นักเรียนทุน ก.พ. สังกัดกระทรวงพลังงานนำเสนอแผนการลดคาร์บอน (De-Carbonization) จากการอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พุธ ๐๖ ธันวาคม ๒๐๒๓ ๑๕:๐๖
ศูนย์นวพาณิชย์ ("ศูนย์คราฟแลป") ภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับความไว้วางใจจากสำนักงาน ก.พ. และกระทรวงพลังงานในการจัดอบรมแบบมุ่งเป้า "โครงการทุนฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (Strategy-based) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2565:  กระทรวงพลังงาน" โดยมี ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์เป็นหัวหน้าโครงการ

ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ข้าราชการพลเรือนในกำกับของกระทรวงพลังงานผู้ได้รับทุน ก.พ. ได้ประมวลความรู้ ความเข้าใจ จากการอบรม การเข้าดูงาน ฝึกปฏิบัติ และพัฒนาแผนปฏิบัติการการลดคาร์บอนระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2568 - 2572) และนำเสนอโครงการเดี่ยวจำนวน 12 โครงการประกอบแผนปฏิบัติการการลดคาร์บอนระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2568 - 2572) โดยผู้นำเสนอมีรายชื่อดังนี้

  • นางสาวจารุวรรณ พิพัฒน์พุทธพันธ์
  • นางจิรวดี นิจสุนกิจ
  • นางสาวนุชจรีย์ น้อยวานิช
  • นางวริยา ทองธนากูลเศรษฐ์
  • นางสาวธัญชนก เชิดชู
  • นายศุภชัย สำเภา
  • นางสาวณัฎฐวี รักษาแก้ว
  • นางสาวภัครัมภา เมืองลอย
  • นายสยาม มัชณิมา
  • นางสาวสุกัญญา นันตา
  • นางสาวปุลิน ธำรงค์ลักษ์
  • นายกำธร นวเลิศปัญญา

ในการนำเสนอครั้งนี้ ได้รับเกียรติ์จาก นายชำนาญ กายประสิทธิ์ รองอธิบลดีกระทรวงพลังงาน นายไพรัช เพชรล้ำ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ผศ.ดร. กูสกานา กูบาฮา คณบดี คณะพลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผศ. ดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์ คณบดี บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม ดร. อานนท์ ทับเที่ยง ที่ปรึกษาโครงการและวิทยากร ผศ. ดร. สิริลักษณ์ เจียรากร ที่ปรึกษาโครงการและวิทยากร นายวรินทร ยอดอาหาร นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษนางสาวทัศวรรณ พึ่งธรรม นักทรัพยากรบุคคล นายภูมิ จันทะพันธ์ เลขานุการรองอธิบดี มาเป็นกรรมการประเมินแผนและโครงการในครั้งนี้

ผลการนำเสนอเป็นที่ประจักษ์ถึงความสามารถของผู้เข้ารับการอบรม และเห็นแนวทางการลดคาร์บอนของประเทศในส่วนพลังงานได้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ การร่วมลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และการพัฒนาฐานรากด้านการเกษตรและพลังงาน เป็นไปได้ตามเป้าหมายของข้อผูกพันระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับแผนพลังงานและการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ

หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/

ที่มา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ