มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์เปิดตัวสถาบันพัฒนาเมือง มุ่งศึกษาเมืองต่าง ๆ ทั่วเอเชีย

ศุกร์ ๑๙ มกราคม ๒๐๒๔ ๐๙:๒๑
สถาบันแห่งใหม่นี้จะกำหนดวาระการวิจัยแบบสหวิทยาการและหลากหลาย ในหัวข้อหลัก ๆ เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของเมือง การเติบโตของเมือง และชีวิตในเมือง

เมื่อเมืองต่าง ๆ ในเอเชียกำลังขยายตัวในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน บรรดาผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายในเมืองต่างเผชิญกับปัญหาท้าทายที่ซับซ้อนและเร่งด่วนมากขึ้น เพื่อให้เมืองเจริญเติบโตได้อย่างยืดหยุ่นแต่ขณะเดียวกันก็ต้องยั่งยืนด้วย โดยการย้ายถิ่นและกระแสความคิดที่หลั่งไหลอย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ทำให้แนวปฏิบัติในการสร้างเมืองทั้งแบบเก่าและใหม่พัวพันยุ่งเหยิงไปหมด ส่งผลให้เกิดการแย่งชิงพื้นที่ ทรัพยากร และบริการของเทศบาล

เพื่อตอบสนองต่อเมกะเทรนด์ที่สะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการวิจัยเมืองนั้น มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management University หรือ SMU) จึงได้เปิดตัวสถาบันพัฒนาเมือง (Urban Institute หรือ UI) ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ หรือ SMU Urban Institute ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยแห่งใหม่ที่อุทิศตนให้กับการวิจัยแบบพหุวิทยาการและสหวิทยาการเกี่ยวกับเมืองต่าง ๆ ในเอเชีย สถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ จะมองให้ก้าวไกลกว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะนำแง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมในการขยายตัวของเมือง รวมถึงความสมดุลระหว่างการเติบโตของเมืองและความยั่งยืนมาพิจารณาด้วย

สถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยมีคุณซิม แอน (Ms Sim Ann) รัฐมนตรีอาวุโสประจำกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นผู้เปิด และได้แสดงความยินดีกับมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ ในการเปิดตัวสถาบันพัฒนาเมืองแห่งใหม่ ที่อุทิศตนเพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในการขยายตัวของเมืองและการวางผังเมืองในเอเชีย ซึ่งแม้สิงคโปร์จะเอาชนะแรงกดดันเหล่านี้ได้บ้างแล้ว แต่คุณซิม แอน ก็ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาท้าทายเหล่านี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะแรงกดดันในเมืองยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เมืองต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมกันสำรวจแนวทางแก้ปัญหาเพื่อให้พัฒนาเมืองได้อย่างยั่งยืน

คุณซิม แอน กล่าวว่า "ในช่วงแรก ๆ หลังจากที่เราแยกตัวเป็นเอกราช สิงคโปร์เผชิญกับปัญหาท้าทายมากมายในการพัฒนาเมือง ทั้งความแออัด สลัม รถติด มลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม น้ำท่วม และการขาดแคลนน้ำ ความท้าทายเหล่านี้ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในหลายเมืองทั่วโลกแม้กระทั่งทุกวันนี้ โดยโซลูชันพัฒนาเมืองที่สิงคโปร์พัฒนาขึ้นนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อเมืองเหล่านี้ แม้เราจะเรียนรู้และนำแนวคิดดี ๆ จากผู้อื่นมาปรับใช้ก็ตาม สถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ จะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการวิจัยระหว่างสิงคโปร์กับประเทศเพื่อนบ้านทั่วเอเชีย พร้อมช่วยให้เหล่าผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานสร้างสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับทุกคนได้"

สถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ มีรองศาสตราจารย์ ออร์แลนโด วูดส์ (Orlando Woods) จากภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ เป็นผู้นำ ซึ่งเขายังเป็นรองคณบดี (โครงการวิจัยและบัณฑิตศึกษา) ประจำวิทยาลัยการศึกษาเชิงบูรณาการของทางมหาวิทยาลัยฯ ด้วย โดยสถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ เป็นสถาบันวิจัยแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นกระบอกเสียงสะท้อนให้เห็นปัญหาท้าทายมากมายที่เมืองต่าง ๆ ทั่วเอเชียกำลังเผชิญอยู่จากเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองใหญ่ของเอเชีย สถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ จะเผยให้เห็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจของการอาศัยอยู่ในเมือง รวมถึงความเหลื่อมล้ำอันเป็นผลจากการสะสมความมั่งคั่ง ไปจนถึงบทบาทของโครงสร้างพื้นฐานในแง่ของอาคาร นโยบาย และกฎระเบียบ ในการจำกัดหรือเอื้อต่อการเติบโตของเมือง โดยจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นช่องทางให้นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย ชุมชน และภาคอุตสาหกรรม ได้ใช้ติดต่อและสานความสัมพันธ์ร่วมกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี

คุณปิยุช กุปตะ ( Piyush Gupta) ประธานกรรมการมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ ได้กล่าวเกี่ยวกับบทบาทและผลลัพธ์ที่สถาบันแห่งนี้พร้อมมอบให้ว่า "เมืองต่าง ๆ รอบตัวเรากำลังเผชิญกับปัญหาท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรอันเนื่องมาจากการย้ายถิ่น ไปจนถึงความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในการเข้าถึงการศึกษาและงาน นอกจากนี้ แนวปฏิบัติในการสร้างเมืองแบบเก่าและแบบใหม่ที่ผสานรวมกันนั้นยังทำให้สิ่งนี้ซับซ้อนมากขึ้นอีกด้วย เมื่อพิจารณาถึงความท้าทายเหล่านี้แล้ว สถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ จะเดินหน้าตามพันธกิจของทางมหาวิทยาลัยฯ ในการส่งเสริมการวิจัยประยุกต์เพื่อจัดการกับปัญหาทางสังคม โดยสร้างศูนย์รวมที่ให้นักวางผังเมือง นักออกแบบ นักเศรษฐศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์สังคม และผู้กำหนดนโยบายได้มารวมตัวกัน เพื่อร่วมกันสำรวจแนวทางแก้ไข ซึ่งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ ล้วนแต่ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเดินหน้าวิจัยภายในภาคส่วนนี้"

ศาสตราจารย์ ลิลลี คง ( Lily Kong) อธิการบดีมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ กล่าวว่า "การสถาปนาสถาบันแห่งนี้ให้เป็นหน่วยงานระดับมหาวิทยาลัยนั้น สะท้อนให้เห็นความตั้งใจอันแรงกล้าของเราในการขยายขอบเขตของสาขาวิชาเดียว และร่วมกันสร้างการวิจัยแบบพหุวิทยาการและสหวิทยาการไปด้วยกัน"

"การที่เราลงทุนสร้างสถาบันพัฒนาเมืองไม่ได้เป็นเรื่องเกินกว่าเหตุเลยค่ะ" ศาสตราจารย์ ลิลลี คง กล่าวเสริม "สิ่งนี้เป็นการเอื้ออำนวยให้ดำเนินการวิจัยได้อย่างล้ำลึกและเข้มงวด เพื่อให้เข้าใจเมืองต่าง ๆ ได้มากขึ้น แต่ยิ่งกว่านั้น ยังเข้ามาช่วยวางรากฐานสร้างเมืองที่น่าอยู่ ยืดหยุ่น และเสมอภาคในเอเชีย ในขณะที่เมืองต่าง ๆ ทั่วเอเชียเติบโตรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงของสถาบันพัฒนาเมืองแห่งนี้ก็เด่นชัดยิ่งขึ้น"

เสาหลักทั้งสามในการวิจัยที่สถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์

สถาบันพัฒนาเมืองจะนำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์มารวมกัน และกำหนดการวิจัยในทิศทางใหม่ ๆ ครอบคลุมในหัวข้อภูมิศาสตร์เมือง เศรษฐศาสตร์เมืองและพฤติกรรม นโยบายสาธารณะ การจัดการแนวทางดำเนินงาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยอาศัยแนวทางการวิจัยแบบสหวิทยาการที่นำการวิจัยเชิงทฤษฎีและประยุกต์ วิทยาศาสตร์ข้อมูลและสังคมศาสตร์ อุตสาหกรรม และวิชาการมาผสานรวมกัน เพื่อมุ่งเน้นการวิจัยใน 3 เสาหลัก ได้แก่ 1. ชีวิตในเมือง 2. การเติบโตของเมือง และ 3. โครงสร้างพื้นฐานของเมือง (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ภาคผนวก 1)

รองศาสตราจารย์ ออร์แลนโด วูดส์ กล่าวว่า "แม้รูปแบบผังเมืองและการออกแบบจำนวนมากมีเมืองในชาติตะวันตกเป็นแบบอย่าง แต่การเรียนรู้จากประสบการณ์ในการพัฒนาเมืองในเอเชียก็มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจแนวทางในการรับมือกับความท้าทายที่เมืองต่าง ๆ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วกำลังเผชิญอยู่ได้ดีขึ้น และเมื่อเมืองต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น เราจำเป็นต้องใช้แนวทางที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง แทนที่จะแห่สร้างอาคารและติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพิ่ม ทั้งนี้ สถาบันพัฒนาเมืองแห่งใหม่ของมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ จะมุ่งศึกษาประเด็นตึงเครียดต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวการเติบโตของเอเชีย เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกและแนวทางแก้ไขที่ดีขึ้น และนำไปสร้างอนาคตที่มีความยืดหยุ่น เสมอภาค และยั่งยืนมากขึ้นสำหรับคนเมือง"

กระชับความร่วมมือด้านการวิจัยระดับโลกทั้งในเอเชียและที่อื่น ๆ

สถาบันพัฒนาเมืองมีข้อได้เปรียบจากการที่มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ตั้งอยู่ใจกลางสิงคโปร์ โดยจะมุ่งกระชับความร่วมมือด้านการวิจัยในการพัฒนาเมืองกับมหาวิทยาลัยและองค์กรคลังสมองทั่วโลก ซึ่งมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์เพิ่งเปิดตัวศูนย์ในต่างประเทศ (SMU Overseas Centre) ในอินโดนีเซียและไทยไปเมื่อไม่นานมานี้ เปิดโอกาสให้ทางสถาบันฯ ได้กระชับความสัมพันธ์กับผู้ให้ความร่วมมือที่มีวิสัยทัศน์เดียวกันทั่วภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมุ่งแสวงหาความร่วมมือด้านการวิจัยในวงกว้างกับโรงเรียน สถาบัน และโครงการริเริ่มทั้งหลาย ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับเมืองต่าง ๆ ด้วย

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ยังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในข้อตกลงความร่วมมือนี้ มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์และธรรมศาสตร์ ได้ตกลงที่จะอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เอกสาร และสื่อการวิจัย รวมถึงแลกเปลี่ยนนักศึกษาและนักวิจัย ไปจนถึงการร่วมกันจัดสัมมนาและการประชุมต่าง ๆ และในอนาคตข้างหน้านี้ ทางมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์หวังที่จะกระชับความร่วมมือกับผู้มีส่วนร่วมในประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และที่อื่น ๆ ให้มากขึ้น

สถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (UniMelb) และมหาวิทยาลัยโทรอนโต (UOT) ด้วย เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการวิจัยในการพัฒนาเมือง โดยมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์และศูนย์พัฒนาเมืองแห่งเมลเบิร์น (Melbourne Centre for Cities) มีแผนผนึกกำลังร่วมจัดงานสำหรับบรรดาผู้นำเมืองต่าง ๆ ในอาเซียน ในการประชุมสุดยอดเมืองโลก (World Cities Summit) ที่กำลังจะมีขึ้นในสิงคโปร์ ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์และมหาวิทยาลัยโทรอนโต ยังได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงานขอทุนสนับสนุน เพื่อส่งเสริมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองในหัวข้อ "Migration, Thriving and Belonging" ความร่วมมือเหล่านี้แสดงให้เห็นความสำคัญของการแบ่งปันความเชี่ยวชาญ ข้อมูล และสารสนเทศกับเมืองต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้จากกันและกันในภูมิทัศน์เมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

พิธีเปิดตัวสถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์นั้น ตามมาด้วยการอภิปรายหมู่ในหัวข้อ "Sensing the City" ซึ่งพาสำรวจประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ในเมืองต่าง ๆ และหาแนวทางในการทำให้การรับรู้ของมนุษย์และการรับรู้แบบดิจิทัลลงตัวมากขึ้น เพื่อพัฒนาเมืองให้น่าอยู่และคำนึงถึงมนุษย์มากกว่าเดิม

การอภิปรายหมู่ที่ว่านี้ดำเนินรายการโดยรองศาสตราจารย์ ออร์แลนโด วูดส์ ร่วมกับศาสตราจารย์

เจน จาคอบส์ (Jane Jacobs) จากมหาวิทยาลัยโมนาช วิทยาเขตอินโดนีเซีย นางโรซา แดเนียล (Rosa Daniel) คณบดีสถาบันวัฒนธรรม ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ชุมชน และเยาวชนสิงคโปร์ นายจิว เหวิน ตุง (Chiu Wen Tung) ผู้อำนวยการกลุ่ม (ฝ่ายวิจัยและพัฒนา) ประจำหน่วยงานฟื้นฟูเมือง และคุณลุค วู (Luke Wu) หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรม บริษัทคาจิมา ดีเวลลอปเมนต์ (Kajima Development)

เอกสารแนบ:

  • ภาคผนวก 1 - สามสาขาวิจัยหลักของสถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ www.smu.edu.sg

เกี่ยวกับสถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ https://urban.smu.edu.sg/ 

ภาคผนวก 1

สามสาขาวิจัยหลักของสถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์

สถาบันพัฒนาเมือง ในสังกัดมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ ใช้วิธีการวิจัยแบบสหวิทยาการและหลากหลาย เพื่อเชื่อมโยงการวิจัยเชิงทฤษฎีกับการวิจัยประยุกต์ วิทยาการข้อมูลกับสังคมศาสตร์เชิงวิพากษ์ อุตสาหกรรมกับวิชาการ ทั้งในสิงคโปร์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 สาขาวิจัยหลัก ได้แก่

ชีวิตในเมืองการเติบโตของเมืองโครงสร้างพื้นฐานของเมืองผู้คนรับรู้และสัมผัสประสบการณ์ในเมืองอย่างไรสำรวจปัจจัยที่ทำให้เมืองน่าอยู่หรือไม่น่าอยู่ โดยมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจว่าผู้คนได้รับประสบการณ์เมืองอย่างไร ในขณะที่เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีการอพยพย้ายถิ่นฐานสู่เมืองสร้างสรรค์และรักษาคุณค่าภายในเมืองอย่างไรสำรวจเศรษฐกิจเมืองที่มีส่วนในการสร้างความสัมพันธ์ใหม่แบบพึ่งพาในขณะที่เมืองเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดการกับความไม่เท่าเทียมและความท้าทายอันเนื่องมาจากการเติบโตของเมือง ท่ามกลางความท้าทายด้านความยั่งยืนโครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยหนุนหรือข้อจำกัดของเมืองอย่างไรสำรวจโครงสร้างพื้นฐานที่จับต้องได้ ( Hard Infrastructure) และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม กฎหมาย หรือข้อกำหนด (Soft Infrastructure) ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมือง นักวิจัยจะตรวจสอบความยืดหยุ่นและวิวัฒนาการของโครงสร้างพื้นฐานในการตอบสนองต่อความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมหรือสังคมตัวอย่างงานวิจัยชีวิตในเมือง: โครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาและความรู้สึกแปลกแยกของผู้อพยพ:นักเรียนชาวอินเดียในสิงคโปร์ โครงการนี้พยายามทำความเข้าใจบทบาทของ "โครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา" ในการกำหนดเงื่อนไขและขอบเขตของความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในหมู่ผู้อพยพชาวอินเดียในสิงคโปร์ตัวอย่างงานวิจัยการเติบโตของเมือง: เมืองแห่งสวน: บันทึกมรดกการทำสวนกินได้ของสิงคโปร์:ครอบคลุมประวัติศาสตร์สมัยใหม่กว่า 200 ปีของสิงคโปร์ การศึกษานี้จะดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์และแหล่งข้อมูลร่วมสมัย ทั้งที่เป็นข้อความและไม่ใช่ข้อความ เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์การทำสวนในสิงคโปร์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบันตัวอย่างงานวิจัยโครงสร้างพื้นฐานของเมือง: ภูมิภาคนิยมของกลุ่มเทคโนแครตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การเมืองของการถ่ายทอดความรู้ด้านเมืองอัจฉริยะ: โครงการนี้จะสำรวจการเมืองของการถ่ายทอดความรู้ด้านเมืองอัจฉริยะ และความเกี่ยวพันของการเมืองกับสิ่งแวดล้อมเมืองทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดูตัวอย่างงานวิจัยอื่น ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ได้ที่ https://urban.smu.edu.sg/projects 



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม