กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนเกษตรกรสร้างรายได้เสริม !! "มือใหม่" สมัครฝึกอาชีพเลี้ยงผึ้งโพรงที่ศูนย์ผึ้งเชียงใหม่รับหนาวดอกไม้บานได้แล้ววันนี้ - 5 ธ.ค.66

ศุกร์ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๖:๑๒
นายรพีทัศน์  อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้ เกิดความมั่นคงในอาชีพ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สนองนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ "ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้" โดยเน้นขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ (Area Based) สร้างสินค้าเกษตรมูลค่าสูง (High Value) ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า การทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Low Carbon) และใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital DOAE) ในการขับเคลื่อนส่งเสริมทักษะแก่พี่น้องเกษตรกร ทั้งนี้ หนึ่งในงานส่งเสริมการเกษตรที่สำคัญคือ การส่งเสริมการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ได้แก่ ผึ้ง ชันโรง ครั่ง และจิ้งหรีด สำหรับการฝึกอบรมอาชีพด้านแมลงเศรษฐกิจที่เปิดรับสมัครอยู่ในขณะนี้ คือ การฝึกอบรมอาชีพด้านแมลงเศรษฐกิจตามอัธยาศัย หลักสูตร "การเลี้ยงผึ้งโพรง สำหรับมือใหม่ สร้างรายได้ สร้างอาชีพ" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกรมส่งเสริมการเกษตร จัดฝึกอบรมโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรและผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้ารับการฝึกอบรมได้จนถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2566

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า การฝึกอบรมอาชีพด้านแมลงเศรษฐกิจตามอัธยาศัย หลักสูตร "การเลี้ยงผึ้งโพรง สำหรับมือใหม่ สร้างรายได้ สร้างอาชีพ" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะจัดอบรมทั้งรูปแบบในพื้นที่ และผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับการอบรมในพื้นที่ จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 13 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนการอบรมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting กรมส่งเสริมการเกษตร จะถ่ายทอดสัญญาณทางเพจเฟซบุ๊ก "ศูนย์ผึ้ง เชียงใหม่" และเพจเฟซบุ๊ก "กรมส่งเสริมการเกษตร" ในวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ พี่น้องเกษตรกร หรือผู้ที่ต้องการสมัครเข้าร่วมการอบรมดังกล่าว สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์และเลือกฝึกอบรมในรูปแบบที่ต้องการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้วยวิธีการสแกน QR Code ในสื่อประชาสัมพันธ์ประกาศเชิญชวนเข้ารับการฝึกอบรม หรือลงทะเบียนออนไลน์ได้ทางลิ้งค์ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScCbWtVsnTtQEYLQj3iGsaR0SxDtmaO-yFTQQFOhmv7icxnNg/viewform ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2566 และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 0 5200 1152 สำหรับหลักสูตรอื่น ๆ สามารถติดตามได้ที่หน้าเพจเฟซบุ๊ก "ศูนย์ผึ้ง เชียงใหม่" ต่อไป

สำหรับหลักสูตร "การเลี้ยงผึ้งโพรง สำหรับมือใหม่ สร้างรายได้ สร้างอาชีพ" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งนี้ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะและวิถีชีวิตของผึ้งโพรง วิธีการเลี้ยงผึ้งโพรงอย่างเหมาะสม ตลอดจนเทคนิคการเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งโพรงให้ได้คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปที่สนใจ มีโอกาสได้รับการฝึกอบรมอาชีพด้านแมลงเศรษฐกิจที่ตนสนใจในรูปแบบที่สะดวกและเหมาะสมสำหรับตนเอง มีการเพิ่มพูนทักษะความรู้ และเข้าใจถึงสถานการณ์หรือผลกระทบต่าง ๆ เพื่อใช้วางแผนการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นำความรู้ไปประยุกต์สู่การปฏิบัติ และพัฒนาอาชีพด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน ตลอดจนเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับทราบปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนแก้ไขและพัฒนางานด้านแมลงเศรษฐกิจให้ตรงจุดและทันต่อสถานการณ์ต่อไปในอนาคต

ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ