รพ.เปาโล พหลโยธิน รณรงค์ต่อต้านมะเร็งปากมดลูก

อังคาร ๑๖ มกราคม ๒๐๒๔ ๐๙:๒๙
มกราคม ของทุกปี องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านมะเร็งปากมดลูก (January is Cervical Health Awareness Month) พญ.สุขุมาลย์ สว่างวารี สูติแพทย์ มะเร็งนรีเวชวิทยา และผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช รพ.เปาโล พหลโยธิน เปิดเผยว่า จากสถิติล่าสุดขององค์การอนามัยโลกพบผู้ป่วยรายใหม่มะเร็งปากมดลูกปีละ 604,000 รายต่อปี และเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกทั่วโลก 342,000 รายต่อปี โดยมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดใน 23 ประเทศทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของสตรีที่สำคัญใน 36 ประเทศทั่วโลก
รพ.เปาโล พหลโยธิน รณรงค์ต่อต้านมะเร็งปากมดลูก

สำหรับสถิติในประเทศไทยปี ค.ศ.2023 พบว่า โรคมะเร็งในประเทศไทยยังจัดเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของชาติ โดยมีผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 80,000 คนต่อปี โดยมะเร็งปากมดลูกนั้นพบสถิติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ของไทยปีละ 9158 ราย และอัตราการเสียชีวิต 4705 รายต่อปี (Data from WHO 2022) ทำให้องค์การอนามัยโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญในการกำจัดโรคมะเร็งปากมดลูกทั่วโลก โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าในปี ค.ศ.2030 ลดอุบัติการณ์ผู้ป่วยรายใหม่น้อยกว่า 4 ราย ต่อ 100000 รายในทุกประเทศทั่วโลก (จากข้อมูล IARC ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี อยู่ท่ 25.6) และตั้งเป้า ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมมากถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าในประเด็นการป้องกันโรคโดยการครอบคลุมการฉีดวัคซีน เอชพีวี มากถึงร้อยละ 90 ในสตรีวัยรุ่น และสตรีทั่วโลกได้รับการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพสูง (High performance test) มากถึงร้อยละ 70 (อ้างอิงข้อมูล WHO 17 November 2020) และในทุกเดือน มกราคม ของทุกปี องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านมะเร็งปากมดลูก (January is Cervical Health Awareness Month) โดยในปี 2024 นี้ องค์การอนามัยโลกได้มุ่งเน้นในเรื่องสุขภาพของปากมดลูกและการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

พญ.สุขุมาลย์ กล่าวว่า การตรวจคัดกรองไวรัส เอชพีวี ที่องค์การอนามัยโลกตั้งเป็นเป้าหมายหนึ่งในการกำจัดโรคมะเร็งปากมดลูกทั่วโลกนั้น คือ การตรวจค้นหาเชื้อไวรัส เอชพีวี ในสิ่งส่งตรวจของปากมดลูก ไวรัสเอชพีวี คือ ไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก โดยเชื้อเอชพีวี มีหลายร้อยสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งจะจัดเป็นกลุ่มไวรัสเอชพีวี กลุ่มเสี่ยงสูง (High risk HPV type) ได้แก่สายพันธุ์ที่ 16, 18, 31, 33, 34, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 66, 68, 70, 73,82 เป็นต้น ซึ่งเป็นไวรัสที่มีศักยภาพในการก่อโรคมะเร็งปากมดลูก ที่พบได้บ่อยที่สุดหากมีการติดเชื้อชนิดดังกล่าว โดยกลไกการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก เริ่มตั้งแต่สตรีผู้นั้นได้รับเชื้อ HPV เข้าสู่ปากมดลูก แล้วมีการติดเชื้อแบบคงอยู่เรื้ออรัง ( Persistent infection) เป็นเวลานาน จากนั้นตัวเชื้อ HPV เข้าสู่เซลล์ของร่างกายก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ในระดับยีนจนเกิดรอยโรคใต้เยื่อบุผิวปากมดลูก (Cervical intraepithelial lesion) แล้วลุกลามจนเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด

ดังนั้น หากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการติดเชื้อก็จะสามารถดูแลและรักษาได้อย่างทันท่วงทีก่อนจะกลายเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก โดยการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV พบว่ามีความไว (sensitivity) ในการตรวจสูงถึง ร้อยละ 98.1 (96.7%-100%) และมีความแม่นยำในผลการตรวจสูง (Negative predictive value 98.48% (97.75%-99.23%) specificity 83.6-90.8 % แปลความว่ากรณีที่ตรวจไม่พบการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีนั้น จะพบโอกาสผิดพลาดจากการผลการตรวจที่จะค้นหารอยโรคใต้เยื่อบุผิวขั้นสูง (High grade cervical lesion) จนถึงโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นต่ำมาก จึงมีแนวทางปฏิบัติจากองค์การอนามัยโลกรับรองว่า หากสตรีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Primary high-risk human papillomavirus (hrHPV) testing แล้วผลไม่พบการติดเชื้อเอชพีวีสามารถเว้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 5 ปี (USPSTF guidelines ) และหรือตรวจคู่กับการตรวจทางเซลล์วิทยา Co-testing (hr HPV testing and cytology) ก็ได้

พญ.สุขุมาลย์ กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ว่าแนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบันมีวิวัฒนาการสูงถึงการตรวจหาไวรัสโดยตรงที่เป็นต้นตอของโรคมะเร็งปากมดลูกแล้ว และในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกยังมีคำแนะนำในเรื่องการฉีดวัคซีนเอชพีวี และการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างเหมาะสม การงดสูบบุหรี่ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้กำจัดโรคมะเร็งปากมดลูกไปจากประชากรของโลกนี้ได้ตามปณิธานที่องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าหมายไว้รวมไปถึงวัคซีน HPV ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่สูงขึ้นและสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี เป็นต้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิงเพื่อป้องกันทั้งโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งที่เกี่ยวเนื่องกับเชื้อ HPV อื่นๆได้ด้วย

ที่มา: เครือโรงพยาบาลพญาไทและเปาโล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๔๖ MEDEZE ต้อนรับสถาบันนักลงทุน CSI เยี่ยมชมบริษัท
๑๓:๔๙ บริษัท อินเตอร์ไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด รับประกาศนียบัตร เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประจำปี 2567
๑๓:๔๓ AJA จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ผถห. โหวตผ่านทุกวาระ พร้อมเปิดตัวกลยุทธ์ใหม่ รีแบรนด์ AJ EV BIKE สู่
๑๓:๕๑ SCAP ตั้งเป้าระดมทุนโดยการขายหุ้นกู้1,600 ล้านบาท ชูดอกเบี้ยสูงสุด 5.05% ต่อปี ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือที่ BBB เปิดขายวันที่ 31 ม.ค. และ 3-4 ก.พ.
๑๒:๐๐ สกสว. - สวทช. รุกปั้นกลุ่ม ผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรม หนุนระบบบุคลากร
๑๒:๑๕ HMD ประเทศไทย เปิดแผนธุรกิจปี 68 ย้ำมุ่งพัฒนาสมาร์ทโฟนคุณภาพ ด้วยปรัชญา ใช้งานปลอดภัย ไว้ใจได้ ด้วยราคาเข้าถึงง่าย
๑๑:๑๒ VEHHA Hua Hin คว้า Fitwel มาตรฐานคอนโดระดับโลก ยกระดับคุณภาพชีวิตระยะยาว ต่อยอดจุดแข็งสู่ที่สุดของความครบครัน
๑๑:๐๐ ttb reserve มอบประสบการณ์ใหม่เหนือระดับเพื่อลูกค้าคนสำคัญ
๑๑:๓๙ ศิลปะจักสานหลินซู ภูมิปัญญาโบราณสู่ตลาดโลก
๑๑:๐๐ ฉลองครบ 10 ปี HOUSE OF LITTLEBUNNY กระเป๋าแบรนด์ไทย จากกระต่ายน้อยตัวเล็ก เติบโตสู่ตลาดอินเตอร์ จัดแฟชั่นโชว์ยิ่งใหญ่