ชีวาสุขวิทยาลัย พีไอเอ็ม จัดงาน "PIM WELLNESS SYMPOSIUM & HEALTH INNOVATION FAIR" เผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม งานวิจัย พร้อมเสวนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

พุธ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๗:๐๘
ชีวาสุขวิทยาลัย (College of Health & Wellness) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) จัดงาน "PIM WELLNESS SYMPOSIUM & HEALTH INNOVATION FAIR 2024" ย้ำวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการขยายองค์ความรู้เป็นสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นนำ พร้อมผนึกกำลังผู้บริหารองค์กรด้านการบริการสุขภาพ  นักวิชาการจากภาครัฐและเอกชน เผยเทรนด์การให้บริการสุขภาพในยุค Aging Society เทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์และนวัตกรรม การเตรียมแผนพัฒนาบุคลากรในระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะที่ตอบสนองต่อทิศทางและโอกาสของเทรนด์สุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อนความเป็นอยู่ที่ดีแก่สังคมอันเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศด้านสาธารณสุขในอนาคต

โดยมี คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ร่วมงาน นำโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ นายกสภา รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีอาวุโส สายวิชาการ คุณสยาม โชคสว่างวงศ์ รองอธิการบดีอาวุโส สายบริหาร และในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล รองอธิการบดี ฝ่ายวิทยาศาสตร์สุขภาพ และรักษาการคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ กล่าวแสดงวิสัยทัศน์แห่งการขยายองค์ความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพของพีไอเอ็ม โดยได้รับการตอบรับอย่างดีจากบุคลากรด้านการแพทย์และสุขภาพจากภาครัฐและเอกชน เครือข่ายโรงพยาบาล พันธมิตรการศึกษา สถานประกอบการชั้นนำ นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา ให้ความสนใจร่วมงานเกือบ 300 คน พร้อมบูธจัดแสดงองค์ความรู้และนวัตกรรมเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ เมื่อวันพุธที่15 พฤศจิกายน 2566 ณ หอประชุม Auditorium ชั้น16 อาคาร CP ALL Academy สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล รองอธิการบดี ฝ่ายวิทยาศาสตร์สุขภาพ และรักษาการคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวถึงวิสัยทัศน์แห่งการขยายองค์ความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพของพีไอเอ็มว่า "ชีวาสุขวิทยาลัยก่อตั้งเป็นปีที่ 3 ดำเนินงานตามวิสัยทัศน์เพื่อสร้างบุคลากรด้านสุขภาพและสุขภาวะ ทั้งระดับประกาศนียบัตรและระดับวิชาชีพตอบสนองความต้องการของสังคม ควบคู่กับการดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินร่วมด้วย ประกอบด้วย 1.การเรียนการสอนคณะพยาบาลศาสตร์หลักสูตรทางวิชาชีพ 4 ปี หลักสูตรทางวิชาชีพ 2.5 ปี (สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรีสาขาอื่น) และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล หรือ Practical Nursing Program ครั้งแรกกับการฝึกอบรม "ผู้ช่วยพยาบาลนักจัดการ" โดยมีงานรองรับทันทีหลังจบหลักสูตร เตรียมจะพร้อมเปิดรับสมัครในเดือนสิงหาคม 2567  2. PIM Care Academy ศูนย์ฝึกอบรมและบริการด้านสุขภาพโดยผู้เชี่ยวชาญของทางวิทยาลัย 3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรม (Center of Excellence Research & innovation) ผสมผสานองค์ความรู้เฉพาะทางหลายด้านเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชน อาทิ งานวิจัยด้านพยาบาลทุกสาขา ด้านสุขภาวะต่างๆ ทั้งในการพัฒนาความรู้ด้านการพยาบาล โดยเน้นการนำผลงานวิจัยไปใช้ไปจริง

วันนี้ทุกท่านจะได้เห็นผลการดำเนินงานของวิทยาลัยฯ จากบูธที่จัดแสดงภายในงาน ทั้งนี้ตลอดระยะ 3 ปีต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริมวิทยาลัยในด้านต่างๆ และช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานไปได้ด้วยดี ทำให้ชีวาสุขวิทยาลัยสามารถก้าวต่อไป สร้างบุคลากรการดูแลผู้สูงอายุ เช่น หลักสูตร Care Angel, Care Giver, การจัดอบรมนานาชาติ หลักสูตร SPA Manager ด้าน Wellness เป็นต้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณภาพตอบสนองต่อโลกยุคปัจจุบัน"

จากซ้ายไปขวา  ดร.ฐิติพงศ์ นันทาภิวัฒน์, รศ.นพ.กัมมาล กุมาร ปาวา, พญ.นาฏ ฟองสมุทรทางด้าน Executive Talk หัวข้อ "Thailand Health & Wellness Trends  2024" โดย ดร.ฐิติพงศ์ นันทาภิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง จำกัด ยกตัวอย่างเนื้อหาเทรนด์ Global Healthcare Ecosystem อาทิ การวางระบบสุขภาพ การเก็บข้อมูลและการสื่อสารอย่างปลอดภัย การเตรียมความพร้อมของโรคระบาดในอนาคต การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการระบบให้ยั่งยืนครอบคลุมประชากรมากที่สุดโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การเป็น Smart Hospital หรือสร้าง Healthcare Innovation ด้าน รศ.นพ.กัมมาล กุมาร ปาวา รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แชร์มุมมอง Integrative Longevity Science ศาสตร์แห่งการมีอายุยืนยาว ซึ่งประกอบด้วย การดูแลสุขภาพร่างกาย การสื่อสารระหว่างระบบร่างกาย การปรับตัวและสภาวะสมดุล การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ อันเป็นหัวใจที่จะส่งเสริมให้ผู้คนมีชีวิตคุณภาพยาวนานยิ่งขึ้นอีกด้วย จากนั้น พญ.นาฏ ฟองสมุทร Director - Health & Wellness บริษัท ลิฟเวล ลิฟวิ่ง จำกัด เสริมเนื้อหาสำคัญคือ เมื่อจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี จึงทำให้เกิด Silver Economy โดยสามารถสร้างธุรกิจเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าวแบบครบวงจร ดูแลทั้งจิตใจ ร่างกาย และไลฟ์สไตล์ ตลอดจนยกตัวอย่างนวัตกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อดูแลผู้สูงอายุ อาทิ อาหาร สภาพแวดล้อม การจัดการเรื่องเงิน การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ และกิจกรรมเพื่อความบันเทิง

สำหรับการเสวนาหัวข้อ "Silver Tsunami : A Golden Opportunity for Business & Digital Health Services" จาก พญ.อุไรรัตน์ ศิริวัฒน์เวชกุล Chief Medical Officer, The Aspen Tree, The Forestias by MQDC คุณพงษ์วุฒิ แสงประเสริฐ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายขายกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กร บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Chersery Home International) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกพร สุคำวัง อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มีประเด็นที่น่าสนใจเช่น ความต้องการของ Silver and Golden Age ในปัจจุบันมีแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยมีความพร้อม ความเชี่ยวชาญ และการบริการสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุทั้งด้าน Healthcare Service, Senior Living & Life- time care ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญสู่ Dream Destination for Retirement ด้านพานาโซนิคได้นำเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นมาช่วยรองรับธุรกิจผู้สูงอายุในประเทศไทย พร้อมยกตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจในประเทศญี่ปุ่น เช่น Fujisawa Sustainable Smart Town (FSST) ชุมชนอัจฉริยะอำนวยความสะดวกสบายให้กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งทำให้ทุกเจเนอเรชันทำกิจกรรมทำร่วมกัน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ครบวงจร อาทิ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลเด็ก ในขณะที่การวางแผนพัฒนาคนให้ตอบโจทย์ ตรงตามความต้องการสูงสุดของสถานประกอบการนั้นให้ความสำคัญกับสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทเตรียมบุคลากรให้ตอบโจทย์ ดังเช่น คณะพยาบาลศาสตร์ พีไอเอ็ม ได้ทำงานร่วมกับ โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery Home โครงการ The Aspen Tree, The Forestias by MQDC ในการ Tailor-made Program หรือ Tailor-made Curriculum บ่มเพาะผู้เรียนให้มีความเชี่ยวชาญทั้งความรู้และเก่งจากการฝึกปฏิบัติตามมาตรฐาน มีใจรักในวิชาชีพ มีจิตบริการ พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับรูปแบบของพีไอเอ็มนั่นคือ Work-based Education ซึ่งเป็นที่ยอมรับมาโดยตลอด

PIM WELLNESS SYMPOSIUM & HEALTH INNOVATION FAIR 2024 มุ่งหวังให้เป็นอีกหนึ่งงานที่แสดงถึงศักยภาพความพร้อมด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของพีไอเอ็ม ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วน ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการด้านสุขภาวะแก่คนทุกช่วงวัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เกิดการส่งเสริมนวัตกรรมงานวิจัยต่างๆ ให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ นวัตกรรมทางการแพทย์ยุคใหม่ รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการเชื่อมโยง Health & Wellness ของไทยสู่ตลาดธุรกิจสุขภาพทั่วโลก

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการ บูธประชาสัมพันธ์นำเสนอนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการทางสุขภาพจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ บริษัท ซินโนวา จำกัด (ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม Well'logy), บริษัท เฮลิก วาสเซอร์ ฟูดโปรดักส์ จำกัด (เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสำเร็จรูปตราจินเจน), ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิสประพัจน์ (ยาดมสมุนไพรไทยเฌอเอม), บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท อัพไรท์ ซิมมูเลชั่น จำกัด (ตัวแทนจำหน่ายสื่อการเรียนการสอนทางการแพทย์และการพยาบาล), บริษัท โฟร์ดี อี.เอ็ม. จำกัด (ตัวแทนจำหน่ายหุ่นจำลองสำหรับใช้ฝึกสอนทางการแพทย์และพยาบาล), บริษัท เค.พี.เอ็น.ซีเนียร์ โซลูชั่น จำกัด (โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery Home), ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส (eXta Plus)ในกลุ่มบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), แอปพลิเคชัน MorDee - หมอดี แพลตฟอร์มดูแลสุขภาพอัจฉริยะ โดยบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด, บริษัท นูทริ แมกซ์ อินโนเวชั่น จำกัด (ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม), บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) (คลินิกแพทย์ทางเลือก V Precision), บริษัท บิวตี้ดีไซน์เซ็นเตอร์ จำกัด (สถานเสริมความงามครบวงจร V DESIGN CLINIC), โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง, บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด (เครื่องดื่มวิตามินยันฮี), บริษัท มิตรไมตรีการแพทย์ จำกัด (คลินิกเวชกรรม), บริษัท ไทย เมดิเคิล กรุ๊ป จำกัด (ผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง), บริษัท ไทย เฮิร์บ เอนเตอร์ไพรซ์ จำกัด (ผลิตภัณฑ์เต่าเหยียบโลก), บริษัท แคสป้า ฟาร์มาซูติคอล (ประเทศไทย) จำกัด (ผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ไลฟ์รี่) และ บริษัท ฟอนเทียร่า แบรนด์ส (ประเทศไทย) จำกัด (ผลิตภัณฑ์นมแอนลีน) รวมทั้งบูธผลงานวิจัยของชีวาสุขวิทยาลัยอีกด้วย พร้อมกันนี้ยังมีบริษัทร่วมสนับสนุนของที่ระลึกในงานได้แก่ บริษัท เบอร์แทรม (1958) จำกัด สนับสนุนผลิตภัณฑ์ Peppermint Field Black Inhaler ยาดมเป๊ปเปอร์มิ้นท์ ฟิลด์ แบล็คอินเฮเลอร์ และ บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนผลิตภัณฑ์ น้ำดื่มวิตามิน B'lue

ที่มา: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ