นางสาวปิยนุช แตงแสงจันทร์ รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านช้าง กล่าวว่า "โรงเรียนบ้านช้างเป็นโรงเรียนขนาดกลาง เปิดทำการเรียนการสอนสำหรับเด็กระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษา รวมระยะเวลากว่า 84 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโรงเรียนขาดงบประมาณในการดูแลและบำรุงรักษาตัวอาคาร สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมถึงระบบไฟฟ้า ทำให้เริ่มทรุดโทรมซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเป็นประจำคือเรื่องไฟช็อต - ไฟรั่ว เพราะสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนใหญ่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก ส่งผลให้นักเรียนหลายคนไม่กล้าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและเกิดความกลัว
จากความช่วยเหลือของกลุ่มบริษัทพานาโซนิคในประเทศไทย ภายใต้โครงการ "พานาโซนิค แคร์" (Panasonic Cares) ที่นำทีมเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าเข้ามาปรับปรุงสวิตช์และเต้ารับไฟฟ้าใหม่ อีกทั้งยังได้นำทีมพนักงานมาร่วมทำกิจกรรมเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไรให้ปลอดภัยแก่นักเรียน ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน อีกทั้งยังจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครูและการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากยิ่งขึ้น"
ด.ช.จีรเดช พิณทอง - น้องโอม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เล่าว่า "เมื่อก่อนเวลาจะใช้งานปลั๊กสายไฟจะกลัวทุกครั้ง เพราะคุณครูจะพูดเสมอว่าให้ระมัดระวังเพราะสวิตช์และเต้ารับไฟฟ้าของโรงเรียนเราเก่ามากแล้ว และมีหลายจุดที่ใช้งานไม่ได้ ควรอยู่ให้ห่างเพราะถ้าไปใช้งานอาจถูกไฟช็อต หรืออาจทำให้อุปกรณ์ที่เรานำไปเสียบที่เต้ารับไฟฟ้านั้น เกิดความเสียหายได้ แต่วันนี้ผมมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะพี่ ๆ จากพานาโซนิค ช่วยกันเปลี่ยนสวิตช์และเต้ารับไฟฟ้าให้ใหม่แล้ว และยังได้สอนวิธีการใช้งานที่ถูกวิธีว่าควรถอดปลั๊กสายไฟทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ และไม่กระชาก หรือดึงที่สายไฟการเสียบปลั๊กสายไฟทุกครั้งต้องทำระมัดระวังไม่ควรกระแทกอย่างรุนแรง"
ทางด้าน ด.ญ. ฐิติพร ปิ่นทอง - น้องกีตาร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เล่าว่า "กิจกรรมครั้งนี้ ได้รับประโยชน์และความรู้เรื่อง สวิตช์และเต้ารับไฟฟ้ามากมาย อย่างเช่น วิธีสังเกต "เต้ารับหรือสวิตช์ไฟ" ที่ดีและปลอดภัย คือ ต้องมีเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. ต้องผลิตจากวัสดุคุณภาพ ใช้ทองแดงชนิดทนความร้อนสูงและที่ด้านนอกต้องทำจากวัสดุป้องกันการลามไฟ และที่สำคัญคือต้องมีม่านนิรภัยด้วย ซึ่งเป็นวิธีที่สังเกตได้ง่าย ๆ แต่หลายคนละเลย ซึ่งหนูคิดว่าจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปเล่าให้กับที่บ้านได้รับทราบ เพราะจะได้ช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดอันตราย หรือเพื่อน ๆ คนไหนที่ใช้งานเต้ารับไฟฟ้าเป็นประจำ ลองนำวิธีสังเกตนี้ไปปรับใช้กันดูได้"
สุดท้าย ด.ญ. จิราพา มานะชีพ - น้องต้นข้าว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เล่าว่า "ความรู้อยากจะแชร์ให้กับเพื่อน ๆ คือ การเลือก "ปลั๊กพ่วง" เชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ใกล้ตัวที่หลายคนใช้สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ ชาร์จคอมพิวเตอร์ ถ้า ปลั๊กพ่วงไม่มีคุณภาพจะส่งผลเสียกับตัวเองและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ วิธีเลือกควรสังเกตคือ จะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. และมีเบรกเกอร์เพื่อช่วยตัดวงจรไฟฟ้าให้เราได้ทันทีเมื่อกระแสไฟฟ้าเกิน ส่วนขั้วสายไฟต้องแข็งแรงรวมถึงรูเต้ารับต้องมีม่านนิรภัยด้วย
ที่มา: เอ พับลิซิสท์