คินเซนทริคเผยปัจจัยสู่ความสำเร็จขององค์กรคือ การมอบประสบการณ์และเอาใจใส่พนักงานอย่างสม่ำเสมอ ชูความสำคัญของผู้นำที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อน การสร้างพลังองค์กร ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก

ศุกร์ ๐๑ ธันวาคม ๒๐๒๓ ๑๕:๐๖
พร้อมประกาศรายชื่อ 16 องค์กรที่ได้รับรางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทยโดยคินเซนทริค ประจำปี 2566

คินเซนทริค (ประเทศไทย) บริษัทชั้นนำในการให้คำปรึกษาด้านบุคลากรและการพัฒนาองค์กร ในเครือสเปนเซอร์ สจวร์ต เผยผลการวิจัยเทรนด์ประสบการณ์พนักงานจากทั่วโลกประจำปี 2566 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การมอบประสบการณ์และให้ความใส่ใจพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่กับวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันและขับเคลื่อนโดยผู้นำองค์กร จะช่วยทำให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจดีขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยผลการวิจัยของคินเซนทริคยังชี้ให้เห็นว่า องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์การทำงานอย่างสม่ำเสมอของพนักงาน มีตัวเลขการเติบโตที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ทั้งในแง่ของผลประกอบการและความพึงพอใจของลูกค้า นอกจากนี้ คินเซนทริคยังระบุถึงเทรนด์ที่เป็นจุดสำคัญของการสร้างพลังในองค์กร พร้อมมุมมองจาก 16 องค์กรที่ได้รับรางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 โดยคินเซนทริค (Kincentric Best Employers Thailand 2023) ที่ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยหลักที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่ดุเดือดในปัจจุบัน

ดร. อดิศักดิ์ จันทรประภาเลิศ กรรมการผู้จัดการและพาร์ทเนอร์ คินเซนทริค (ประเทศไทย) กล่าวว่า "ในฐานะบริษัทที่ได้รับความไว้วางใจในการให้คำปรึกษาด้านบุคลากรและการพัฒนาองค์กรจากลูกค้าองค์กรครอบคลุมหลากหลายธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย คินเซนทริค จะทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อการให้คำแนะนำและแนวทางการปรับปรุงพัฒนาสำหรับลูกค้าแต่ละองค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนากลยุทธ์ด้านการบริหารบุคลากรผลประกอบการองค์กรโดยรวม รวมไปถึงการดูแลรักษาบุคลากรที่มีความสามารถโดดเด่นให้อยู่กับองค์กร จากผลการวิจัยซึ่งอ้างอิงจากเทรนด์ที่พบในกว่า 100 องค์กรชั้นนำในพอร์ตโฟลิโอของคินเซนทริค ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้นำธุรกิจและองค์กร จะต้องมองหาทุกโอกาสในการสร้างประสบการณ์สำหรับพนักงานเพื่อสร้างความได้เปรียบ และเป็นตัวช่วยปลดล็อกพลังในการขับเคลื่อนองค์กร ด้วยการปลูกฝังประสบการณ์การทำงานที่ดีผ่านการพูดคุยและแสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ในทุกขั้นตอนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานจะได้รับประสบการณ์การทำงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ การสร้างความสม่ำเสมอควบคู่ไปกับสร้างการเติบโตทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่ต้องใช้ทั้งระยะเวลาและความทุ่มเท นอกจากนี้ บริษัทที่ได้รับรางวัล 'สุดยอดนายจ้างดีเด่นโดยคินเซนทริค' ยังมีผลการประเมินในส่วนของผู้บริหารระดับสูงที่มากกว่าบริษัททั่วไปถึงร้อยละ 21 ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงานและแนวทางทิศทางธุรกิจที่ชัดเจน องค์กรที่มีผลการประเมินความพึงพอใจในตัวผู้บริหารระดับสูงและคณะบริหารทอยู่ในเกณฑ์สูง ยังมีผลประกอบการเป็นที่น่าพึงพอใจสูงกว่าบริษัททั่วไปถึงร้อยละ 76 อีกด้วย"

นางนภัส ศิริวรางกูร พาร์ทเนอร์ คินเซนทริค (ประเทศไทย) กล่าวว่า "ปี 2566 นับเป็นปีที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้นำในองค์กร เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องคิดหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อรักษาเป้าหมายทางธุรกิจผ่านพนักงานซึ่งเป็นแรงงานสำคัญ ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า มีพนักงานเพียงร้อยละ 51 เท่านั้นที่เชื่อว่า องค์กรได้มอบประสบการณ์การทำงานที่เทียบเท่ากับคำมั่นสัญญา เพราะความคาดหวังของพนักงานนั้นเพิ่มขึ้นเสมอ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่พนักงาน Gen Y และ Gen Z เป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วม (Engagement) ในองค์กรน้อยที่สุด สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างโอกาสในการพัฒนาอาชีพให้กับพนักงานกลุ่มดังกล่าว โดยองค์กรที่ได้รับเลือกให้เป็น 'สุดยอดนายจ้างดีเด่นโดยคินเซนทริค' สามารถสร้างการมีส่วนร่วมต่อองค์กรในกลุ่มพนักงานได้สูง ช่วยยืดระยะเวลาที่พนักงานอยู่ทำงานร่วมงานกับองค์กร และยังสร้างผลประกอบการได้สูงกว่า ทั้งนี้ การมอบประสบการณ์การทำงานที่สม่ำเสมอให้กับพนักงาน สามารถทำได้โดยคำนึงถึงปัจจัยหลัก3 ประการ ได้แก่: 1) ความสม่ำเสมอ (Consistency) 2) ความเชื่อมโยง (Connectivity) และ 3) ความกล้าของผู้บริหารระดับสูง (Courage from the C-Suite) ปัจจัยเหล่านี้ จะทำให้องค์กรสามารถก้าวไปสู่ทิศทางใหม่ๆ และช่วยให้ผู้นำสามารถสร้างความสำเร็จทางธุรกิจได้ในอีกหลากหลายมิติ รวมทั้งเพิ่มการมีส่วนร่วมต่อองค์กรให้กับพนักงาน ยกระดับความคล่องตัว ความเป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ และความคิดริเริ่มใหม่ๆ ที่ให้ความสำคัญกับพนักงาน"

  • ความสม่ำเสมอ (Consistency): ความสม่ำเสมอคือหัวใจสำคัญในการสร้างความสนใจในองค์กรและแรงจูงใจให้พนักงานอยู่ต่อ ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น ผู้นำองค์กรต้องตื่นตัวในการสร้างประสบการณ์การทำงานที่สม่ำเสมอและวางใจได้สำหรับพนักงานในทุกมิติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลประกอบการสูงสุดต่อไป การสร้างประสบการณ์การทำงานเชิงบวกที่สม่ำเสมอในองค์กรสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกัน เพื่อเชื่อมโยงและสร้างมุมมองประสบการณ์การทำงานให้กับบุคลากรทุกคน
  • ความเชื่อมโยง (Connectivity): ประสบการณ์ของพนักงานที่สอดคล้องกันถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันกลยุทธ์ทางธุรกิจ ผู้นำองค์กร รวมทั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (CHRO) จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์แบบองค์รวมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร เพื่อสร้างประสบการณ์ที่สม่ำเสมอและแตกต่างให้กับพนักงาน องค์กรชั้นนำ ตระหนักดีว่าวประสบการณ์การทำงานที่ดีของพนักงานเกิดขึ้นได้เองจากปัจจัยด้านกลยุทธ์และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างผลลัพธ์ในระยะยาวและสร้างแรงผลักดันในองค์กร โดยปกติแล้ว ความสนใจในองค์กรจะอยู่ในระดับที่สูงขึ้นเมื่อประสบการณ์ที่ดีของพนักงานสอดคล้องกับวัฒนธรรมและกลยุทธ์ขององค์กร
  • ความกล้าของผู้บริหารระดับสูง (Courage from the C-Suite): คณะผู้บริหารระดับสูงคือกุญแจสำคัญในการสร้างโอกาสในการเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีของพนักงานให้เป็นสินทรัพย์ทางธุรกิจ การสร้างประสบการณ์ที่ดีเชื่อมโยงให้แก่พนักงานเพื่อนำพาไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยผู้นำที่มีความกล้าหาญและทุ่มเท ทั้งนี้ ผู้นำองค์กรสามารถปลูกฝังความกล้าหาญให้กับผู้บริหารได้ผ่าน 3 ขั้นตอนประกอบด้วย
    • 1. บทบาทนำของผู้บริหารระดับสูง: ผู้บริหารระดับสูงจะต้องรับผิดชอบในการตั้งเป้าหมายที่สำคัญ ช่วยกำหนดทิศทางที่ชัดเจน และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของพนักงานให้มีความน่าสนใจอย่างสม่ำเสมอ
    • 2. มอบอำนาจในการกำหนดสิ่งต่าง ๆ ให้บุคลากรระดับผู้จัดการ: ผู้จัดการต้องการการสนับสนุนเพื่อการสร้างประสบการณ์ที่ตอบโจทย์การทำงานในแต่ละวัน โดยสอดคล้องกับทิศทางที่กำหนดโดยฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
    • 3. ผลักดันฝ่ายทรัพยากรบุคคลด้วยเป้าหมายองค์กร: ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ควรมีหน้าที่มากกว่าเรื่องพื้นฐาน และมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างประสบการณ์การทำงานที่ตอบโจทย์และสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ

นางปรียา สิงห์นฤหล้า ผู้จัดการ โครงการค้นหาสุดยอดนายจ้างดีเด่นของคินเซนทริค ประจำปี 2566 คินเซนทริค (ประเทศไทย) กล่าวเสริมว่า "รางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นของคินเซนทริค คือรางวัลเกียรติยศซึ่งเป็นที่รู้จักดีทั่วโลก และมีการจัดงานมอบรางวัลอันทรงเกียรติที่องค์กรต่างตั้งตารอความภาคภูมิใจที่ได้รับจาก 'รางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นของคินเซนทริค' รางวัลนี้ส่งผลเชิงบวกทั้งในด้านการสร้างขวัญกำลังใจของพนักงาน เสริมความมั่นใจและความภาคภูมิใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมภาพลักษณ์องค์กรให้เป็นที่รู้จักในหลากหลายธุรกิจ สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้า นักลงทุน และบุคลากรที่สนใจร่วมงาน ตลอดระยะเวลา 23 ปี ที่คินเซนทริคได้จัดโครงการมอบรางวัลให้กับสุดยอดนายจ้างดีเด่นในประเทศไทยมา เราได้รับความไว้วางใจจากมากกว่า 100 องค์กรทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ และจาก 16 องค์กรที่ได้รับรางวัลในปีนี้ เราได้วิเคราะห์ 4 พฤติกรรมที่เป็นเครื่องชี้วัดผลลัพธ์ทางธุรกิจ ครอบคลุมหัวข้อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผล กลยุทธ์การทำงานที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และความมั่นคงทางการเงิน โดย 4 พฤติกรรมที่เป็นเครื่องชี้วัดผลลัพธ์ทางธุรกิจ ได้แก่: 1) การมีความผูกพันต่อองค์กร (Engagement) 2) ความคล่องตัว (Agility) 3) ความเป็นผู้นำ (Engaging Leadership) และ 4) การให้ความสำคัญกับบุคลากร (Talent Focus)"

  • ความผูกพันต่อองค์กร (Engagement): พนักงานมีความรู้สึกเชิงบวกและแสดงความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับองค์กรในระยะยาว หรือพนักงานแสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มกำลัง
  • ความคล่องตัว (Agility): พนักงานมองว่าองค์กรมีความสามารถในการปรับตัวสูง มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม การให้เคารพในความแตกต่าง และการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปได้
  • ความเป็นผู้นำ (Engaging Leadership): ผู้นำรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับพนักงาน สร้างการมีส่วนร่วมต่อองค์กรผ่านการสื่อสารวิสัยทัศน์ของบริษัทอย่างชัดเจน และแสดงให้เห็นถึงคุณค่ารอบด้านที่ผู้นำยึดมั่น
  • การให้ความสำคัญกับบุคลากร (Talent Focus): พนักงานเชื่อว่าองค์กรมุ่งมั่นที่จะแสวงหาบุคลากรใหม่ๆ รวมทั้งรักษาบุคลากรที่มีอยู่ ผ่านการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ เสริมสร้างการเติบโตของพนักงานทั้งในส่วนตัวบุคคล และในสายงาน

โครงการสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทยโดยคินเซนทริค ประจำปี 2566 ได้ทำการคัดเลือกองค์กรจากกว่า 100 องค์กรที่เข้าร่วมโครงการ และขอแสดงความยินดีกับ 16 องค์กรที่ได้รับรางวัลในประเทศไทยปีนี้ ซึ่งทุกองค์กรมีความเป็นเลิศในการสร้างบรรยากาศการทำงานเชิงบวก เสริมสร้างการมีส่วนร่วมต่อองค์กรให้พนักงาน และประสบความสำเร็จในการสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจโดยใช้วิธีการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับคนเป็นหลัก โดยองค์กรที่ได้รับรางวัลในปีนี้ ได้แก่

  • บริษัท บีทูเอส จำกัด
  • บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และ บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด
  • บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด มินิมาร์เก็ต จำกัด หรือ ท้อปส์ เดลี่
  • บริษัท เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป จำกัด
  • บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด หรือ ซูเปอร์สปอร์ต
  • บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซเพรส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด
  • บริษัท ไฮเวย์ จำกัด บริษัทในกลุ่มธนาคารทิสโก้
  • บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท โอแลม (ประเทศไทย) จำกัด
  • ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ที่มา: ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ