อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส แนะวิธีรับมือภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้าขั้นวิกฤตในที่ทำงาน

ศุกร์ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗ ๑๔:๕๗
อาการเกลียดวันจันทร์ (Blue Monday) ถือเป็นจุดที่ดิ่งสุดของภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูหนาว (Winter Blues) และยังป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder) อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากไปกว่านั้น เพราะการเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความกังวลเรื่องสภาพภูมิอากาศที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน ล้วนทำให้คนเรามีความเครียดอย่างต่อเนื่อง โดยความกังวลเกี่ยวกับภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้าขั้นวิกฤตของพนักงานทั่วโลกได้กระตุ้นให้องค์กรต่าง ๆ หันกลับมาทบทวนมาตรการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตขององค์กร พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับมาตรการสนับสนุนสุขภาพจิตเชิงรุกสำหรับพนักงาน
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส แนะวิธีรับมือภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้าขั้นวิกฤตในที่ทำงาน

รายงานภาพรวมแนวโน้มความเสี่ยงทั่วโลก ประจำปี 2567 ของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS Risk Outlook 2024) ชี้ว่า ภาวะหมดไฟ วิกฤตค่าครองชีพ และความกังวลด้านสุขภาพจิต ถือเป็นความเสี่ยงอันดับต้น ๆ สำหรับสุขภาวะของพนักงานในปีนี้ โดยสุขภาพจิตถือเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลเป็นพิเศษ เนื่องจากแรงกดดันจากภาวะหมดไฟและความยากลำบากทางการเงินสามารถแสดงออกมาให้เห็นในรูปแบบของความเครียดทางอารมณ์และจิตใจ นอกจากนี้ ข้อมูลจากการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ผู้คนมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสุขภาวะของพนักงานกับความสำเร็จขององค์กร ขณะที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เน้นย้ำว่า ทั่วโลกต้องสูญเสียวันทำงานไปประมาณ 1.2 หมื่นล้านวันอันเนื่องมาจากภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล ส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการผลิตคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี2

อัตราการเกิดภาวะหมดไฟของพนักงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในระยะเวลาเพียงแค่สองปี โดยอัตราดังกล่าวทะยานขึ้นจาก 11-18% สู่ระดับ 20-40% ขณะเดียวกัน หลายพื้นที่ยังรายงานด้วยว่าอัตราการเกิดภาวะหมดไฟนั้นสูงถึง 50% เลยทีเดียว1 นอกจากนี้ 80% ของผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านความเสี่ยงทั่วโลกที่ตอบแบบสำรวจยังระบุด้วยว่า ภาวะหมดไฟของพนักงานเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งขององค์กรและพนักงาน1

นพ.โรดริโก โรดริเกซ-เฟอร์นันเดซ (Dr. Rodrigo Rodriguez-Fernandez) ที่ปรึกษาด้านสุขภาพระดับโลกของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า "การกลับมาทำงานหลังวันหยุดนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย และสำหรับพนักงานจำนวนมากนั้น ช่วงเวลานี้อาจจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้พนักงานไม่สามารถแบกรับความเหนื่อยล้า ความเครียดเรื้อรังและภาวะหมดไฟได้อีกต่อไป บางคนอาจจะยังคงเผชิญกับผลกระทบต่อเนื่องจากช่วงเทศกาล โดยเผชิญกับแรงกดดันด้านการเงินจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นภายหลังการฉลองวันหยุดยาว นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้นและวิกฤตการณ์ระดับโลกที่เกิดขึ้นอยู่นี้ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานรู้สึกกังวลมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนสำหรับองค์กรที่พยายามส่งเสริมสุขภาวะและประสิทธิภาพให้กับการทำงานของพนักงาน"

"พนักงานต้องการการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตและสุขภาวะในที่ทำงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤตการณ์ระลอกล่าสุด ความต้องการที่มีอยู่แล้วจึงต้องได้รับการตอบสนองอย่างเร่งด่วนมากยิ่งขึ้นในขณะที่พนักงานรู้สึกหมดไฟและเหนื่อยล้าขั้นวิกฤต ดังนั้น อาการเกลียดวันจันทร์จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมสำหรับองค์กรต่าง ๆ ที่จะหันมาประเมินและสนับสนุนโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในที่ทำงาน เมื่อพนักงานรู้สึกว่าได้รับการช่วยเหลือและมีความสามารถในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง พนักงานก็มีแนวโน้มว่า จะมีส่วนร่วม มีสมาธิ และปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ องค์กรที่ตระหนักถึงเรื่องนี้และให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยต่อจิตสังคม (Psychosocial) ด้วยการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการความเครียดไปจนถึงการจัดตารางงานที่มีความยืดหยุ่น ถือเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องและยังเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานอีกด้วย"

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ส่งเสริมให้องค์กรต่าง ๆ ใช้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อป้องกันภาวะหมดไฟและต่อสู้กับความเหนื่อยล้าขั้นวิกฤตในที่ทำงาน ดังนี้

  1. สร้างวัฒนธรรมการเปิดเผยอารมณ์ความรู้สึกและส่งเสริมการสื่อสารอย่างเปิดเผย: จัดให้มีพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานในการพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพจิตและสุขภาวะของตนเอง ตลอดจนสนับสนุนให้พนักงานกล้าที่จะเปิดเผยความรู้สึกเมื่อรู้สึกอัดอั้นตันใจหรือลำบากใจ
  2. มอบความยืดหยุ่นและส่งเสริมสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว: สนับสนุนการจัดตารางการทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อช่วยให้พนักงานสร้างสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัวได้ ตลอดจนส่งเสริมการหยุดพักอย่างสม่ำเสมอ และสนับสนุนให้พนักงานเล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาวะของตนเอง
  3. ลงทุนเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางอารมณ์: เปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกสติ และจัดฝึกอบรมด้านการจัดการความเครียด ตลอดจนร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่ผ่านการรับรองเพื่อให้คำปรึกษาและสนับสนุนแก่พนักงาน โดยรักษาความลับของพนักงานเป็นอย่างดี
  4. นำเสนอโปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน: ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนพนักงานในด้านต่าง ๆ เช่น บริการให้คำปรึกษาทางการเงินหรือการให้คำปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
  5. สนับสนุนให้ผู้จัดการเข้ารับการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลด้านสุขภาพจิต: เพิ่มทักษะให้ผู้จัดการสามารถระบุสัญญาณของความเครียดและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่พนักงานที่อาจกำลังประสบปัญหา

About the International SOS Group of Companies

The International SOS Group of Companies is in the business of saving lives, protecting your global workforce from health and security threats. Wherever you are, we deliver customised health, security risk management and wellbeing solutions to fuel your growth and productivity.

In the event of extreme weather, an epidemic or a security incident, we provide an immediate response providing peace of mind. Our innovative technology and medical and security expertise focus on prevention, offering real-time, actionable insights and on-the-ground quality delivery. We help protect your people, your organisation's reputation, as well as support your compliance reporting needs. By partnering with us, organisations can fulfil their Duty of Care responsibilities, while empowering business resilience, continuity, and sustainability.

Founded in 1985, the International SOS Group, headquartered in London & Singapore, is trusted by 9,500 organisations, including the majority of the Fortune Global 500 as well as mid-size enterprises, governments, educational institutions, and NGOs. 13,000 multi-cultural

security, medical, logistics and digital experts stand by you to provide support & assistance from over 1,000 locations in 90 countries, 24/7, 365 days. 

To protect your workforce, we are at your fingertips:  www.internationalsos.com

  1. อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส | รายงานภาพรวมความเสี่ยงประจำปี 2567
  2. องค์การอนามัยโลก | สุขภาพจิตในที่ทำงาน
  3. สถาบันสุขภาพแมคคินซีย์ | Reframing employee health: Moving beyond burnout to holistic health


ที่มา:  International SOS Services (Thailand) Limited

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ