ตอกย้ำความสำเร็จ! ม.วลัยลักษณ์ คว้า "รางวัลดีเด่น" ด้านการวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากล

ศุกร์ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗ ๑๑:๑๖
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ประกาศผลการพิจารณาผลงานสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก ประจำปี พ.ศ. 2566 ปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สามารถคว้า "รางวัลดีเด่น" การวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติ จาก "ผลงานการวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติ" มาครองได้สำเร็จ เมื่อเร็ว ๆ นี้
ตอกย้ำความสำเร็จ! ม.วลัยลักษณ์ คว้า รางวัลดีเด่น ด้านการวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากล

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนางานวิจัยสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ (Scopus=Q1,Q2) และเป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มที่ 1 : กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global & Frontier Research) จากการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยของกระทรวง อว. โดยในปี 2018-2022 มีจำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวน 172, 220, 365, 580 และ738 บทความ ตามลำดับ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 142 บทความ/ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 45

ด้านผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Tier 1 หรือ Top 10% ของแต่ละสาขา ตั้งแต่ปี 2018-2022 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จำนวน 23, 32, 60, 92 และ 134 บทความ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 28 บทความ/ปี คิดเป็นร้อยละ 56 และในปี 2564 มีจำนวนการอ้างอิงบทความวิจัย (Citations) สูงสุดจำนวน 4,731 ครั้ง และได้รับทุนวิจัยโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี และล่าสุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับ Q1,Q2 อยู่ที่ 90.88% เป็นอันดับ 1 ของประเทศ อีกด้วย (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ม.ค.'67) และนักวิจัย ม.วลัยลักษณ์ ยังได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก "World's Top 2% Scientists" ประจำปี 2023 จัดอันดับโดย Stanford University โดยติดอันดับมีผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงสุด จำนวน 2 คน และติดอันดับผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี 2565 สูงสุด จำนวน 5 คน

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวต่ออีกว่า ผลจากการพัฒนาคุณภาพด้านการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับโลก จาก Time Higher Education ปี 2023 อยู่ในอันดับ 1201+ อันดับ 6 ร่วมของไทย ขยับดีขึ้นจากปี 2022 ในอันดับ 1501+ อันดับที่ 11 ร่วมของไทย อีกทั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยังได้รับการจัดอันดับกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ (Young University Rankings 2023) อยู่อันดับ 501+ ของโลก อันดับ 3 ร่วมของไทย ได้รับการจัดอันดับ THE Impact Ranking ปี 2023 อยู่ในอันดับที่ 401-600 ของโลก อันดับที่ 10 ร่วมของประเทศไทยอีกด้วย

"ในปี 2567 เรามุ่งมั่นพัฒนาระบบการเรียนการสอนควบคู่กับการวิจัย ปัจจุบันอาจารย์ของเราได้รับประกาศนียบัตร UKPSF กว่า 90% และเรามั่นใจว่าจะรักษาแชมป์ไว้ให้ได้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าอาจารย์ผู้สอนของเราเป็นระดับมืออาชีพ และที่ผ่านมาเราทุ่มเทเรื่องการวิจัยอย่างมาก จนทำให้งานวิจัยของเราได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยด้านงานวิจัยระดับสากล และอนาคตจะทุ่มเทด้านการวิจัยเชิงลึกให้มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักศึกษาที่มาเรียน เพราะงานวิจัยจะทำให้นักศึกษาเห็นว่าอาจารย์ของเรามีความรู้ความสามารถในเรื่องต่าง ๆ ที่สอน" ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว

ที่มา: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ตอกย้ำความสำเร็จ! ม.วลัยลักษณ์ คว้า รางวัลดีเด่น ด้านการวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version