มกอช. เผยแพร่ข้อมูลมาตรการและรายงานสถานการณ์โลกที่สำคัญ

พุธ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๔ ๑๗:๓๗
มกอช. เผยแพร่ข้อมูลมาตรการและรายงานสถานการณ์โลกที่สำคัญ ผลักดันการส่งออก สินค้าเกษตรไทย นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. ตอบรับนโยบาย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ โดยการเผยแพร่ข้อมูลกฎระเบียบและมาตรการในการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศคู่ค้า ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่เว็บไซต์ https://spsthailand.acfs.go.th และ https://warning.acfs.go.th และสื่อออนไลน์ เฟสบุ๊ค Early Warning เตือนภัยสินค้าเกษตร https://www.facebook.com/acfsearlywarning เพื่อแจ้งเตือนการบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ ๆ และข่าวสารทางด้านความปลอดภัยอาหาร แก่ผู้ที่สนใจอย่างรวดเร็ว
มกอช. เผยแพร่ข้อมูลมาตรการและรายงานสถานการณ์โลกที่สำคัญ

เลขาธิการ มกอช. กล่าวต่ออีกว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เมื่อปี พ.ศ. 2537 หรือเกือบ 30 ปีแล้ว ไทยในฐานะประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หรือ มาตรการ SPS (Sanitary and Phytosanitary Measures: SPS) และเงื่อนไขทางเทคนิค หรือ มาตรการ TBT (Technical Barriers to Trade) ในการค้าสินค้าเกษตรและอาหาร เฉพาะในส่วนของมาตรการ SPS นั้น ประเทศสมาชิก WTO ได้มีการแจ้งเวียนมาตรการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่จำนวน 2,172 ฉบับเมื่อปี 2564 ซึ่งผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องทราบสาระสำคัญของประกาศแจ้งเวียนและสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ เพื่อเตรียมตัวและปรับตัวในการส่งออก/นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร และหลีกเลี่ยงไม่ให้การค้าต้องหยุดชะงัก รวมถึงสร้างความสามารถในการแข่งขันและการยอมรับในระดับสากล มกอช. จึงได้เฝ้าติดตามการแจ้งเวียนมาตรการของประเทศคู่ค้าเพื่อเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง

โดยล่าสุดมีสรุปการแจ้งเวียนมาตรการ SPS/TBT ฉบับระหว่างวันที่ 16-31 มกราคม 2567 ซึ่งเผยแพร่ทางช่องทางประชาสัมพันธ์ข้างต้น สาระสำคัญของเรื่องที่เผยแพร่ประกอบด้วย มาตรการ SPS มาตรการ TBT และบทความที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้าเกษตรและอาหาร ดังต่อไปนี้ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หรือ มาตรการ SPS (Sanitary and Phytosanitary Measures: SPS) คือ มาตรการที่ใช้ในการปกป้องสุขภาพและชีวิตของมนุษย์ พืช และสัตว์ จากอันตรายที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น วัตถุเจือปนในอาหาร สารปนเปื้อน สารพิษ สิ่งมีชีวิตก่อโรคในอาหาร ศัตรูพืช โรคระบาดสัตว์ เพื่อป้องกัน หรือจำกัด ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการนำสินค้าเข้าสู่ประเทศและคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ มาตรการ SPS ยังครอบคลุมถึงมาตรการที่ใช้ปกป้องสิ่งมีชีวิตในน้ำ สัตว์ป่า ป่าไม้ และพืชพรรณในธรรมชาติ

มาตรการทางเทคนิค (Technical Barriers to Trade : TBT) ในส่วนของสินค้าเกษตรและอาหาร คือ มาตรการจากกฎระเบียบทางเทคนิคในส่วนที่ไม่ใช่ SPS ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับลักษณะของสินค้า กระบวนการผลิตสินค้า รวมถึงเรื่อง ฉลาก สัญลักษณ์ เครื่องหมาย คำศัพท์ นอกจากนี้ยังครอบคลุมกระบวนการประเมินความสอดคล้อง ที่ใช้ประเมินว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องแล้วหรือไม่ เช่น การสุ่มตัวอย่าง การทดสอบ การตรวจสอบ การประเมิน การขึ้นทะเบียน การรับรองระบบ บทความที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้าเกษตรและอาหาร

นอกเหนือจากสาระสำคัญของมาตรการ SPS และมาตรการ TBT มกอช. ยังมีบทบาทในการวิเคราะห์แนวโน้มกฎระเบียบระหว่างประเทศ พัฒนาการของคู่ค้าสำคัญ และการยกระดับมาตรการอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี และนำเสนอสู่สาธารณะเพื่อผลักดันภารกิจด้านการมาตรฐานต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เกษตรกร ภาคธุรกิจ นักวิจัย นักศึกษา หน่วยงานราชการ และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมของนโยบายในระดับประเทศ และผลักดันให้เกิดแนวนโยบายใหม่ ๆ ของไทยที่เท่าทันการค้าในระดับสากล ประชาชน ผู้ประกอบการ และเกษตรกรผู้สนใจ สามารถติดตามข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น มาตรการ SPS/TBT เหตุการณ์และสถานการณ์ สินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย ได้ที่ เว็บไซต์ https://spsthailand.acfs.go.th และ ช่องทางการติดตามข้อมูลข่าวสารของโครงการ Early Warning ได้ที่เว็บไซต์ https://warning.acfs.go.th และ เฟสบุ๊ค Early warning เตือนภัยสินค้าเกษตร (https://www.facebook.com/acfsearlywarning) หรือติดต่อได้ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เบอร์โทร 02-561-2277 หรือผ่านทาง e-mail: [email protected] ตามวันและเวลาทำการ:วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.

ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO