คกก.มาตรฐานสินค้าเกษตร ไฟเขียว 5 ร่างมาตรฐาน

พฤหัส ๒๑ ธันวาคม ๒๐๒๓ ๒๒:๒๕
คกก.มาตรฐานสินค้าเกษตร ไฟเขียว 5 ร่างมาตรฐาน "ลำไย-ปาล์มน้ำมัน-ข้าวโพดหมัก-กุ้งทะเล" ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพปลอดภัย เพิ่มขีดความสามารถการส่งออก

วันนี้ (21 ธ.ค.66) นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 3/2566 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ 9 เรื่อง ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (ข้อมูล ณ วันที่1 พฤศจิกายน 2566) รวมทั้งสิ้น 4,532 ราย และความคืบหน้าของการดำเนินการเกี่ยวกับความตกลงว่าด้วยกรอบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหารอาเซียน (ASEAN Food Safety Regulatory Framework Agreement; AFSRF Agreement) ปัจจุบันมี 8 ประเทศได้ลงนามแล้วเมื่อเดือน ส.ค. 2566 และจะเร่งให้ครบทั้ง 10 ประเทศโดยเร็ว ทั้งนี้ AFSRF Agreement จะมีผลบังคับใช้เมื่อได้รับสัตยาบันสารจากประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ จากนั้นจะมีการจัดตั้งคณะ AFSCC เพื่อดำเนินงานต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาเห็นชอบยกร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ 1.ลำไย (ทบทวน) 2.หลักการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (ทบทวน) 3.หลักการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนสำหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ 4.การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดหมัก และ 5.การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล (ทบทวน) ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไปของประเทศต่อไป

ด้านนายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ( มกอช.)กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสาระสำคัญของร่างมาตรฐาน 5 เรื่อง ได้แก่

1.ลำไย (ทบทวน) ปี 2546 มกอช. ได้ประกาศใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ลำไย เป็นมาตรฐานของประเทศ แต่ด้วยสถานการณ์การผลิตและการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงมาตรฐานให้สอดคล้องกับการปฏิบัติและเกณฑ์กำหนดทางการค้าในปัจจุบันของประเทศผู้นำเข้า เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับผู้ที่จะนำมาตรฐานไปใช้ส่งเสริมการผลิตลำไยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกให้สูงขึ้น

2.หลักการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (ทบทวน) เนื่องจากองค์กร Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) ประกาศใช้มาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน เพื่อใช้รับรองระบบการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนจากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งมาตรฐานสินค้ำเกษตร เรื่อง หลักกำรผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (มกษ. 5909-2563) ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2563 เมื่อมาตรฐาน RSPO ได้มีกำรปรับปรุงแก้ไขเป็นฉบับใหม่ มกอช. จึงเห็นควรให้ทบทวนมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน และเพิ่มเติมการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนสำหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน RSPO เพื่อยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก

3.หลักการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนสำหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ เป็นการดำเนินการให้ครอบคลุมหลักการ เกณฑ์กำหนด และตัวชี้วัด สำหรับการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรรายย่อยอิสระที่มีพื้นที่ปลูกน้อยกว่า 312.5 ไร่ เพื่อให้การจัดการของกลุ่มและเกษตรกรมีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

4.การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดหมัก มาตรฐานนี้ ครอบคลุมข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวโพดเพื่อหมักเป็นอาหารสัตว์ ตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงการวางแผนการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพปลอดภัยและเหมาะสมต่อการนำไปผลิตข้าวโพดหมักเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ ในการใช้ทดแทนหญ้าสดและอาหารหยาบในบางฤดูที่ขาดแคลน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รวมถึงสุขภาพความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่ครอบคลุม ข้าวโพดที่เป็นผลพลอยได้จากข้าวโพดหวานหลังเก็บฝัก ข้าวโพดฝักอ่อนหลังเก็บฝักอ่อน และข้าวโพดอื่นๆ ที่ไม่ได้ปลูกเพื่อผลิตเป็นข้าวโพดหมัก

และ 5.การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล (ทบทวน) ได้มีการเพิ่มเติมข้อกำหนดการจัดทำและดำเนินการตามแผนการจัดการสุขภาพกุ้ง การห้ามใช้ยาต้านจุลชีพในการป้องกันโรคและเร่งการเจริญเติบโต รวมถึงเพิ่มเติมแนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับข้อกำหนดในแต่ละข้อให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถนำมาตรฐานไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เพิ่มเติมรายการยาสัตว์และสารเคมีที่ห้ามใช้ในการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล รายชื่อกฎหมายของประเทศเกี่ยวกับสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ วิธีการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคและสัตว์อื่นเข้ามาในฟาร์ม วิธีป้องกันการหลุดรอดของกุ้งที่เลี้ยง

ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version