GUNKULสุดยอด! เซ็นสัญญาขายไฟโซลาร์ฟาร์ม 8 โปรเจคกับกฟผ. ขนาดกำลังผลิตรวม 429.6 MW คาดเสียบปลั๊กจ่ายไฟปี 2569 - 2573

พฤหัส ๒๑ ธันวาคม ๒๐๒๓ ๑๐:๔๖
GUNKULสุดยอด! เซ็นสัญญาขายไฟโซลาร์ฟาร์ม 8 โปรเจคกับกฟผ. ขนาดกำลังผลิตรวม 429.6 MW คาดเสียบปลั๊กจ่ายไฟปี 2569 - 2573 หนุนกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาเพิ่มขึ้นเป็น 1,045.15 MW

บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) เผยสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ.ในส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินกับกฟผ. จำนวน 8 โครงการ ขนาดกำลังการผลิต 429.6 เมกะวัตต์ คาดทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2569 - 2573 ส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาโดยรวมสูงขึ้นเป็น 1,045.15 เมกะวัตต์ จากเดิม 615.55 เมกะวัตต์ เติบโตเพิ่มขึ้น 70%

นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า ตามที่กลุ่มบริษัทฯ ได้ยื่นข้อเสนอตามประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ("กกพ.") และบริษัทฯ ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินโครงการตามประกาศของ กกพ. เรื่อง รายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 5 เมษายน 2566 ("ประกาศ") นั้น

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 กลุ่มบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นทางตรงผ่านบริษัท กันกุล โซลาร์ พาวเวอร์เจน จำกัด, บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 2 จำกัด และบริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 9 จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 100 ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ("PPA") กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ("กฟผ") เป็นระยะเวลา 25 ปี สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar farms) จำนวนรวม 8 โครงการ มีขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 429.6 เมกะวัตต์ ซึ่งมีกำหนดการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ระหว่างปี 2569 - 2573 ทั้งนี้ เมื่อโครงการดังกล่าวสามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ครบตามกำหนด จะส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาโดยรวมสูงขึ้นเป็น 1,045.15 เมกะวัตต์ จากเดิม 615.55 เมกะวัตต์ เติบโตขึ้น 70% ซึ่งรายละเอียดของแต่ละโครงการประกอบไปด้วย

  1. บริษัท กันกุล โซลาร์ พาวเวอร์เจน จำกัด กำลังการผลิต 60 เมกะวัตต์
  2. บริษัท กันกุล โซลาร์ พาวเวอร์เจน จำกัด กำลังการผลิต 70 เมกะวัตต์
  3. บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 2 จำกัด กำลังการผลิต 46.6 เมกะวัตต์
  4. บริษัท กันกุล โซลาร์ พาวเวอร์เจน จำกัด กำลังการผลิต 46.6 เมกะวัตต์
  5. บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 2 จำกัด กำลังการผลิต 77.6 เมกะวัตต์
  6. บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 9 จำกัด กำลังการผลิต 24.2 เมกะวัตต์
  7. บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 9 จำกัด กำลังการผลิต 63.0 เมกะวัตต์
  8. บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 2 จำกัด กำลังการผลิต 41.6 เมกะวัตต์

"การพัฒนาโครงการดังกล่าวเป็นไปตามแผนของกลุ่มบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มพอร์ตโฟลิโอพลังงานหมุนเวียนให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น โดยในอนาคตจะมีการทยอยลงนามสัญญาเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยต่อยอดการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืนให้กับกลุ่มบริษัทฯ ภายใต้พันธกิจที่พร้อมให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ต่อทั้งลูกค้า ชุมชน และสังคม"นางสาวโศภชา กล่าวในที่สุด

ที่มา: ไออาร์เน็ตเวิร์ค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๔๖ MEDEZE ต้อนรับสถาบันนักลงทุน CSI เยี่ยมชมบริษัท
๑๓:๔๙ บริษัท อินเตอร์ไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด รับประกาศนียบัตร เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประจำปี 2567
๑๓:๔๓ AJA จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ผถห. โหวตผ่านทุกวาระ พร้อมเปิดตัวกลยุทธ์ใหม่ รีแบรนด์ AJ EV BIKE สู่
๑๓:๕๑ SCAP ตั้งเป้าระดมทุนโดยการขายหุ้นกู้1,600 ล้านบาท ชูดอกเบี้ยสูงสุด 5.05% ต่อปี ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือที่ BBB เปิดขายวันที่ 31 ม.ค. และ 3-4 ก.พ.
๑๒:๐๐ สกสว. - สวทช. รุกปั้นกลุ่ม ผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรม หนุนระบบบุคลากร
๑๒:๑๕ HMD ประเทศไทย เปิดแผนธุรกิจปี 68 ย้ำมุ่งพัฒนาสมาร์ทโฟนคุณภาพ ด้วยปรัชญา ใช้งานปลอดภัย ไว้ใจได้ ด้วยราคาเข้าถึงง่าย
๑๑:๑๒ VEHHA Hua Hin คว้า Fitwel มาตรฐานคอนโดระดับโลก ยกระดับคุณภาพชีวิตระยะยาว ต่อยอดจุดแข็งสู่ที่สุดของความครบครัน
๑๑:๐๐ ttb reserve มอบประสบการณ์ใหม่เหนือระดับเพื่อลูกค้าคนสำคัญ
๑๑:๓๙ ศิลปะจักสานหลินซู ภูมิปัญญาโบราณสู่ตลาดโลก
๑๑:๐๐ ฉลองครบ 10 ปี HOUSE OF LITTLEBUNNY กระเป๋าแบรนด์ไทย จากกระต่ายน้อยตัวเล็ก เติบโตสู่ตลาดอินเตอร์ จัดแฟชั่นโชว์ยิ่งใหญ่