รายงานเต็ดตรา แพ้ค อินเด็กซ์ 2023 เผยผู้บริโภคเล็งเห็นความเชื่อมโยง ระหว่างสุขภาพส่วนบุคคลและสวัสดิภาพของโลกมากขึ้น

ศุกร์ ๐๑ ธันวาคม ๒๐๒๓ ๑๗:๒๑
54% ของผู้บริโภคคำนึงถึงอนาคตของโลกเมื่อตัดสินใจเลือกอาหารและผู้บริโภคกว่า 70% เชื่อว่าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไม่ควรส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เต็ดตรา แพ้ค ผู้นำเสนอโซลูชันบรรจุภัณฑ์และกระบวนการผลิตอาหารชั้นนำของโลก เปิดเผยผลการศึกษาจากงานวิจัยระดับโลก เต็ดตรา แพ้ค อินเด็กซ์ 2023 (Tetra Pak Index 2023) จากการสำรวจใน 10 ประเทศโดยบริษัทวิจัยตลาด IPSOS รายงานระบุว่าผู้บริโภคในปัจจุบันมีความจริงจังในการพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับสุขภาพส่วนบุคคลเมื่อเลือกซื้ออาหาร โดยผู้บริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ที่เรียกกันว่า 'Climatarians' หรือกลุ่มผู้บริโภคเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศนั้น พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินดื่มของตนเองเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของโลก

ตลาดสำหรับอาหารเพื่อสุขภาพได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคเนื่องจากมีความตื่นตัวในการแสวงหาผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพร่างกายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีมุมมองแบบองค์รวมมากขึ้น โดย 70% ของผู้บริโภคเชื่อว่าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไม่ควรส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่อีก 54% ของผู้บริโภค ยินดีที่จะรับผิดชอบต่อโลกโดยปรับเปลี่ยนมื้ออาหารของตนเพื่อโลกที่น่าอยู่ขึ้น

การให้ความสำคัญกับประเด็นทั้งสองประการนี้สะท้อนจากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ตั้งใจลดปริมาณการรับประทานเนื้อสัตว์ลง หรือที่เรียกอีกอย่างว่า "ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น" (flexitarians) โดยมีผู้บริโภคเกือบครึ่งหนึ่งชี้ว่าพวกเขาตั้งใจลดการบริโภคเนื้อสัตว์หรือไม่บริโภคเนื้อสัตว์เลย จากรายงานฉบับนี้พบว่าแนวโน้มในการลดการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจถึง 56% ระบุเหตุผลด้านสุขภาพในการเลือกรับประทานมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น (flexitarian) มังสวิรัติปลา (pescatarian) มังสวิรัติแบบเคร่งครัด หรือวีแกน (vegetarian) โดยมากกว่าหนึ่งในสาม (36%) ยังระบุว่าแรงจูงใจหลักมาจากการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ได้เปิดเผยว่าความสะดวกสบายไม่ใช่เรื่องหลักของผู้บริโภคอีกต่อไป จากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติดังกล่าวที่หยั่งรากลึกมายาวนาน ได้สะท้อนให้เห็นว่า 70% ของผู้บริโภคยอมสละความสะดวกสบายเพื่อผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ อีกทั้งวิกฤตค่าครองชีพไม่ได้มีผลต่อความมุ่งมั่นเพื่อสุขภาพแต่อย่างใด โดยมีผู้บริโภคเพียง 17% เท่านั้นที่ยอมละเว้นอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และมีการคาดการณ์ว่าเทรนด์การบริโภคเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ (climatarian) จะเติบโตขึ้นอีกด้วย เนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้นนั้นเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง โดยผู้บริโภคคาดหวังให้ผู้ผลิตอาหารส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ทั้งดีต่อสุขภาพและคำนึงถึงความยั่งยืนควบคู่กันไป

จากรายงานการศึกษาและวิจัยระดับโลกฉบับนี้ เห็นได้ชัดว่าเรื่องสุขภาพยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้บริโภคโดยมีความเชื่อมโยงกับเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ 3 ประการที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ดังนี้:

  • สุขภาพสำคัญยิ่งกว่าเดิม: ผู้บริโภค 70% ระบุว่าสุขภาพมีความสำคัญต่อพวกเขามากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดย 2 ใน 3 ใส่ใจสิ่งที่พวกเขากินและดื่มมากขึ้น และ 70% กล่าวว่ารู้สึกดีขึ้นจริงหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว
  • การเปลี่ยนแปลงต้องมาพร้อมรสชาติที่ดี: ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นด้านสุขภาพ เปี่ยมด้วยโภชนาการ หรือใส่ใจความยั่งยืนแค่ไหนก็ตาม ผู้บริโภคยังคงต้องการอาหารรสชาติที่ดี การสร้างดุลยภาพของต้นทุนจะกลายเป็นกุญแจสำคัญของผลิตภัณฑ์อาหารยุคใหม่ ซึ่งคาดการณ์ว่าเราอาจได้เห็นความเคลื่อนไหวนี้ภายในปี 2568
  • ความตึงเครียดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม: ราว 2 ใน 3 (65%) เชื่อว่าเทคโนโลยีจะทวีความสำคัญต่อสุขภาพมากขึ้น และมีบทบาทในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น (62%) แต่เกือบครึ่งหนึ่ง (48%) คิดว่ามีนวัตกรรมอาหารที่เกิดขึ้นมากเกินไปและกังวลว่าเรื่องนี้จะอาจไม่ส่งผลดีต่อพวกเขา

คุณสุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "ในประเทศไทยมีสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดว่าผู้คนหันมาให้ความใส่ใจในการเลือกบริโภคมากขึ้น และในขณะเดียวกันเรากำลังเผชิญหน้ากับความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคชาวไทยเป็นจำนวนมากตระหนักถึงความสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ต่อสุขภาพและความยั่งยืน สิ่งสำคัญอีกประเด็นก็คือการเปลี่ยนแปลงใดๆ นั้นต้องมาพร้อมรสชาติที่สอดคล้องไปกับรสนิยมของผู้บริโภคเสมอ เพราะไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นด้านสุขภาพ หรือใส่ใจความยั่งยืนเพียงใดก็ตาม ผู้บริโภคยังคงต้องการอาหารที่มีรสชาติตรงใจ"

คุณรัตนศิริ ติลกสกุลชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "เต็ดตรา แพ้ค มีการดำเนินงานมาอย่างยาวนานในระดับโลกที่คำนึงถึงการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คน การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น รายงานเต็ดตรา แพ้ค อินเด็กซ์ ฉบับล่าสุด ได้ย้ำให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมของการนำเสนอปัญหาเร่งด่วน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ"

"บริษัทของเรายังคงมุ่งมั่นดำเนินการต่อไปเพื่อลดปริมาณขยะอาหารและผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ โดยหาวิธีนำส่วนประกอบที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้จากกระบวนการการผลิตอาหารกลับมาใช้ใหม่ เดินหน้าสำรวจแหล่งโปรตีนทางเลือก และนำเสนอโซลูชันด้านเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับความท้าทายที่เรากำลังเผชิญอยู่ในระบบอาหารทั่วโลกในปัจจุบัน"

ที่มา: Midas PR

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version