รมว.เกษตรฯ เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มฯน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566

พุธ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๒๒:๓๙
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.40 น. ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ พร้อมด้วย นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร และผู้บริหารของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566 ณ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นการร่วมแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยในปีนี้ครบรอบปีที่ 68 แห่งการก่อกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง ภายในงานมีการจัดแสดงงานวิจัยโครงการฝนหลวง ได้แก่ โครงการวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพ่นสารจากพื้นสู่ก้อนเมฆ หรือ Ground Based Generator Technology เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวงสำหรับพื้นที่เขตเงาฝนบริเวณภาคเหนือของประเทศ และโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศ ที่ใช้เพื่อสนับสนุนการทำฝนหลวงในพื้นที่ที่เครื่องบินทำฝนหลวงเข้าถึงลำบาก นอกจากนี้ประธานในพิธีได้มีการมอบรางวัลแก่อาสาสมัครฝนหลวงดีเด่นระดับภูมิภาค ประจำปี 2566 จำนวน 7 รางวัล อีกด้วย

สำหรับความเป็นมาของวันพระบิดาแห่งฝนหลวง มีที่มานับตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 ทรงพบว่าราษฎรเดือดร้อน พืชผลทางการเกษตรเสียหายจากทั้งฝนแล้งและน้ำท่วม ทำให้ทรงเกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาทุกข์ร้อนของราษฎรในขณะนั้นว่า "สมควรที่จะสร้างฝายหรือเขื่อนขนาดเล็ก (Check dams) และอ่างเก็บน้ำจำนวนมากขวางทางน้ำ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงการไหลบ่า และเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นการบรรเทาสภาวะแห้งแล้งได้ทางหนึ่ง" ที่สำคัญทรงเกิดประกายความคิดด้วยความมั่นพระทัยว่าน่าจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เกิดฝนได้ นับเป็นต้นกำเนิดของแนวพระราชดำริที่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น "โครงการพระราชดำริฝนหลวง" ในปัจจุบัน

ในระยะเริ่มแรก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานปฏิบัติการหลักในการวิจัย การค้นคว้าทดลองเพื่อพัฒนาขั้นตอนกรรมวิธีและเทคนิคในการปฏิบัติการฝนหลวงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชกรณียกิจดังกล่าวด้วยพระองค์เอง ทั้งระหว่างที่ทรงแปรพระราชฐานมาประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล หรือทรงบัญชาการมาจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานผ่านข่ายวิทยุตำรวจ  กรมการบินพาณิชย์จึงได้จัดอาคารท่าอากาศยานในขณะนั้นให้เป็นสถานที่ทรงงาน จึงเรียกกันว่า "ศาลาที่ประทับ" ตั้งแต่นั้นมา นับได้ว่าสถานที่นี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของโครงการฝนหลวง ปัจจุบัน ศูนย์ฝนหลวงหัวหินมีสถานภาพพร้อมที่จะดำเนินการเป็นต้นแบบ ในภารกิจด้านระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ ภารกิจพัฒนาเทคนิคเสริมเทคโนโลยี ภารกิจปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษและฝนหลวงปกติ ภารกิจถ่ายทอดเทคโนโลยีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญและสาธิตการปฏิบัติการฝนหลวง การทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง รวมไปถึงการวิจัยคุณภาพน้ำฝน นอกจากนี้ภายในหอเฉลิมพระเกียรติพระบิดาแห่งฝนหลวง มีการจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งเปิดบริการให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชม ในวันและเวลาราชการ อีกด้วย

ที่มา: กรมฝนหลวงเเละการบินเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๖ ก.ย. บริษัท เอดด้า บูนาเดอร์ จำกัด ร่วมกับ โรงพยาบาลลานนา ตรวจสุขภาพพนักงาน สิทธิประกันสังคม ประจำปี 2567
๐๖ ก.ย. ดั๊บเบิ้ล เอ รับข่าวดีทริสเรตติ้งปรับเพิ่มแนวโน้มอันดับเครดิตเป็น บวก พร้อมเผยผลกำไร Q2'67 พุ่ง 23%
๐๖ ก.ย. เจมาร์ท โมบาย จับมือ Viu (วิว) เอาใจลูกค้ามอบสิทธิ์ดูซีรีส์ ฟรี! แบบจุใจ ผ่านแพ็กเกจ Viu Premium
๐๖ ก.ย. CPW ฉลองเปิดร้าน dotlife เซ็นทรัลพิษณุโลกโฉมใหม่ พร้อมให้ช้อปแล้ววันนี้
๐๖ ก.ย. CHAYO ร่วมสนับสนุนช่วยเหลือคนพิการยากไร้ และสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงห้องเยี่ยมญาติเรือนจำธัญบุรี
๐๖ ก.ย. NPS ร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกิจกรรมรักษ์ป่าเขาหินซ้อนตามแนวพระราชดำริ
๐๖ ก.ย. ค่านิยมองค์กรสู่เอกลักษณ์ที่โดดเด่น มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ
๐๖ ก.ย. BC ลั่น Q2/67 พลิกกลับมาเทิร์นอะราวด์ทำกำไร EBITDA โตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติด ลุ้นขายโครงการใหม่หนุนปีนี้พลิกทำกำไร เปิดตัวโครงการใหม่ ลุยแผน ICO ยื่นไฟลิ่งเร็วๆ
๐๖ ก.ย. ซัมซุง นำเสนอโซลูชั่น SmartThings Pro และ AirCare Solution มุ่งยกระดับการบริหารจัดการอาคารและที่พักอาศัยด้วยเทคโนโลยี IoT
๐๖ ก.ย. FTI ปันน้ำใจบรรเทาภัยน้ำท่วม บริจาคถุงยังชีพ ผู้ประสบภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา