นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะมอบรางวัลนี้ให้กับเดลต้าในพิธีมอบรางวัลประจำปี 2567 โดยนายแจ็คกี้ จาง ประธานบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทยกล่าวว่า "บริษัทกำลังเฉลิมฉลอง 35 ปีของการเติบโตอย่างยั่งยืนในประเทศไทย เดลต้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลสูงสุดประเภทรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมเป็นครั้งที่สอง โดยเดลต้ามีการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคของเราในด้านการวิจัยและพัฒนา การผลิต และธุรกิจ พร้อมด้วยนวัตกรรมระดับโลกสำหรับลูกค้าทั่วโลก พันธกิจของเดลต้าในการจัดหาโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมสะอาดและประหยัดพลังงาน เพื่ออนาคตที่ดีกว่า ถือเป็นรากฐานสำหรับกลยุทธ์ของเราในการปรับธุรกิจและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์ระดับโลกและโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพสีเขียว (BCG) ของประเทศไทย"
นับตั้งแต่ปี 2524 กระทรวงอุตสาหกรรมจะคัดเลือกวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นสำหรับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและเป็นแบบอย่างที่ดีเลิศในอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยรางวัลนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ ปฏิบัติตามความมุ่งมั่นและความวิริยะอุตสาหะของผู้ที่ได้รับรางวัลในการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งประเภทของรางวัลครอบคลุมด้านสำคัญต่าง ๆ มากมาย เช่น พลังงาน นวัตกรรม ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน (CSR)
ทั้งนี้บริษัททั้งหมดที่จะสมัครเข้าร่วมชิงรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมนั้น จำเป็นต้องชนะรางวัลในระดับหมวดย่อยอย่างน้อยสามหมวดก่อนถึงจะมีคุณสมบัติได้รับการพิจารณา โดยในแต่ละปีจะมีเพียงบริษัทเดียวเท่านั้นที่ได้รับเลือกให้ชนะรางวัลสูงสุดนี้ ซึ่งเดลต้าได้สมัครรับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมประจำปี 2566 หลังจากได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมประเภทอุตสาหกรรมศักยภาพ (Potential Industry) และประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ประจำปี 2561 และประเภทการจัดการพลังงาน (Energy Management) ในปี 2563
สำหรับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมประจำปีนี้ได้ยกย่องกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืนของเดลต้า รวมถึงความสำเร็จและการดำเนินงานที่สำคัญทั้งหมดของบริษัทในการช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตามที่ระบุไว้ในนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลและโมเดล BCG โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เดลต้าได้รับการยอมรับสูงสุดในปี 2566 ได้แก่
- นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และการพัฒนาธุรกิจ: เดลต้ามีผลิตภัณฑ์กำลังไฟประสิทธิภาพสูงสำหรับการใช้งานทั้งในด้านยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม เพื่อสนับสนุนเป้าหมายประเทศไทย 4.0 ใน S-Curve แรกของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next Gen Automotive) และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) นอกจากนี้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติ ระบบเครือข่าย และผลิตภัณฑ์พลังงานสำหรับศูนย์ข้อมูลของเดลต้า ยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ควรปฏิรูป (Second S-Curve) ของระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และเศรษฐกิจดิจิทัล
- การพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ: เดลต้าได้ลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการฝึกอบรมวิศวกรในพื้นที่ โดยบริษัทได้เสนอโครงการฝึกอบรม PQM การพัฒนาทักษะ และทุนการศึกษาให้กับพนักงาน นอกจากนี้บริษัทยังมีการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในการจัดตั้งห้องปฎิบัติการระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์กำลังที่มีพร้อมทั้งอุปกรณ์ใหม่ ๆ และหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ในพื้นที่
- การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG): เดลต้าทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในการสนับสนุนการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เดลต้าได้พัฒนาและบริจาคพัดลมมอเตอร์กระแสตรงประสิทธิภาพสูงสำหรับอุปกรณ์ PPE รวมทั้งพัฒนาและบริจาคระบบป้องกันน้ำท่วมเพื่อปกป้องเขตอุตสาหกรรมและชุมชม เดลต้ายังสนับสนุนชุมชุมด้วยกองทุนนางฟ้าสำหรับสตาร์ทอัพ สมาร์ทฟาร์ม และสนับสนุน SME สำหรับธุรกิจสีเขียวในท้องถิ่น
นับเป็นปีที่แปดแล้วที่เดลต้าได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม โดยนอกจากรางวัลนี้ บริษัทยังได้รับรางวัลอีกหลายประเภท ได้แก่ รางวัลด้านการผลิต การจัดการคุณภาพ และการจัดการพลังงานในปี 2538, 2553, 2554, 2563 และรางวัลอุตสาหกรรมศักยภาพ และความรับผิดชอบต่อสังคมในปี 2561 และ 2565 ทั้งนี้เดลต้ายังได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นจากนายกรัฐมนตรีอีกสองรางวัลในปี 2555 และ 2566
ที่มา: วีโร่ พับลิค รีเลชั่นส์