เปิดมุมมอง ซีอีโอ 'บางกอกแอร์เวย์ส' กับภารกิจ Connect Your Happiness พลิกโฉมน่านฟ้าให้ยั่งยืน และส่องการปรับตัวครั้งสำคัญของภาคการบิน

อังคาร ๐๒ มกราคม ๒๕๖๗ ๑๕:๓๙
กระแสความยั่งยืน (Sustainability) และเทรนด์ด้านนวัตกรรมประหยัดพลังงานได้เข้ามาเป็น เมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจและส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเทรนด์ดังกล่าวนั้นเป็นเสมือนตัวกำหนดอนาคตภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนไลฟ์สไตล์ทีเปลี่ยนไปเช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมการบินที่นับว่าเป็นทั้งโอกาสก้าวสำคัญและความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านสู่ "สายการบินรักษ์โลก" โดยวันนี้บางกอกแอร์เวย์ส ขออาสานำทุกท่านพร้อมออกเดินทางสู่เส้นทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่จะตอบโจทย์ผู้โดยสารให้ได้สัมผัสประสบการณ์ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรรมตั้งแต่แรกใช้บริการผ่านมุมมองของ กัปตันเต๋-พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ภายใต้แนวคิดการเชื่อมโยงความสุขสานต่อถึงชุมชนและสังคมไทยอย่างยั่งยืน "Connect Your Happiness" ในมิติ ESG ดังนี้
เปิดมุมมอง ซีอีโอ 'บางกอกแอร์เวย์ส' กับภารกิจ Connect Your Happiness พลิกโฉมน่านฟ้าให้ยั่งยืน และส่องการปรับตัวครั้งสำคัญของภาคการบิน

Environmental Journey - การปูเส้นทางการบินสีเขียว ภารกิจใหญ่ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันผลักดัน

กัปตันพุฒิพงศ์ เล่าว่า "ECO Friendly" ถือเป็นโจทย์สำคัญในการแข่งขันทางธุรกิจของทุกวันนี้ที่เน้นกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก จึงนับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมการบินรวมถึงธุรกิจท่าอากาศยานทั่วโลก ซึ่งทุกภาคส่วนทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อรับมือกับปัญหาทางด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ-วิกฤติสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มทวีคูณความรุนแรงขึ้นจากหลายปัจจัย โดยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการบินอาจถูกมองว่าเป็นผู้ก่อมลพิษรายใหญ่เนื่องจากเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนอันดับ 3 ของภาคการขนส่ง หรือ 11% ของการปล่อยก๊าซทั้งหมด จึงเป็นที่มาของการกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ของรัฐบาลทั่วโลก รวมถึงกรอบนโยบายของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ 'ไออาต้า' (The International Air Transport Association: IATA) ที่วางแผนจะก้าวเข้าสู่เป้าหมาย Net Zero Carbon Emission หรือคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2050 เช่นเดียวกันกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์สที่ให้ความตระหนักต่อการจัดการกับปัญหาทางสิ่งแวดล้อมผ่านหลายโครงการที่เป็นรูปธรรม อาทิ

  • ด้านการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis Management)
    • ประกอบด้วย โครงการการวางแผนใช้น้ำมันอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับนานาชาติ ซึ่งปัจจุบันได้มีการวางระบบปฏิบัติการสำหรับนักบินประจำสายการบินฯ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมันอย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังได้วางแผนศึกษาการใช้เชื้อเพลิงการบินแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuels: SAF) และบูรณาการเทคโนโลยี-นวัตกรรมต่าง ๆ มาช่วยประหยัดพลังงาน พร้อมกันนี้ยังได้เข้าร่วมโครงการ "Carbon offsetting and Reduction Scheme for International Aviation" ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้ภาคการบินบรรลุเกณฑ์การรักษาระดับปริมาณการปล่อยคาร์บอนสุทธิอย่างสมดุล

"เพื่อตอกย้ำเป้าหมายการสร้างอุตสาหกรรมการบินสีเขียว หรือ Green Aviation ที่มุ่งเน้นลดมลพิษและก๊าซเรือนกระจก บางกอกแอร์เวย์สได้เดินหน้าโครงการพัฒนาสนามบินสีเขียว นำร่องด้วย 3 สนามบินภายใต้การบริหารของบริษัทฯ "สมุย ตราด สุโขทัย" เพื่อชูโมเดลการจัดการทรัพยากรและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการปรับปรุง-พัฒนาการออกแบบก่อสร้างอาคารผู้โดยสารให้มีลักษณะเปิดโล่งและจัดให้มีพื้นที่สีเขียวโดยรอบสนามบิน การันตีด้วยรางวัลตราสัญลักษณ์ "G - Green" จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ประกาศให้สนามบินสมุยและสนามบินตราดเป็นกรีนแอร์พอร์ต หรือสนามบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปี 2021 นอกจากนี้ในอนาคตยังมุ่งกำหนดแนวทางเพื่อปั้นเมกะโปรเจกต์ที่สำคัญระดับประเทศอย่างโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกให้เป็นหนึ่งในสนามบินสีเขียวที่มีผลงานโดดเด่นระดับภูมิภาคอีกด้วย"

  • ด้านการบริหารจัดการของเสีย (Waste Management)
    • บางกอกแอร์เวย์สได้วางแผนดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำตลอดจนถึงปลายน้ำเพื่อบริหารจัดการของเสียตามห่วงโซ่อุปทานสีเขียว ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้ภาชนะพลาสติกในห้องรับรองผู้โดยสาร การจัดตั้งโครงการแยกขยะได้ประโยชน์ และตั้งจุดรับคืนขวดพลาสติกไร้ฉลาก (Drop Box) ณ บริเวณห้องรับรองผู้โดยสาร รวมถึงการนำเอากระบวนการอัปไซคลิ่งเข้ามาใช้ เช่น การนำเอาเส้นใยจากชุดยูนิฟอร์มเก่าของพนักงานไปแปรรูปและผลิตใหม่เป็นชุดผ้ากันเปื้อนสำหรับให้พนักงานสวมใส่ รวมถึงการแปรรูปเส้นใยพลาสติกเป็นเสื้อวิ่งมาราธอนในแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาประจำปี "Bangkok Airways Boutique Series" ที่รณรงค์ให้มีการท่องเที่ยววิถีอนุรักษ์ พร้อมกับการผนวกกิจกรรมรักษ์โลกให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอีกด้วย

กัปตันพุฒิพงศ์ เล่าว่า เพื่อเน้นย้ำเป้าหมายการลดคาร์บอนในกระบวนการทำงาน ล่าสุด บริษัทฯ จึงได้ริเริ่มวางแผนสำหรับโครงการ "Low Carbon Skies by Bangkok Airways โดยจะเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2567 เพื่อมุ่งสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจภายใต้ความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ ตามแนวทางของไออาต้า (IATA) ที่เน้นด้านการจัดสรรการใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) การกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แหล่งกำเนิด การชดเชยและการดักจับคาร์บอน การศึกษาการนำเทคโนโลยีใหม่ไฟฟ้าและไฮโดรเจนเข้ามาใช้ และการปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐานและประสิทธิภาพการดำเนินงาน

Social Development เพราะหัวใจสำคัญของก้าวที่ยั่งยืน คือการก้าวไปพร้อมกับชุมชน

กัปตันพุฒิพงศ์ เล่าถึงสายใยความผูกพันของสายการบินที่มีส่วนเชื่อมโยงต่อสังคมไทยว่า ตลอดระยะเวลา 55 ปีที่ผ่านมา บางกอกแอร์เวย์สมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนเพื่อเป็นสายการบินที่ดีที่สุดของเอเชียโดยคำนึงถึงการสนับสนุนชุมชนและสังคมเป็นหัวใจสำคัญ สะท้อนผ่านพันธกิจของบริษัทฯ ที่มุ่งมั่นให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับสังคม ไม่ว่าจะเป็นชุมชนในเส้นทางที่บริษัทฯ ทำการบินรวมกว่า 11 หมุดหมายแห่งอารยธรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ตลอดจนถึงการจัดตั้งชุมชนสัมพันธ์สนามบินจำนวน 3 แห่ง ณ สมุย ตราด และสุโขทัย โดยได้เข้าไปสร้างปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชน ผ่านการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน เพื่อรับรู้ถึงปัญหาและเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่จะสามารถสานพลังสร้างสรรค์ชุมชนให้น่าอยู่ อย่างยั่งยืน อาทิ การจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ที่ดำเนินงานโดยทีมอาสาสมัคร "Blue Volunteers"ซึ่งเป็นพนักงานของบางกอกแอร์เวย์ส โดยล่าสุดได้ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพในชุมชนให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหอยนางรม ท่าโสม จ.ตราด เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนสังคมในด้านอื่น ๆ เช่น โครงการสนับสนุนอาชีพคนพิการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีงานทำและมีรายได้ที่มั่นคง สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ ซึ่งบริษัทฯ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2019 และด้านการศึกษา บางกอกแอร์เวย์สได้จัดตั้ง โครงการติดปีกเติมฝัน สร้างสรรค์โอกาสการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ "Learning-by-doing"

"ผู้โดยสารทุกท่านที่มีโอกาสได้ใช้บริการกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์สจะได้สัมผัสประสบการณ์ความยั่งยืนตั้งแต่ก้าวแรกที่ได้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นบริการเสิร์ฟอาหาร ณ บูทีคเล้าจน์ ที่รวบรวมผลิตผลจากชุมชนเกษตรกรสดจากสวนมารังสรรค์เป็นเมนูสุดพิเศษเสิร์ฟตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น เมนูมะยงชิดลอยแก้ว ส่งตรงจากโครงการเกษตรอินทรีย์ จ.สุโขทัย และกาละแมลำไย วัตถุดิบจาก จ. เชียงใหม่ เป็นต้น เท่ากับว่าเพียงก้าวเข้ามาใช้บริการ ก็ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนชุมชนยั่งยืนไปกับบางกอกแอร์เวย์ส"

Good Governance ธุรกิจการบินกับมิติธรรมาภิบาล

กัปตันพุฒิพงศ์ เล่าต่อว่า ตั้งแต่แรกก่อตั้งสายการบินบางกอกแอร์เวย์สบริษัทฯ มีเป้าหมายในการดำเนินงานและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของบริษัทฯ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการกำกับดูแลกิจการที่ดี ถ่ายทอดแนวความคิดจากรุ่นสู่รุ่น

"เพื่อเป็นการการันตีถึงการดำเนินธุรกิจตามกรอบธรรมาภิบาล และการขับเคลื่อนธุรกิจที่ให้ความสำคัญทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ล่าสุดบริษัทฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นหนึ่งในรายชื่อหุ้นยั่งยืน ประจำปี 2566 "SET ESG Ratings 2023" ระดับ BBB ในกลุ่มธุรกิจบริการ (Services) จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้รับคะแนน CGR บริษัทจดทะเบียนที่มีการกำกับดูแลกิจการระดับ 5 ดาว "ดีเลิศ" (Excellent CG Scoring) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี อีกทั้งยังได้รับการพิจารณาผ่านเกณฑ์ประเมินสำหรับรางวัลการันตี "ดาวแห่งความยั่งยืน" ระดับ 5 ดาว ในโครงการ STAR : Sustainable Tourism Acceleration Rating โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวยั่งยืน และรางวัลการันตีด้านสิ่งแวดล้อมโดยได้รับประกาศนียบัตร "EIA Symposium and Monitoring Awards 2023" ซึ่งสนามบินสุโขทัย-สนามบินสมุยได้รับรางวัลยอดเยี่ยม - ดีเด่น ในโครงการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 เพื่อสร้างคุณค่าร่วมให้กับผู้มีส่วนได้เสียและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจพร้อมมุ่งมั่นพัฒนาการดำเนินธุรกิจสู่การเปลี่ยนผ่านเป็นหนึ่งในสายการบินรักษ์โลกอย่างเต็มขั้นต่อไปในอนาคต"

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

เปิดมุมมอง ซีอีโอ 'บางกอกแอร์เวย์ส' กับภารกิจ Connect Your Happiness พลิกโฉมน่านฟ้าให้ยั่งยืน และส่องการปรับตัวครั้งสำคัญของภาคการบิน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ