โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ภาคการเกษตรมีความรู้เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรและเกษตรอินทรีย์อย่างมีคุณค่า รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยด้านการเกษตร ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายเพื่อให้มีผู้ส่งเสริมและพัฒนาแปลงเกษตรในระดับท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคาร Admin ชั้น 5 วว. เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี
โอกาสนี้ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยตระหนักถึงการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์กับคุณภาพชีวิตและการศึกษาเพิ่มมากขึ้น มีการยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง และมีการบริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเกษตรอินทรีย์ได้ถูกกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตที่พึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี มาเป็นการพึ่งตนเองในการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สารอินทรีย์ทดแทนเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในทุกมิติ ทั้งมิติของอาหารปลอดภัย ความปลอดภัยของเกษตรกร การประหยัดค่าใช้จ่าย การฟื้นฟูนิเวศของดินและทรัพยากรธรรมชาติ และการสำนึกต่อผู้บริโภคด้านความปลอดภัย เพื่อลดการบริโภคและลดอัตราการเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษ ทั้งนี้ปัญหาหลักคือ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาแปลงเกษตรอย่างทั่วถึง และยังไม่ได้รับการประเมินแปลงเกษตรอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ไม่สามารถต่อยอดไปสู่การได้รับการตรวจประเมินรับรองมาตรฐานทางการเกษตรและเกษตรอินทรีย์ได้
"วว. ขอขอบคุณสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ที่ได้ให้ทุนอุดหนุนดำเนินโครงการนี้ และขอขอบคุณวิทยากร จากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ที่ได้สละเวลาอันมีค่าและให้เกียรติมาบรรยายในวันนี้ เพื่อร่วมกันถ่ายทอดและจัดการความรู้ การมีส่วนร่วมและการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้มีศักยภาพในการส่งเสริมและพัฒนาแปลงเกษตรของตนเองและชุมชน เป็นการพึ่งพาตนเอง ทั้งยังช่วยสร้างอาชีพและรายได้ ตลอดจนส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานทางการเกษตรของประเทศไทยให้ยั่งยืนต่อไป" รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. กล่าวในช่วงท้าย
ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย