"มทร.ล้านนา" รวมพลังแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 พื้นที่ภาคเหนือ รุกพัฒนานวัตกรรม สร้างปอดในมหาวิทยาลัย

ศุกร์ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๔ ๐๘:๕๘
ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ล้านนา กล่าวว่า ในทุก ๆ ปีประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงทางภาคเหนือต้องเผชิญกับปัญหาหมอกควันที่มีค่าฝุ่นละอองในอากาศหนาแน่น และมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 สูงเกินมาตรฐานปกคลุมพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ 12 สถาบันอุดมศึกษาได้รวมกลุ่มกัน เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาค่าฝุ่น ปัญหาหมอกควัน-ไฟป่า ฝุ่น PM 2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในส่วนของ มทร.ล้านนานั้น ได้รับผิดชอบใน 2 ส่วนสำคัญ คือ 1.การเป็นศูนย์ปฎิบัติการสอบเทียบเครื่องวัดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นศูนย์แห่งเดียวของประเทศไทย ได้รับงบประมาณจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS โดยหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ ได้มีการพัฒนาเครื่องทดสอบตัวกรองอัตโนมัติที่ได้มาตรฐาน มอก. 2424-2562 และ มอก. 2480-2562 เช่น บริษัทที่ต้องการทำหน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่น PM2.5 หรือเครื่องฟอกอากาศให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดก็สามารถมาทดสอบ และทางศูนย์จะมีการออกใบรับรองให้แก่บริษัท หรืออุตสาหกรรมนั้นๆ
มทร.ล้านนา รวมพลังแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 พื้นที่ภาคเหนือ รุกพัฒนานวัตกรรม สร้างปอดในมหาวิทยาลัย

รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.ล้านนา กล่าวอีกว่า 2. มทร.ล้านนา ได้พัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาและป้องกันฝุ่น PM2.5 เช่น พัฒนา "Smoke Watch : แอปพลิเคชันแจ้งเตือนและเฝ้าระวังไฟป่า จากการเผาในที่โล่ง ร่วมกับทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการแจ้งเหตุเผาไฟป่า และเข้าระงับเหตุได้ตรงจุดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเริ่มแรกได้มีการติดตั้งบริเวณ จ.เชียงราย และขณะนี้ได้มีการนำมาติดตั้งบริเวณ จ.เชียงใหม่ร่วมด้วย หรือการพัฒนาระบบเซนเซอร์ เตือนภัยจุดที่มีความร้อน ทำให้สามารถรู้พิกัดจุดเกิดไฟป่า รวมถึงลดปริมาณการเข้าไปในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย เป็นต้น

"มทร.ล้านนา ได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาฝุ่นPM 2.5 ทั้งในระดับจังหวัด และภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งในมหาวิทยาลัยได้มีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในห้องเรียน มีการจัดทำห้องปลอดฝุ่น RMUTL Safe Zone ด้วยการนำเทคโนโลยีสนามไฟฟ้าในการดักจับฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็ก (PM 2.5) การปลูกต้นไม้สีเขียวมากขึ้น มีระบบแจ้งเตือนเมื่อค่าฝุ่นPM2.5 เกินมาตรฐาน มีการรณรงค์ให้นักศึกษาได้เข้ามีส่วนร่วมในการลดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดฝุ่นPM2.5 และหากค่าฝุ่น PM 2.5 สูงระดับสีแดงก็จะให้ทั้งนักศึกษาและบุคลากร เรียน-สอนออนไลน์ ทำงานที่บ้าน รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม สร้างปอดของมหาวิทยาลัย พื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์แก่นักศึกษาและบุคลากรในหลาย ๆ จุด ดังนั้น นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยจะได้รับการดูแลด้านสุขภาพ อยู่ในมหาวิทยาลัยที่ปลอดฝุ่น PM2.5" ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่าว

ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ มทร.ล้านนา 6 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตเชียงราย วิทยาเขตตาก วิทยาเขตน่าน วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตภาคพายัพ เชียงใหม่ วิทยาเขตลำปาง ทุกแห่งจัดทำแผนในการลดปัญหาฝุ่น PM2.5 และดูแลนักศึกษา บุคลากร และประชาชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งนอกจากจะมีนวัตกรรมต่างๆ แล้ว ยังมีแนวทางในการสร้างความตระหนักให้แก่ชาวบ้าน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ไม่ว่าจะเป็น การให้ความรู้เรื่องการเผาป่า ไฟป่า หรือการระดมฉีดล้างทำความสะอาดผิวถนนและทางเท้าภายในมหาวิทยาลัย เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ หนึ่งในสาเหตุของการเกิดฝุ่น PM2.5 เป็นต้น

ที่มา: กู๊ดไทม์ พีอาร์

มทร.ล้านนา รวมพลังแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 พื้นที่ภาคเหนือ รุกพัฒนานวัตกรรม สร้างปอดในมหาวิทยาลัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO