สำหรับแชมป์ในปีนี้ได้แก่ ทีม ลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 1 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม ตะโกราย วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ จ.นครราชสีมา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ทีม พระปฐมวิทยาลัย ทีม C โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวชื่นชมนักประดิษฐ์ไทยซึ่งวันนี้สามารถสร้างสรรค์ผลงานระดับโลกจนเป็นที่ยอมรับ และขอแสดงความยินดีกับนักกีฬาทุกท่านที่เข้าร่วมการแข่งขันและทีมที่ประสบความสำเร็จในการคว้าชัยชนะและขอให้นำความรู้ความสามารถเหล่านี้กลับมาพัฒนาประเทศชาติ เพราะนวัตกรรมที่คิดค้นโดยคนไทยมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดอากาศยานไร้คนขับก็เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่นำมาใช้กับงานปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างได้ผล โดยเฉพาะ ด้าน ai ที่ช่วย ตรวจจับใบหน้าคนร้าย สแกนทุกคนที่เดินผ่านลดการประทะและสามารถเข้าจับกุมได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ขอแสดงความชื่นชมสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับที่เปิดโอกาสให้เด็กไทยได้เรียนรู้ทักษะใหม่ใหม่จากการคิดค้นของเด็กไทยในสมาคมและขอบคุณสำนักงานการวิจัยแห่งชาติที่สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมดีดีเพื่อคนไทย
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ในนามของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดย กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดียิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับประเภทปีกหมุนประลองปัญญา ( Drone Mission) ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2567
ตามที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติหรือ วช. มีนโยบายที่มุ่งส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษาการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้เกิดการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับโดรนในประเทศ ที่ประสบผลสำเร็จในการคิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์การสั่งงานโดรนแปรอักษร ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศกล่าวได้ว่าเป็น"โดรนแปรอักษร" ฝีมือคนไทย และเป็นนวัตกรรมหนึ่งเดียวในอาเซียน และ 1 ใน 9 ของโลกซึ่งเป็นการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของคนไทยให้ก้าวล้ำไปอีกขั้นทัดเทียมกับเทคโนโลยีของต่างประเทศ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่มีส่วนร่วมในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนทั่วประเทศที่มีความรู้พื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรม Coding ได้มีเวทีแสดงศักยภาพความสามารถและทักษะการเขียนโปรแกรม Coding ในการควบคุมและสั่งงานโดรน (Drone) ซึ่งจะช่วยให้เด็กและเยาวชนมีแรงกระตุ้นและเกิดแรงบันดาลใจ มีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างการพัฒนานวัตกรรม ทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เกี่ยวกับอากาศยาน เพื่อรองรับการขยายตัวของเทคโนโลยีด้านการบินอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า รู้สึกประทับใจที่เยาวชนทีมวิจัยจะได้นำสิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อคนไทย มาช่วยสร้างคน สร้างอาชีพ และขอบคุณอาจารย์แต่ละโรงเรียนที่ให้การสนับสนุนนักเรียน นักศึกษา เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนจาก วช. ในการพัฒนานวัตกรรมโดรนแปรอักษร (Drone Swarm Software) ที่พัฒนาขึ้นโดยสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เป็นโดรนสัญชาติไทย ผลิตโดยคนไทยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ สำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย และเป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถควบคุมโดรนให้บินขึ้นพร้อมกันครั้งละหลาย ๆ ลำ และจัดเรียงตำแหน่งตามที่กำหนดโดยการสั่งงานจากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ซึ่งมีทีมเยาวชนนักประดิษฐ์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า การสร้างและการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มีประสิทธิภาพการทำงานทัดเทียมกับของต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาได้นำไปจัดแสดงในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติฯ และตอบสนองแนวโน้มการนำโดรนแปรอักษรมาใช้แสดงแทนการจุดพลุไฟมากขึ้น
ทั้งนี้การแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับประเภทปีกหมุนประลองปัญญา สนามต่อไปจัดขึ้นที่ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2567
ที่มา: สำนักข่าวการศึกษาไทย