นายแจ็คกี้ จาง ประธานบริษัทเดลต้า ประเทศไทย กล่าวว่า "เดลต้าได้มอบอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกมูลค่า 5.3 ล้านบาทให้กับห้องแลปพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสองแห่ง นอกจากนี้ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญระดับโลกของเรายังให้การสนับสนุนในการติดตั้งและการฝึกอบรม ซึ่งมีนักศึกษากว่า 60 คนที่เข้าร่วมห้องแลปเดลต้า Power E ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในปีแรกที่เปิดตัว เดลต้ายินดีต้อนรับนักศึกษามาใช้บริการห้องแลปสุดล้ำสมัยแห่งใหม่ของเรา และเริ่มต้นเส้นทางของการเรียนรู้ที่น่าตื่นเต้นไปกับโลกของพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์"
ภายในงานยังมีบุคคลสำคัญเข้าร่วมงานอีกหลายท่าน อาทิ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นายณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI) นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล รักษาการที่ปรึกษาอาวุโสด้านการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และ ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เพื่อร่วมกันสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรและอุตสาหกรรมประเทศไทยสู่เป้าหมาย 4.0
นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล รักษาการที่ปรึกษาอาวุโสด้านการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า "ในช่วง 9 เดือนแรกของปีพ.ศ. 2566 อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 171 โครงการ หรือคิดเป็น 11% ของโครงการทั้งหมด โดยมีมูลค่าสูงถึง 208,288 ล้านบาท หรือ 40% ของเงินลงทุนทั้งหมด ซึ่งโครงการเหล่านี้คาดว่าจะเริ่มกำลังการผลิตได้ภายใน 3 ปีข้างหน้า และต้องใช้บุคลากรมากกว่า 10,000 คน ดังนั้นห้องปฏิบัติการนี้จะเป็นประโยชน์ในการฝึกอบรมบุคลากรด้านวิศวกรรม เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย โดยบีโอไอชื่นชมการมีส่วนร่วมและความมุ่งมั่นของเดลต้าในการสนับสนุนแรงงานชาวไทย โดยเฉพาะวิศวกรชาวไทยให้สามารถพัฒนาทักษะด้านวิศกรรม นอกจากนี้เราเชื่อว่าการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีของเดลต้ายังช่วยพัฒนาขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมไทยได้อย่างเป็นดี"
ห้องแลปเดลต้า Power E เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับบริษัทที่มีความสำคัญในประเทศไทย เพื่อยกระดับทักษะทางเทคนิคให้กับผู้มีความสามารถด้านวิศวกรรมในท้องถิ่น โดยห้องแลปแห่งนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ด้วยอุปกรณ์ในการทดสอบที่ได้มาตรฐานระดับโลกเพื่อใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์และฝึกฝนทักษะขั้นสูงให้กับพวกเขา อีกทั้งห้องแลปทำหน้าที่เป็นศูนย์ความร่วมมือและนวัตกรรมด้านวิชาการอุตสาหกรรมของไทยสำหรับกิจกรรมการทำวิจัยในท้องถิ่นที่ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันความรู้และแนวคิดระหว่างเดลต้าและพันธมิตร เช่น สจล.
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 เดลต้าได้ร่วมมือกับ มจพ. และ สจล. ในโครงการเดลต้า ออโตเมชั่นอะคาเดมี (Delta Automation Academy) พร้อมร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยบูรพา
เดลต้าเป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve แห่งแรกของรัฐบาลในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและยานยนต์ยุคใหม่ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ในประเทศไทย เดลต้าได้มอบโอกาสพิเศษแก่วิศวกรในทุกขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยศูนย์ R&D พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย พร้อมการเชื่อมต่อที่ดีเยี่ยมกับศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาระดับโลก
ที่มา: วีโร่ พับลิค รีเลชั่นส์