เต็ดตรา แพ้ค เผยแนวทางการลงมือปฎิบัติเพื่อมุ่งสู่การปฎิรูประบบอาหาร เปิดตัวแผนงานแบบครอบคลุมภายหลังวันอาหาร การเกษตร และน้ำครั้งแรกของ COP28

ศุกร์ ๑๕ ธันวาคม ๒๐๒๓ ๐๘:๓๖
เต็ดตรา แพ้ค ประกาศแนวทางการลงมือปฎิบัติที่ครอบคลุมในการขับเคลื่อนการปฎิรูประบบอาหารที่มีความปลอดภัย ยั่งยืน และยืดหยุ่นมากขึ้น[1] ผ่านบทบาทผู้นำในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและบรรจุภัณฑ์เพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นับเป็นการต่อยอดการเป็นผู้นำของบริษัทในคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมระดับโลก (Global Dairy Processing Task Force) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มด้านสภาพภูมิอากาศ 'Pathways to Dairy Net Zero' โดยมุ่งเป้าในการสำรวจระบบและเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม

ชาร์ลส์ แบรนด์ รองประธานบริหารฝ่ายโซลูชันและเครื่องจักรในกระบวนการผลิต ของเต็ดตรา แพ้ค ให้ความเห็นว่า "การปฎิรูประบบอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างอนาคตที่มีศักยภาพ ทุกวันนี้ ระบบดังกล่าวนับว่ายังขาดประสิทธิภาพและไม่มีความยั่งยืน ทั้งยังมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสาม (34%) ทั่วโลก[2]  และในขณะเดียวกัน หนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตออกมายังคงสูญเปล่าหรือเหลือทิ้ง[3] นอกจากนี้ ระบบอาหารยังไม่ครอบคลุมความต้องการของผู้คน โดย 9% ของประชากรทั่วโลกต้องเผชิญกับความหิวโหย[4] และ 30% กำลังประสบกับการขาดแคลนอาหาร[5] ยิ่งไปกว่านั้น ห่วงโซ่คุณค่าทางอาหารยังเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการทำลายป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีการประเมินว่าอุตสาหกรรมนี้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เป็นอันดับสองรองจากเรื่องพลังงาน ปัญหาเรื่องอาหารไม่ใช่สิ่งที่เราจะสามารถมองข้ามไปได้ เราจึงต้องปรับเปลี่ยนระบบเหล่านี้เพื่อรับรองถึงความปลอดภัย ความยืดหยุ่น และความยั่งยืนที่มากขึ้น"

เต็ดตรา แพ้ค ได้กำหนดแนวทางสำคัญ 4 ประการ ในการเร่งการปฎิรูประบบอาหาร และบริษัทยังได้จัดทำแผนงานและเป้าหมายที่วัดผลได้ในแต่ละแนวทางของการลงมือปฎิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับการปฎิรูปด้านอาหารที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ที่ดินที่ Food and Land Use Coalition ได้เสนอไว้[6] ดังนี้

  • สร้างการเปลี่ยนแปลงสู่ผลิตภัณฑ์นมที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น[7] ด้วยการจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม พร้อมกับสนับสนุนผลผลิต การสร้างผลกำไร และความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อย
  • สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้ได้แหล่งอาหารใหม่ ๆ อาทิ โดยสร้างความหลากหลายด้วยแหล่งโปรตีนทางเลือก เพื่อมาเป็นส่วนเสริมของนมและแหล่งโปรตีนจากสัตว์อื่นๆ
  • ลดการสูญเสียและขยะอาหาร ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีแปรรูปอาหารที่ช่วยลดขยะอาหารระหว่างการผลิต รวมถึงโซลูชันใหม่ ๆ เพื่อหาวิธีนำส่วนประกอบที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้จากกระบวนการการผลิตอาหารกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนั้น โซลูชันบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อยังช่วยลดขยะอาหารด้วยการยืดอายุผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่ายให้เก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใช้สารกันบูดหรือแช่เย็น ช่วยให้สามารถจัดส่งผลิตภัณฑ์ไปได้อย่างกว้างขวาง แม้ในพื้นที่ห่างไกลที่มีโครงสร้างพื้นฐานของการขนส่งและเก็บรักษาด้วยการแช่เย็นไม่เพียงพอ[8]
  • เพิ่มการเข้าถึงโภชนาการที่ปลอดภัย[9] ผ่านบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีความยั่งยืน[10] ด้วยการออกแบบและปรับใช้โซลูชันบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีความยั่งยืน ซึ่งได้ช่วยรักษาคุณภาพอาหารและทำให้มีการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้น

การประกาศแนวทางนี้มีขึ้นควบคู่ไปกับการเผยแพร่เอกสารนำเสนอข้อมูล (White Paper) ของเต็ดตรา แพ้ค ที่จัดทำร่วมกับ EY Parthenon ซึ่งศึกษาลงลึกถึงข้อกำหนดหลักของระบบอาหาร มุ่งผลักดันความยั่งยืนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของทั้งผู้คนและโลกใบนี้ภายในปี 2583

ชาลส์ ให้ข้อสรุปว่า "สำหรับเต็ดตรา แพ้ค แล้ว เราไม่ได้แค่ให้คำมั่นสัญญาไว้เท่านั้น เรากำลังผลักดันให้เกิดวาระการเปลี่ยนแปลงโดยยึดถือหลักฐานประกอบที่ชัดเจน เราตอบรับเข้าร่วมกับภาคเอกชนด้วยการแสดงให้เห็นถึงทั้งความมุ่งมั่นและแผนงานเชิงกลยุทธ์ในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ไม่ว่าจะในที่ประชุม COP28 หรือที่ใด เราภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ลูกค้า และผู้นำทางความคิดรายสำคัญ เพื่อช่วยปฎิรูประบบอาหารและขับเคลื่อนไปสู่แนวทางที่ก้าวหน้าต่อไป"

[1] คำจำกัดความ: ระบบอาหารคือ ระบบที่ครอบคลุมองค์ประกอบทั้งหมด (สิ่งแวดล้อม ผู้คน ปัจจัยการผลิต กระบวนการ โครงสร้างพื้นฐาน สถาบัน ตลาด และการค้า) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การแปรรูป การจำหน่ายและการตลาด การจัดเตรียมและการบริโภคอาหาร และผลผลิตจากกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งรวมไปถึงผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่มา: คณะทำงานระดับสูงด้านความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการโลก (HLTF) (un.org)

[2] อาหารธรรมชาติ (vol 2, no- 198-209). คริปปา และคณะ. (2564): "ระบบอาหารคิดเป็นหนึ่งในสามของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกระทำของมนุษย์". https://www.nature.com/articles/s43016-021-00225-9

[3] https://www.wfp.org/stories/5-facts-about-food-waste-and-hunger#:~:text=One%2Dthird%20of%20food%20produced,worth%20approximately%20US%241%20trillion

[4] องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ. สถานะความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในโลก. https://www.fao.org/3/cc3017en/cc3017en.pdf  (2566).

[5] องค์การอนามัยโลก. ภาวะทุพโภชนาการ. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/malnutrition

[6] Food and Land Use Coalition | World Resources Institute (wri.org)

[7] คำจำกัดความ: ผลิตภัณฑ์นมที่มีความยั่งยืนหมายถึง อุตสาหกรรมนมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงผ่านการนำเทคโนโลยี เครื่องมือ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมาใช้ในการผลิตและการแปรรูป เพื่อปกป้องความมั่นคงทางโภชนาการและเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนนับพันล้านทั่วโลกไปพร้อมกับสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับเราทุกคน https://globaldairyplatform.com/sustainability

[8]การผสมผสานระหว่างการแปรรูปแบบปลอดเชื้อกับกล่องบรรจุเครื่องดื่มช่วยเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่ายได้นานถึง 12 เดือน โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารกันบูดหรือจัดเก็บไว้ในตู้เย็นที่ใช้พลังงานสูง

[9] คำจำกัดความ: ข้อมูลโภชนาการของอาหารสำเร็จรูปที่ได้รับการประเมินตามระบบ Health Star Rating, Health Star Rating

[10] บรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนหมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านการใช้งานอันมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ ซึ่งทำจากวัสดุรีไซเคิลหรือทรัพยากรทดแทนได้ที่จัดหามาอย่างมีความรับผิดชอบ สามารถนำไปรีไซเคิลได้ และปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำในระหว่างการผลิต การแปรรูป การขนส่ง และการรีไซเคิล

ที่มา: มิดัส พีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO