วว. ผนึกกำลังเอกชน วิจัย พัฒนาแพลตฟอร์มประเมินปริมาตร/กักเก็บคาร์บอนในพืชเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

พฤหัส ๐๗ ธันวาคม ๒๐๒๓ ๒๑:๓๓
ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้แทน วว. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ นายธีร์พัชร์ บุญดำรงสินธุ์ กรรมการ บริษัท เอนเนอยี่ โปรเฟสชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่สนับสนุนและส่งเสริมการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในการศึกษาวิจัยด้านการตรวจวัดและประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพืชเศรษฐกิจทั้งภาคป่าไม้และภาคการเกษตร โดยมุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในการร่วมมือดำเนินโครงการที่ปรึกษา การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเทคโนโลยีในการสร้างระบบปฏิบัติการ (Platform) เพื่อประเมินปริมาตร การทดสอบค่ากักเก็บคาร์บอนในพืชเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ และการกักเก็บคาร์บอนส่วนเหนือดินของพืชเศรษฐกิจทั้งภาคป่าไม้และการเกษตร ดำเนินการศึกษาวิจัยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการจัดการพื้นที่และการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธีในพืชไร่ รวมถึงการศึกษาและเสนอความเป็นไปได้ของโมเดลการเพิ่มมูลค่าจากการประเมินค่าการกักเก็บคาร์บอนในผลผลิตพืชไร่ในระหว่างการปลูก และโมเดลการจัดการพื้นที่เพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บคาร์บอนและเสนอการรับรองระเบียบวิธีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพืชเศรษฐกิจแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสร้างความร่วมมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพืชเศรษฐกิจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

โอกาสนี้ นายสมพร มั่งมี กรรมการ วว. พร้อมด้วย นายเฉลิมชัย จีระพันธุ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) และนักวิจัย วว. ร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดี ในวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม กวท. ชั้.น 8 อาคาร RD 1 วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี

รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า วว. มีเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจนในด้านการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยเฉพาะด้านชีวภาพ ความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งสอดคล้องกับกระแสโลกในด้านสิ่งแวดล้อม และการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม โดยทิศทางในการดำเนินงานด้านวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งเป็นการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงการพัฒนาด้านงานวิจัยของประเทศให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อศึกษาวิจัย การตรวจวัด และการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพืชเศรษฐกิจทั้งภาคป่าไม้และภาคการเกษตร การทดสอบค่าการกักเก็บคาร์บอนในพืชเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ ตลอดจนการสร้างความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการประเมินการกักเก็บดังกล่าวแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความร่วมมือด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างสูงสุดและขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ