"CREDIT" หุ้นแบงก์เข้ามาระดมทุนในรอบ 10 ปี เทรดวันแรก 9 ก.พ.นี้ ชูพอร์ตเติบโต - NIM สูงสุดในอุตสาหกรรม

พฤหัส ๐๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ๑๕:๕๒
ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) หรือ "CREDIT" หุ้น IPO ธนาคารพาณิชย์ในรอบ 10 ปี พร้อมเดินหน้าเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ เงินระดมทุนจะนำไปใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งในเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อ ชูความมั่นคงจากการเป็นหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ ขณะที่มีฐานลูกค้า รวมทั้งลักษณะการประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกับ Non-Bank ทำให้ธนาคารไทยเครดิต มีการเติบโตอย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม และสร้างความเชื่อมั่นด้วยผลตอบรับของนักลงทุนสถาบันระดับโลก ไว้วางใจเข้าลงทุน
CREDIT หุ้นแบงก์เข้ามาระดมทุนในรอบ 10 ปี เทรดวันแรก 9 ก.พ.นี้ ชูพอร์ตเติบโต - NIM สูงสุดในอุตสาหกรรม

นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ("ธนาคารฯ" หรือ "ธนาคารไทยเครดิต") กล่าวว่า ธนาคารไทยเครดิต พร้อมนำหุ้นเข้าเทรดวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ในหมวดธุรกิจ (Sector) กลุ่มธุรกิจการเงิน / ธนาคาร โดยใช้ตัวย่อ "CREDIT" ในการซื้อขายหลักทรัพย์ หลังจากที่นักลงทุนทุกกลุ่มให้การตอบรับอย่างดีในการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ราคาเสนอขายหุ้นที่ 29.00 บาทต่อหุ้น ตอกย้ำความเชื่อมั่นนักลงทุนแม้ในภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์การลงทุนที่มีความผันผวน ธนาคารฯ มีความมั่นใจในศักยภาพการเติบโต และฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ธนาคารฯ ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อเติบโตในระดับ 20%-30% ต่อปี สอดรับกับทิศทางการเติบโตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารฯ มีอัตราเติบโตของพอร์ตสินเชื่อโดยเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 33.0% ต่อปี (2563-2565) โดยมีเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ ณ งวด 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 138,435 ล้านบาท

นอกจากนี้ ธนาคารฯ มีแผนที่จะดำเนินการตามแผนงานและกลยุทธ์ในอนาคต ในการดำเนินธุรกิจและประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการนำระบบดิจิทัลมาใช้ การขยายส่วนแบ่งทางการตลาดของธนาคารฯ ในภาคธุรกิจการให้บริการสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (MSME) สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (Nano and Micro Finance) และสินเชื่อบ้านแลกเงิน (Home for Cash) ที่เติบโตได้ดี รวมทั้ง การมุ่งเน้นคุณภาพของสินเชื่อ และการเฟ้นหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ประสบการณ์ของลูกค้า และการเข้าถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

นายกนต์ธีร์ ประเสริฐวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า ธนาคารไทยเครดิต นับเป็นธนาคารพาณิชย์ในรอบ 10 ปีที่เข้ามาระดมทุน เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายโดยธนาคารฯ และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม OCA Investment Holdings I Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนในกลุ่มของ Olympus Capital Asia รวมจำนวน 254,124,200 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 5.00 บาท/หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 20.7% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารฯ ภายหลังการทำ IPO ในครั้งนี้ โดยในช่วงเปิดจองซื้อหุ้น IPO ธนาคารฯ ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนรายย่อย ตลอดจนนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งผู้ลงทุนสถาบันที่เป็น Cornerstone Investors ระดับโลก ให้ความเชื่อมั่น ตอกย้ำความแข็งแกร่งของธุรกิจ

โดย ธนาคารไทยเครดิต มีการดำเนินธุรกิจที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ทำให้สามารถครองตำแหน่งทางการตลาดที่มั่นคงและแข็งแกร่งในภาคธุรกิจการให้บริการสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (MSME) และสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (Nano and Micro Finance) ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่มีการเติบโตสูงในประเทศไทย รวมไปถึงบริการเงินฝาก และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจธนาคารฯ ในระหว่างปี 2556 ถึงปัจจุบัน ธนาคารฯ มีการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) สูงสุดในอุตสาหกรรม โดยในงวด 9 เดือน ปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 8.2% อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROE) อยู่ในระดับสูงที่ 21.8% สะท้อนการเติบโตอย่างมั่นคงในฐานะธนาคารพาณิชย์ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่มีการเติบโตแข็งแกร่งภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

อีกทั้ง จากรายงานของอิปซอสส์ (IPSOS) ประมาณการว่าในปี 2565 มูลค่าตลาดของการกู้ยืมนอกระบบอยู่ที่ 235.4 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 14% ของมูลค่าสินเชื่อภาคครัวเรือนในประเทศไทย สะท้อนโอกาสของธนาคารไทยเครดิตในการสนับสนุนบริการสินเชื่อ

จึงมั่นใจว่า ภายหลังการระดมทุนในครั้งนี้ ธนาคารฯ จะมีความพร้อมของเงินกองทุนธนาคารฯ สูงขึ้น โดยใช้เงินที่ได้จากการระดมทุน ภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการเสนอขายหลักทรัพย์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีจำนวนประมาณ 1,790 ล้านบาท ธนาคารฯ จะนำไปใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อประมาณ 895 ล้านบาท และปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and Infrastructure) ประมาณ 895 ล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานของธนาคารไทยเครดิต ในปี 2563-2565 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 6,370.9 ล้านบาท 8,493.6 ล้านบาท 11,052.3 ล้านบาท และ 9,783.8 ล้านบาท ตามลำดับ มีกำไรสุทธิ 1,372.9 ล้านบาท 1,935.0 ล้านบาท 2,352.5 ล้านบาท และ 2,816.7 ล้านบาท ตามลำดับ

*การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และโปรดอ่านหนังสือชี้ชวน หรือข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุปสาระสำคัญของหลักทรัพย์ (Executive Summary) อย่างรอบคอบ

ที่มา: ไออาร์ พลัส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๘ สรุปผลสำรวจปี 2567 สถาบันวิจัยฮาคูโฮโดเผย THAIDOM EFFECT มาแรง ช่วยเสริมสร้างความสุข ในยุคเศรษฐกิจชะลอตัว
๑๗:๑๔ รพ.กรุงเทพ ฉลองความสำเร็จกับรางวัล GREAT PLACE TO WORK พร้อมเปิดตัว DR.HEALTH AVATAR ตัวแทนความสุขยกระดับสุขภาพ
๑๗:๐๙ รับสิทธิประโยชน์สูงสุดด้วยส่วนลด 20% เมื่อจองตรงที่โรงแรม สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๑๗:๐๔ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2566
๑๗:๓๘ ธนาคารไทยพาณิชย์ คว้า 5 รางวัลสำคัญด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในปี 2567 ตอกย้ำความเป็นผู้นำองค์กรยั่งยืน
๑๗:๐๓ ดั๊บเบิ้ล เอ มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อผู้ป่วยยากไร้
๑๗:๔๓ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ยกระดับคุณภาพชีวิตเยาวชนในถิ่นทุรกันดารภาคเหนือ - อีสาน อย่างยั่งยืนต่อเนื่อง
๑๖:๕๖ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สร้างปรากฏการณ์ Amazing Celebration 2025 A New Chapter of The Journey
๑๖:๑๓ ปักหมุด เตรียมเช็คอิน ร่วมส่งความสุขปีใหม่มอบให้เกษตรกร ปี 2568 กับกรมส่งเสริมการเกษตร
๑๖:๔๒ สคร.12 สงขลา ร่วมรณรงค์ ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ ย้ำ ดื่มไม่ขับ ขับไม่ดื่ม ลดอุบัติเหตุ ลดเจ็บ ลดตาย ช่วงเทศกาลปีใหม่