ทรูมันนี่ เจาะ 4 เทรนด์ธุรกิจแอปการเงินครบวงจร (Financial Super App) พร้อมสร้างอีโคซิสเต็มส์เพื่อการเงินยุคใหม่ในโลกดิจิทัล

อังคาร ๒๑ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๖:๐๘
เมื่อโลกก้าวสู่ยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) สมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญและแทรกซึมไปกับทุกจังหวะชีวิตของคนยุคใหม่ ด้วยฟังก์ชันหลากหลายที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ตั้งแต่ความบันเทิงไปจนถึงเรื่องการเงิน แต่เมื่อพูดถึงแอปพลิเคชันการเงินในปัจจุบัน ก็ไม่ได้มีเพียง อีวอลเล็ต (E-Wallet) หรือกระเป๋าเงินดิจิทัล ที่เป็นบริการเด่นเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ผู้ให้บริการต่างก็เดินหน้าพัฒนาอีโคซิสเต็มส์ของบริการด้านการเงินของตัวเองให้ครบวงจร ไม่เพียงเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่คุ้นเคยกับความสะดวกของยุคดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ให้ครอบคลุมผู้คนทุกกลุ่มมากขึ้น ด้วยการทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่าย ลดความยากในการเข้าถึง พร้อมผลักดันให้ทุกคนสามารถมีคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีที่สุดในแบบของตัวเอง

ทรูมันนี่ ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เริ่มสร้างบริการ
ใช้จ่าย (Payment) เพื่อตอบโจทย์การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำให้ไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายของผู้คนเป็นเรื่องง่าย อย่างไรก็ดี การสร้างแอปการเงินครบวงจร (Financial Super App) จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง 4 ปัจจัยสำคัญ ที่สามารถส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินให้แก่บุคคลทุกกลุ่มได้อย่างยั่งยืน ประกอบไปด้วย

  1. เสริมสร้างทักษะความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ควบคู่กับไปกับทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)

จากงานวิจัยของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ในปีพ.ศ. 2565 พบว่า เทรนด์ทางด้านทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literary) ของบุคคลทั่วไป โดยมากจะมีแนวโน้มสอดคล้องไปกับทักษะความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมจากผู้คนอายุระหว่าง 16 - 35 ปี จำนวน 90,000 คน จาก 6 ประเทศในอาเซียน พบ กว่า 24% ของมิลเลนเนียล (อายุตั้งแต่ 16 - 35 ปี) ไม่เคยเรียนรู้เรื่องการจัดการทางการเงิน หรือ การลงทุนมาก่อน เนื่องจากมองว่า การเงินเป็นเรื่องยาก อีกทั้งยังมีกำแพงด้านภาษาและขั้นตอนการใช้งานที่ซับซ้อน

ผู้ให้บริการจึงควรทำให้การใช้งานแอปการเงินเป็นเรื่องง่ายและตอบโจทย์ของผู้ใช้งาน ด้วยการลดอุปสรรคในการเข้าถึง (Barrier of Entry) อีกทั้งควรออกแบบแอปที่สามารถเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้ใช้งาน ให้พวกเขาสามารถเริ่มสร้างความมั่นคงทางการเงินของตนเองได้ไม่ยาก พร้อมด้วยฟีเจอร์ที่สนุกและมีประโยชน์หลากหลาย เช่น ฝากเงินแล้วเห็นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นรายวัน หรือ มอบสิทธิประโยชน์พิเศษต่าง ๆ จากการใช้บริการให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล
ความสะดวกทั้งหมดนี้จะเป็นแรงดึงดูดหลักที่ทำให้บุคคลที่ไม่เคยใช้บริการแอป หรือ บุคคลที่ยังนิยมใช้จ่ายด้วยเงินสด สนใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอีโคซิสเต็มส์ที่ครบวงจร ซึ่งช่วยยกระดับชีวิตทางการเงินและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในทุกมิติ

  1. จาก Micro Lending สู่ Micro Investing
    ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาบริการสินเชื่อได้รับการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ ผ่านแอปการเงินครบวงจร เช่น สินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) บริการใช้ก่อนจ่ายทีหลัง (Buy Now Pay Later) เป็นต้น ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของบริการทางการเงิน เพื่อให้ตอบโจทย์ธุรกิจรายย่อย บุคคลที่ไม่ได้ทำงานประจำ รวมถึงบุคคลที่ไม่มีบัญชีธนาคาร (Unbanked) ให้สามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อได้ผ่านแอปการเงินครบวงจร หรือสามารถดำเนินการขอสินเชื่อได้ ณ จุดขายโดยไม่จำเป็นต้องมีสลิปเงินเดือน

นอกจากนี้ บริการด้านการลงทุนก็เป็นอีกหนึ่งบริการสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางการเงิน ผ่านการทำให้ทรัพย์สินที่มีอยู่งอกเงย โดยทรูมันนี่มองว่า อุปสรรคสำคัญในการลงทุนคือ การกำหนดยอดเงินขั้นต่ำในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น ทรูมันนี่จึงลดข้อจำกัดตรงนี้ลงสำหรับบริการด้านการลงทุน โดยให้สามารถลงทุนในกองทุนรวมได้แบบไม่มีขั้นต่ำ ซึ่งช่วยให้คนรุ่นใหม่ที่ยังมีเงินออมไม่เยอะ สามารถลงทุนได้สะดวกตามรายได้ที่มี อีกทั้งยังได้รับผลตอบแทนที่งอกเงย พร้อมติดตามผลตอบแทนได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปทรูมันนี่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครบวงจร ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นแอปการเงินครบวงจร เพิ่มบริการลงทุนในสินทรัพย์รูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นในเร็วๆ นี้ อย่าง หุ้นกู้ หุ้นต่างประเทศ และการลงทุนในทอง เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญที่ผู้ให้บริการพยายามเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินให้ครอบคลุมมากขึ้นสำหรับคนทุกกลุ่มในหลากหลายไลฟ์สไตล์ ที่นอกจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้วยังตอบโจทย์เรื่องการออมและการลงทุนที่เข้าถึงผู้คนทุกกลุ่มอีกด้วย

  1. ขยายบริการข้ามพรมแดน (Cross-Border) ไปสู่กลุ่มแรงงานต่างชาติ
    สถิติในไตรมาสที่ 1/2566 ของกระทรวงแรงงาน พบว่ามีแรงงานต่างชาติในไทยรวมกว่า 2,743,673 คน ถือเป็น 6.92% ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในไทย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งหากจะช่วยส่งเสริมการเข้าถึงทางการเงินให้ครอบคลุมผู้คนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง จึงควรส่งเสริมการเข้าถึงสำหรับกลุ่มแรงงานต่างชาติในประเทศไทยอย่างแรงงานจากพม่าและกัมพูชา ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่มีบัญชีธนาคาร (Unbanked) รวมถึงกลุ่มที่ยังพบอุปสรรคในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Underbanked) เสมอมา

โดยพวกเขายังมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง อย่าง การส่งเงินให้ครอบครัวในภูมิลำเนา (International Transfer) การจ่ายบิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในต่างประเทศ (Cross Border Bill Payment) หรือ การเติมเงินโทรศัพท์ (Cross Border Mobile Top-up) ไปยังเครือข่ายโทรศัพท์มือถือผู้ให้บริการในต่างประเทศ การที่ทรูมันนี่เปิดให้ชาวต่างชาติที่มาทำงานในไทยสามารถเปิดบัญชีได้ และตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานเหล่านี้ จึงช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่พวกเขาและสร้างการเข้าถึงบริการทางเงิน รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

  1. ยกระดับเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อเสริมเกราะความปลอดภัย
    ในปัจจุบันมิจฉาชีพออนไลน์กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความกังวลในการใช้จ่ายบริการการเงินดิจิทัล เพราะหวาดระแวงว่าตนอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ตลอดเวลา โดยที่ผ่านมา สถาบันทางการเงินและผู้ให้บริการด้านการเงินต่างมีการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมการปกป้องให้แก่ผู้ใช้บริการ เช่น การออกมาตรการสแกนหน้าก่อนโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมิจฉาชีพมีการพัฒนากลโกงและเครื่องมือต่าง ๆ ให้ฉลาดขึ้นตลอดเวลา สถาบันการเงินและผู้ให้บริการแอปการเงินครบวงจรจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ช่วยปกป้องผู้ใช้บริการได้อย่างรัดกุมยิ่งขึ้น โดยไม่คาดหวังให้ผู้ใช้งานเป็นฝ่ายป้องกันตนเองอยู่ฝ่ายเดียว

ในยุคดิจิทัล แอปการเงินครบวงจรอย่าง ทรูมันนี่ มีการพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อมาช่วยเสริมเกราะการป้องกันโดยสามารถประยุกต์ใช้ความชาญฉลาดของปัญญาประดิษฐ์ (AI - Artificial Intelligence) มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Engineering) ในการรวบรวม จำแนก และจดจำ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้บริการ และสามารถตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลชีวมิติ และ สถานที่ในการใช้งาน เพื่อตรวจจับการติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงหยุดการทำธุรกรรมที่มีความผิดปกติได้ในทันที โดยอิงจากประวัติการทำรายการย้อนหลังที่ผ่านมา นอกจากนี้ ผู้ให้บริการทางการเงินยังสามารถร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ในการจัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลของบุคคลที่กระทำความผิดด้านการเงิน ทำให้การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี ในการเดินหน้าเสริมสร้างอีโคซิสเต็มส์ของบริการด้านการเงินให้ครอบคลุมผู้คนทุกกลุ่ม ยังคงต้องคำนึงถึงอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ คือ การทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์พร้อมทั้งเทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้สามารถตอบโจทย์และทลายข้อจำกัดทางด้านการเงินสำหรับผู้บริโภค ที่นอกจากการเข้าถึงแล้วจะยังช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ด้านการเงินที่ดีให้แก่ผู้คน ซึ่ง ทรูมันนี่ จะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาบริการรวมไปถึงเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยเพื่อให้ผู้ใช้บริการของเรามั่นใจในทุกธุรกรรมทางการเงินบนทรูมันนี่ได้

ที่มา: เวเบอร์ แชนด์วิค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย