รัฐบาลประจำจังหวัดอิบารากิ ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยและความมั่นคงกลุ่ม G7 ประจำปี 2566 ในเมืองมิโตะ ได้เผยแพร่วิดีโอเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 โดยมีผู้นำภาคเกษตรกรรมและการประมงในท้องถิ่นที่ใช้ความพยายามอย่างแข็งขัน เช่นเดียวกับข้อความของผู้ว่าราชการจังหวัดอิบารากิ
จังหวัดอิบารากิมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และทะเลกว้างใหญ่ มีความเจริญรุ่งเรืองด้านเกษตรกรรมและการประมง รวมถึงตั้งอยู่ใกล้กับเมืองหลวงของญี่ปุ่นอย่างกรุงโตเกียว และได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่ดีเยี่ยม จึงส่งผลให้จังหวัดอิบารากิมีบทบาทสำคัญในการจัดหาอาหารให้กับพื้นที่มหานครของกรุงโตเกียว และวิดีโอที่ปล่อยออกมาก็สะท้อนให้เห็นเรื่องราวเหล่านี้
วิดีโอ "เมนูต่อไปที่จะปรากฏบนโต๊ะอาหารเย็นในเร็ว ๆ นี้ มันเทศหวานสุด ๆ จากอิบารากิ และปลาที่เลี้ยงโดยเทคโนโลยีเอไอ" (Coming to your dinner table soon? Ibaraki's extra sweet potatoes, AI farmed fish): https://www.youtube.com/watch?v=y8QBj1iKyzM
รูปภาพ:
https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M107964/202312063911/_prw_PI3fl_0ufr5kJ2.png
https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M107964/202312063911/_prw_PI4fl_vDadRplD.png
ไฮไลต์
สู่โต๊ะรับประทานอาหารของโลก: การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของอิบารากิเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าในช่วง 6 ปี:
อิบารากิมีผลผลิตรวมทางการเกษตรมากเป็นอันดับสองของประเทศเมื่อประเมินในระดับจังหวัด และเมื่อตลาดในประเทศมีแนวโน้มว่าจะหดตัวลงเพราะประชากรมีจำนวนลดลง ทางจังหวัดอิบารากิซึ่งเน้นเนื้อวัว "ฮิตาชิ" ข้าว ผลไม้ และผักเป็นสินค้าหลัก ก็กำลังสำรวจตลาดต่างประเทศและส่งเสริมการส่งออก นอกจากนี้ การส่งออกมันเทศเติบโตอย่างรวดเร็วอันเป็นผลจากความต้องการมันเทศอบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยภูมิภาคนาเมะกะตะทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดอิบารากินั้นเป็นผู้ผลิตมันเทศชั้นนำในญี่ปุ่น
อุตสาหกรรมประมงของอิบารากิต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยเทคโนโลยีล่าสุด:
จังหวัดอิบารากิซึ่งมีพื้นที่ตกปลาอันอุดมสมบูรณ์ เป็นจังหวัดที่มีผลผลิตปลาทะเลมากเป็นอันดับสองในญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2564 อิบารากิมีผลผลิตปลาแมคเคอเรลมากที่สุดของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม จังหวัดอิบารากิวิเคราะห์ว่า ภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสภาพแวดล้อมทางทะเลเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจับปลาได้น้อยลง
-เปิดตัวโครงการตรวจสอบการเพาะเลี้ยงปลาแมคเคอเรล โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอุปกรณ์ให้อาหารปลาอัตโนมัติ พร้อมตรวจสอบสภาพปลา และอื่น ๆ
-เปิดตัวแบรนด์ใหม่อย่าง "คาซึมิกาอุระ คาเวียร์" (Kasumigaura Caviar) ที่ใช้ปลาสเตอร์เจียนเพาะเลี้ยง โดยการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีข้อได้เปรียบมากกว่าการจับปลาในมหาสมุทร เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยกว่า ทั้งยังดำเนินการบนบกโดยใช้น้ำจืดได้ด้วย
แผนที่: https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M107964/202312063911/_prw_PI5fl_Z16wAkO2.png
ที่มา: รัฐบาลจังหวัดอิบารากิ