มทร.ล้านนา ร่วมมือสถาบันการศึกษาในจีน พัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องโมเดล 2+2

พฤหัส ๑๘ มกราคม ๒๕๖๗ ๑๐:๑๘
มทร.ล้านนา เดินหน้าสร้างความร่วมมือสถาบันการศึกษาในประเทศจีน พัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องด้วยโมเดล 2+2 และหลักสูตรระยะสั้น 4 สาขายอดนิยม EV- Big Data-ซ่อมบำรุงขนส่งระบบราง และแพทย์ทางเลือก
มทร.ล้านนา ร่วมมือสถาบันการศึกษาในจีน พัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องโมเดล 2 2

ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ล้านนา กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการของบุคลากร แรงงานในตลาดแรงงาน ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่บุคลากรไทยสามารถไปทำงานในประเทศต่างๆ ได้ ดังนั้น มทร.ล้านนา ซึ่งมุ่งผลิตบัณฑิต บุคลากรตอบโจทย์ตลาดแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรม S Curve และ New S Curve  อุตสาหกรรมแห่งอนาคต จึงได้สร้างเครือข่าย ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศจีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีนักลงทุนจำนวนมาก และมีนวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยใหม่

"มทร.ล้านนาเข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรในด้าน S Curve และ New S Curve ร่วมกับวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนา Associate Degree ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่องด้วยโมเดล 2+2 และหลักสูตร จำนวนหลักสูตรระยะสั้น (Non-Degree) โดยมุ่งเป้าที่สาขาที่เป็นที่นิยมและมีความต้องการของตลาดได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ (New Energy Vehicle, EV) การวิเคราะห์และจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การซ่อมบำรุงขนส่งระบบราง (Railway maintenance)  และแพทย์ทางเลือก (Chinese Medicine ซึ่งทั้ง 4 สาขามีความต้องการกำลังคนจำนวนมาก" รักษาราชการแทนอธิการบดีมทร.ล้านนา กล่าวและว่า ความร่วมมือระหว่าง มทร.ล้านนา และวิทยาลัยในประเทศจีน มีดังต่อไป 1. หลักสูตรด้าน EV มทร.ล้านนา ได้ร่วมมือกับวิทยาลัย Nanjing Vocational Institute of Transport Technology และวิทยาลัย Guizhou Light Industry Technical College ซึ่งจะเปิดรับนักศึกษาจำนวน 80-90 คน  2. หลักสูตร Big Data จะมีความร่วมมือกับ วิทยาลัย Guizhou Light Industry Technical College  3.หลักสูตรแพทย์ทางเลือก Chinese medicine จะเป็นการนำสมุนไพรเข้ามาใช้ในการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก แพทย์แผนจีน โดยจะร่วมมือกับ Jiangsu Food and Pharmaceutical Science College และ 4.หลักสูตร Railway maintenance (หลักสูตรการซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า) และเทคโนโลยีการสื่อสาร ร่วมมือกับ วิทยาลัย Liuzhou railway vocational technical college

ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่าวอีกว่า หลักสูตรโมเดล 2+2 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมทร.ล้านนากับวิทยาลัยในประเทศจีนนั้น ขณะนี้ ได้มีการจัดส่งครูและนักเรียนไปอบรม ที่วิทยาลัยในประเทศจีนแล้ว โดยนักศึกษาจะได้ไปเรียนที่วิทยาลัยในประเทศจีน ประมาณปีครึ่ง จะได้วุฒิหลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แบะมาเรียนที่มทร.ล้านนา อีกทั้ง ทางวิทยาลัยในประเทศไทย ได้มีการลงทุนด้านครุภัณฑ์ และห้องแลป ที่ มทร.ล้านนาร่วมด้วย ดังนั้น นักศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จะได้มีโอกาสในการเรียนในหลักสูตรร่วมและได้คุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ และสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในหลักสูตรต่อเนื่อง ที่จะเป็นโอกาสในการจ้างงานและการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือดังกล่าว จะเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาบุคลากรในด้านวิชาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีร่วมสมัย และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผ่านความร่วมมือกับวิทยาลัยที่มีความพร้อมทั้งด้านห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยี และจะเป็นการพัฒนาความร่วมมือระดับนานาชาติแก่ มทร.ล้านนาและสถาบันการศึกษาระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต

ที่มา: แมวกวัก

มทร.ล้านนา ร่วมมือสถาบันการศึกษาในจีน พัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องโมเดล 2 2

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ