นางพาเมลา กอนซาเลซ, ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัทซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด กล่าวว่า "เราภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ริเริ่มโครงการนี้ และขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมทุกท่านทั้ง ภาครัฐ และเอกชน ที่ช่วยให้โครงการนี้เกิดขึ้น โดยเราเชื่อว่าความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จะช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของพืช และส่งเสริมให้เกษตรกรไทยสามารถผลิตอาหารปลอดภัยได้อย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย (Good Agricultural Practice: GAP) ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลในการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยโครงการนี้ไม่เพียงช่วยแค่พื้นที่เกษตรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดูแลที่ดินให้ดีขึ้น ปกป้องสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับพี่น้องเกษตรกร และช่วยสร้างความมั่นใจในด้านคุณภาพ และความปลอดภัยของผลผลิตอีกด้วย"
นางสาวกล้วยไม้ นุชนิยม กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด กล่าวว่า "การร่วมมือกันในครั้งนี้ถือเป็นการรวมศักยภาพของแต่ละหน่วยงานมาช่วยในพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรให้ยั่งยืน ซึ่งในฐานะผู้นำด้านโซลูชันทางการเกษตรยุคใหม่ เราเล็งเห็นถึงปัญหาของเกษตรกรในการทำเกษตรกรรมที่ขาดการวางแผนที่ดี และเราพร้อมให้ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรกับพี่น้องเกษตรกร ในการใช้ผลิตภัณฑ์สารอาหารพืช การเก็บเกี่ยว การใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง ส่งเสริมให้เกษตรกรให้ทำการเกษตรอย่างปลอดภัย ยั่งยืน และให้ได้ผลผลิตสูงสุด ตลอดจนช่วยหาตลาดรับซื้อผลผลิตที่ได้มาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP) ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ"
นายพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย กล่าวว่า "การร่วมมือกันครั้งนี้ถือเป็นความมุ่งมั่นร่วมกัน ในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีความเชื่อมโยงกับการตลาด ซึ่งในฐานะที่เราดำเนินการพัฒนาชุมชนในเขตภาคเหนือมากว่า 38 ปี มีความคุ้นเคยในเขตพื้นที่ และมีความสัมพันธ์อันดีกับเกษตรกร ชุมชน เราพบว่าเกษตรกรยังขาดทางเลือกในการเพาะปลูก ขาดความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีรายได้ต่ำ รวมถึงมีข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงตลาด ซึ่งเราพร้อมที่จะเป็นผู้ประสานงานกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือให้เข้าร่วมโครงการฯนี้ ให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชผักอย่างปลอดภัยได้มาตรฐาน และขายผลผลิตให้กับโครงการฯ โดยมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน"
นายธิติพันธ์ บุญมี ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิว บ็อคซ์ พอยท์ จำกัด หรือ แอปพลิเคชั่น ฟาร์มบุ๊ค กล่าวว่า "เรารู้สึกยินดีที่มีส่วนช่วยในการยกระดับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยให้มีศักยภาพในการทำธุรกิจทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราเป็นแพลตฟอร์มทางธุรกิจเกษตรที่จะช่วยเชื่อมโยงผลผลิตจากเกษตรกรไปสู่ผู้ประกอบการหรือตลาดที่ต้องการผลผลิต รวมถึงเป็นแกนนำหลักเรื่องการขนส่งจากฟาร์มไปยังโรงคัดบรรจุ ส่งต่อไปยังห้างร้านและผู้บริโภคต่อไป นอกจากนี้ยังสนับสนุนและให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและธุรกิจที่จำเป็น ให้เกษตรกรสามารถจัดการการผลิตและทำธุรกิจเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
โดยโครงการฯนี้จะเริ่มจากกลุ่มเกษตรกร และสมาชิกในครัวเรือนทางภาคเหนือตอนบน จำนวน 300 ครัวเรือน 1,200 คน รวมพื้นที่โดยประมาณ 480 ไร่ โดยเริ่มนำร่องที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรก ทั้งนี้มีระยะเวลาดำเนินงานโครงการฯ 3 ปี เริ่มระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - เดือนกันยายน 2569
"เราชื่อว่าโครงการความร่วมมือในครั้งนี้ ไม่เพียงแค่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร แต่ยังช่วยขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเกษตรในประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับสากลมากยิ่งขึ้น สร้างความเชื่อมั่น กับทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค ตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP) ช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และความมั่นคงทางรายได้มากยิ่งขึ้น ในระบบนิเวศในพื้นที่ที่ดีขึ้นจากการทำการเกษตรแบบยั่งยืน" นางสาวกล้วยไม้ นุชนิยม กล่าวเสริม
ที่มา: 124 คอมมิวนิเคชันส คอนซัลติ้ง