ทีมวิจัย ม.พะเยา พัฒนากบนา มุ่งสู่ คลังอาหารโลก

อังคาร ๒๖ ธันวาคม ๒๐๒๓ ๑๗:๓๔
วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา และนายธวัช สุทธวงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ จากนั้นกล่าวเปิดงาน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมเทศกาลชุมชนนวัตกรรม Phayao Frog Fest 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม 2566 ณ Lake Park Phayao จังหวัดพะเยา โดยกิจกรรมในครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยพะเยากับภาคีเครือข่ายที่แสดงให้เห็นถึง การยกระดับ ทักษะ ในการสร้างงานวิจัยให้ตรงตามความต้องการของพื้นที่ โดยการประยุกต์ใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา สร้างนวัตกรชุมชน นำไปสู่การสร้าง Learning and Innovation Platform ทำให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็ง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างผู้ประกอบการรายใหม่และทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน อย่างยั่งยืน

กิจกรรมในวันเปิดงาน มีการเปิดตัวสารคดีสั้น เรื่อง "พะเยาเมืองคลังอาหารผ่านการเลี้ยงกบ" และมีการ เสวนาหัวข้อ "สถานการณ์และแนวโน้มตลาดกบทั้งในและต่างประเทศ" โดยทีมนักวิจัย นวัตกรชุมชนของโครงการ คือ ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิศักดิ์ ปั่นมงคลกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คุณสวัสดิ์ หอมนาน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และคุณกมลสันต์ ศรีวิราช ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา โดยศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งกิจกรรม Phayao Frog Fest 2023 ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)เข้าร่วมงาน อาทิ คุณธานินทร์ ผะเอม ประธานคณะกรรมการพิจารณาติดตามและประเมินผลแผนงาน"ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รองศาสตราจารย์ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช ผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตรจารย์ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร บพท. นางสาวดารารัตน์ โพธิ์รักษา ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส บพท. และนางสาวอุษณี เอ่งล่อง นักวิเคราะห์อาวุโส บพท.

การใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นจุดมุ่งหมายหนึ่งของนักวิจัยมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งจังหวัดพะเยามีพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 80% ของพื้นที่ทั้งหมด มีทั้งป่าไม้ และสัตว์เศรษฐกิจจำนวนมาก และ "กบ" ก็เป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจของพะเยา แต่การเลี้ยงกบของชุมชนในพะเยายังเป็นแบบดั้งเดิม นักวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยาจึงถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนากบนาครบวงจรให้ชุมชน ตั้งแต่ ขั้นตอนการเลี้ยงลูกอ๊อด พัฒนากบเล็กสร้างกบเนื้อ และแปรรูปกบเป็นอาหาร เพื่อสร้างมูลค่าให้กบ สร้างรายได้ให้ชุมชน พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ เรื่อง "กบ" แบบครบวงจรพร้อมแพลตฟอร์มการเรียนรู้ นักวิจัยยังสร้างนวัตกรชุมชนผู้มีความสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องระบบเลี้ยงกบและการวางแผนการตลาดแบบใหม่เพื่อพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการเลี้ยงกบสู่สัตว์เศรษฐกิจเชิงพาณิชย์

ภายใต้โครงการนี้ นักวิจัยดำเนินการ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาสำนักงานประมงจังหวัดพะเยาและองค์การบริหารส่วนเทศบาลและตำบลเป้าหมาย 14 ตำบล นำโรงเรียนร้างมาสร้างเป็นพื้นที่เลี้ยงกบนา ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ได้นวัตกรชุมชนด้านการเลี้ยงกบจำนวน 23 คน นวัตกรด้านการจัดการน้ำจำนวน 43 คน นวัตกรด้านการแปรรูปจำนวน 57 คน และนวัตกรด้านการตลาดจำนวน 28 คน กบมีคุณภาพสูงขึ้น มีขนาดที่ตรงความต้องการของตลาดจาก 6 ตัวต่อกิโลกรัม เป็น 3 - 4 ตัวต่อกิโลกรัม โครงการยังทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และมีกบแปรรูปมากกว่า 4 ผลิตภัณฑ์ ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม มีเงินลงทุนในการวิจัย อยู่ที่ 3,656,000 บาท การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net present value: NPV เท่ากับ 12,075,335 บาท ได้ผลตอบแทนจาการดำเนินโครงการนี้ หรือผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal rate of return:IRR) หรืออัตราผลตอบแทนคิดลด คือ อัตราคิดลด (discount rate) เท่ากับ 23 % ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร หากพิจารณาอัตราส่วนผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของผลได้ตลอดอายุโครงการต่อผลรวมของมูลค้าปัจจุบันของต้นทุนตลอดอายุโครงการ เท่ากับ 1.65 เท่า นั้นแสดงว่าลงทุนในโครงการนี้ 1 บาท ได้ผลตอบแทนถึง 1.65 บาท ทำให้รายได้มากว่ารายจ่าย 1.65 เท่า

บรรยายกาศภายในงาน Phayao Frog Fest 2023 ในครั้งนี้ ประกอบด้วย

- นิทรรศการจากผลงานวิจัย- กิจกรรม DIY ของเล่นกบ

- กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำอาหารจากกบพะเยา โดย นวัตกรชุมชน อาหารท้องถิ่น

- กิจกรรมฉายภาพยนตร์กลางแปลง เรื่อง "ตุ๊กกี้ เจ้าหญิงชายกบ"

- กิจกรรมประกวดเจ้าชายกบ โดย ชมรมเพาะกายภาคเหนือ

- สารคดีสั้น เรื่อง "พะเยาเมืองคลังอาหารผ่านการเลี้ยงกบ"

- เสวนาหัวข้อ "สถานการณ์และแนวโน้มตลาดกบทั้งในและต่างประเทศ"

- การผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการรับรู้กบพะเยา (TikTok)

- กิจกรรมการประกวดกบยักษ์ของจังหวัดพะเยา

- เวทีการแสดงดนตรีสด Folk & Acoustic Music 

ที่มา: มหาวิทยาลัยพะเยา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ