปสามารถหาซื้อทานได้ในราคาไม่แพง โดยที่เราไม่ต้องไปจับปลาในทะเลเพื่อให้ได้ปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศน์ทางทะเลให้มีความสมบูรณ์ยั่งยืน" ศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี กล่าวทิ้งท้าย

บางช่วงบางตอนในการเสวนาได้มีการพูดถึงแนวคิดการจัดการ Food lost ให้เกิด Resilient และ Innovative เช่น เศษอาหารที่เหลือจากโรงงาน เช่น เปลือกเงาะ เปลือกมังคุด เปลือกทุเรียน และเปลือกสัปปะรด จะไปอยู่ที่ไหนหลังจากกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งวิธีหนึ่งในการจัดการคือ การเอาไปใช้เป็นอาหารของแมลงของเกษตรกรที่เลี้ยงเป็น Insect Protein เพราะแมลงสามารถกินอาหารเหล่านี้ได้ทั้งหมด จึงสามารถช่วยลด Food Lost และอีกทั้งยังมีคาร์บอนต่ำ ส่งเสริม bio circular green ได้อีกทางหนึ่งด้วย เช่นเดียวกับการเพาะเลี้ยงไข่ผำ เพราะสามารถนำทุกส่วนของมันมาทานได้หมด จึงไม่เหลือ food waste

แนวคิดเหล่านี้จะสามารถไปสู่ผู้ประกอบการ Start-up เกษตรกรรุ่นใหม่ได้ และคนหมู่มากได้ ยังต้องอาศัยแรงผลักดันอย่างสูงจากรัฐบาล เราต้องผลักดันให้เทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากในระดับห้องปฏิบัติการ ขยายผลไปสู่ระกับ Pilot Scale คือระดับปฏิบัติการจริง และพิสูจน์อีกครั้งร่วมกับระเบียบข้อบังคับของ อย. เพื่อรับรองความปลอดภัย สามารถขออนุญาตออกผลิตภัณฑ์มาให้ผู้บริโภคทานได้ ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยแรงสนับสนุนจากรัฐมากพอสมควร เพราะลำพังแรงของ Start-up นั้นอาจไม่เพียงพอ เพราะจำเป็นต้องใช้เงินในการลงทุนเยอะมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะผลักทั้ง System นี้ได้ ดังนั้นจึงต้องมีหน่วยของรัฐ อย่างเช่น บพข. ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนจุดนี้ โดยการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิด Ecosystem ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเดินต่อได้

บพข. ในฐานะ Key Player ที่ขับเคลื่อนเรื่อง Food System ในประเทศไทย ได้ผลักดันความร่วมมือกับต่างประเทศโดยร่วมกันพิจารณาทางออกของปัญหาในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การแปรรูปอาหาร การจัดการระบบอาหารยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิต และการผลักดันด้านกฎระเบียบข้อบังคับและนโยบาย เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้รับการรับรองและสามารถออกสู่ตลาดได้ อีกทั้งสร้างความตระหนักให้แก่ทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ของประเทศไทย

ที่มา: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version