แจ่มจรัส ชวนแบรนด์รุกตลาด "ภาคอีสาน" รับกำลังซื้อฟื้น แนะกลยุทธ์จับจริตคนภูธร เปิดอินไซต์ "ซอฟต์พาวเวอร์" คือจุดแข็ง พบสื่อออนไลน์ครองตลาด ตั้งเป้าโต 2 เท่าปี 67

พฤหัส ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๐:๓๕
บริษัท แจ่มจรัส จำกัด ในเครือ YDM Thailand ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะตลาดภูธร ปักธงพาแบรนด์บุกตลาดภาคอีสาน ทำเลยุทธศาสตร์ประเทศ ชวนแบรนด์เดินเกมรุกขยายตลาดเมืองรอง เจาะกลุ่มผู้บริโภคภูธรเสริมแกร่งศักยภาพแบรนด์ เปิดอินไซต์ค่านิยมการสื่อสารทางวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือ ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) คือจุดแข็งกระตุ้นการท่องเที่ยว-กำลังซื้อ หนุนเศรษฐกิจรับกำลังซื้อเริ่มฟื้นตัว คาดช่วงเทศกาลส่งท้ายปีตลาดภูธรมีแนวโน้มเติบโต ตั้งเป้าโต 2 เท่าปี 67 มองภาคอีสานคือพื้นที่ศักยภาพดึงดูดการลงทุน ด้วยพื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศ มีประชากรกว่า 22 ล้านคน พบสื่อออนไลน์ครองตลาดแนะโมเดล PHUTORN ออกแบบแผนกลยุทธ์สื่อสารแบรนด์จับจริตคนภูธร ช่วยปั้นยอดขายเพิ่ม 2 เท่า

นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อออนไลน์มีบทบาทสามารถเข้าถึงบริโภคได้ครอบคลุมทั่วประเทศ สอดคล้องกับข้อมูลรวบรวมพฤติกรรมทางดิจิทัลที่เจาะจงเฉพาะ 'คนไทย' ในปี 2565 - 2566 โดย We Are Social และ Meltwater พบว่าคนไทยกว่า 71.75 ล้านคน ใช้งาน Internet มากถึง 61.21 ล้านคน หรือ 85.3% โดยมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่ Active ถึง 72.8% ของประชากร และมีผู้ใช้มือถือเข้าชมเว็บไซต์สูงสุดเป็นอันดับ 1 มากถึง 68% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีอำนาจสื่อในมือ เพื่อเลือกรับข่าวสาร เลือกซื้อสินค้า และบริการในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคในต่างจังหวัด รวมถึงเมืองรองในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งมีอิทธิผลกับกำลังซื้อต่อแบรนด์ไม่น้อยกว่ากับผู้บริโภคในเมืองหลักหรือหัวเมืองใหญ่ ถือเป็นตลาดสำคัญที่นักการตลาดและแบรนด์ควรเพิ่มโอกาสทางการขายและขยายฐานลูกค้าเข้าไปในกลุ่มนี้ โดย แจ่มจรัส เป็นหัวหอกสำคัญของ YDM Thailand ในการขับเคลื่อนแบรนด์พาทเนอร์บุกและแสวงหาโอกาสใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว ด้วยความเชี่ยวชาญ และเข้าใจอินไซต์ ค่านิยมทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เสมือนเป็นคนพื้นที่ พร้อมพาแบรนด์เจาะกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่ต่างจังหวัดไม่เฉพาะหัวเมืองใหญ่ แต่รวมถึงเมืองรองผ่านกลยุทธ์การใช้สื่อผสมผสานทั้งสื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์ และกิจกรรมออนกราวด์

นายสมยศ ชัยรัตน์ กรรมการผู้จัดการและผู้บริหาร บริษัท แจ่มจรัส จำกัด ในเครือ YDM Thailand กล่าวว่า ช่องโหว่ของนักการตลาด และแบรนด์ปัจจุบันคือการโฟกัส Insight ของผู้บริโภคในเมืองเป็นหลัก และมีแนวคิดเดิม ๆ ที่เข้าใจจะว่าสามารถเข้าถึงจริตคนภูธรได้ด้วยเรื่องราวเดียวกัน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเคยได้ผลในยุคที่สื่อโทรทัศน์ยังเป็นสื่อหลัก ขณะเดียวกัน เมื่อโลกเปลี่ยนไป ซอฟต์พาวเวอร์ความเป็นไทยที่แตกต่างมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้น ล่าสุด กับกระแสภาพยนตร์สัปเหร่อคือข้อพิสูจน์ถึงการยอมรับ ความสนุก การถ่ายโยงของวัฒนธรรมอื่น เข้ามามีบทบาทมหาศาล บางแบรนด์เริ่มมีทิศทางการเดินหน้าบุกตลาดต่างจังหวัดซึ่งเป็นเมืองรองแล้ว แต่ก็ยังสะดุดกับดักใหญ่ คือไม่สามารถเจาะลึกเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ได้ ด้วยขาดความชำนาญ ไม่เข้าใจพฤติกรรม รวมถึงไลฟ์สไตล์ ความชื่นชอบผู้บริโภคต่างจังหวัดที่มีความเฉพาะตัวในแต่ละภูมิภาค ทำให้หลายแบรนด์พลาดโอกาสที่จะได้เข้าถึงลูกค้า โดยเฉพาะภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ทำเลยุทธศาสตร์ประเทศ

ข้อมูลจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรไทย สำนักทะเบียนกลาง ชี้ภาคอีสานติดอันดับจำนวนประชากรสูงสุดปี 2565 ด้วยประชากรกว่า 22 ล้านคน มีพื้นที่คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งถือเป็นตลาดต่างจังหวัดที่มีศักยภาพมากที่สุด มีจุดแข็งด้านซอฟต์พาวเวอร์ ถิ่นกำเนิดของศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเชื่อ ความคิดสร้างสรรค์ ความสนุกสนาน และภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและกำลังซื้อจากคนในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจในภูมิภาคกำลังเริ่มฟื้นตัว ถือเป็นโอกาสที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม

"ทั้งนี้ แจ่มจรัส ตั้งเป้าโต 2 เท่าปี 2567 เดินหน้าชวนแบรนด์รุกตลาดภาคอีสาน ขานรับแนวโน้มภาคเศรษฐกิจการท่องเที่ยว-กำลังซื้อฟื้นตัว โดยเฉพาะช่วงเทศกาลส่งท้ายปีตลาดภูธรคาดจะมีแนวโน้มเติบโต ซึ่งนอกจากแบรนด์ควรยึดเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนแผนการตลาดด้วยโมเดล PHUTORN แล้ว ควรดึงจุดแข็งด้านค่านิยมการสื่อสารทางวัฒนธรรมท้องถิ่น (Soft Power) ในแต่ละพื้นมาเพื่อเสริมแกร่งแบรนด์ จับจริตคนต่างจังหวัดถูกจุดใน 4 ข้อหลัก ๆ คือ 1. สัญลักษณ์ (Symbols) ควรใช้การสื่อสารผ่าน Content คำพูด ท่าทาง รูปภาพ และวัตถุที่มีความหมายเฉพาะ เป็นที่ยอมรับของผู้ที่มีวัฒนธรรมเดียวกัน 2. ฮีโร่/ไอคอน (Heroes) นับเป็นหมากตัวสำคัญที่ช่วยดึงความสนใจร่วมกับการสื่อสาร Online และ On-ground โดยจะเน้นใช้บุคคลที่ได้รับการยกย่องจากสังคม 3. พิธีกรรม (Rituals) เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มาพร้อมความเชื่อ ความสนใจ และความสนุกสนานมีอิทธิพลมากกับคนในพื้นที่ นิยมจัดร่วมกับกิจกรรมแบบ Offline เน้นการสร้างการมีส่วนร่วม เช่น งานเทศกาลงานบุญ รถแห่ หรืองานประจำจังหวัด เป็นต้น และ 4. เป้าหมายการเพิ่มมูลค่า (Value Target) คือการเข้าถึงเอกลักษณ์ของผู้บริโภคในพื้นที่ เช่น ชาวอีสานชื่นชวนกิจกรรมเป็นกลุ่ม สนุกสนาน เสียงหัวเราะ เต้น ร้องเพลง เป็นต้น ซึ่งจากการนำโมเดลดังกล่าวไปใช้ในการช่วยขับเคลื่อนแบรนด์สู่ขยายตลาดภูธร พบว่าแบรนด์สามารถเพิ่มยอดขายธุรกิจมากถึง 2 เท่า บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และประสบความสำเร็จเกินคาด" นายสมยศ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: แอบโซลูท พีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ