ทั้งนี้ผู้ที่ชนะเลิศ คืออาจารย์จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ผลงานได้จดสิทธิบัตรไปแล้ว โดยเป็นผลงานประเภทบทความด้านความยั่งยืน "นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน" สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย เป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพื่อสร้างเครือข่าย และความร่วมมือในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคส่วนการศึกษา โดยเป็นต้นแบบให้กับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคมไทย และการประกาศเจตนารมณ์ของสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทยในการขับเคลื่อนนโยบายการกำหนดเป้าหมายทางสังคมเพื่อบรรลุค่าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) โดยตั้งเป้าหมายการดำเนินการภายในปี ค.ศ. 2040 ร่วมกัน จัดประชุมในระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 3 อาคาร 50 ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จังหวัดนนทบุรี และ มจพ.
ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงมาก และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและขยะ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเพิ่มพื้นที่ป่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงถือกำเนิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยในขณะนั้น มีมหาวิทยาลัยจำนวน 16 แห่ง เป็นสมาชิกและเป็นมหาวิทยาลัยผู้ก่อตั้ง ได้ลงนามความร่วมมือเข้าร่วมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Sun Thailand) ปัจจุบันมีเครือข่ายรวมทั้งหมด 47 มหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัย แต่ละแห่งการจัดประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งนี้...
ที่มา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม