ไทยวา คว้ามาตรฐานความยั่งยืนด้านฟาร์มจากแพลตฟอร์ม SAI สำหรับไร่มันสำปะหลังในไทยและกัมพูชา เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศุกร์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ๐๘:๔๘
บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) ประกาศความสำเร็จในการเป็นองค์กรเอกชนรายแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่านมาตรฐานการประเมินความยั่งยืนด้านพื้นที่เพาะปลูก หรือ Farm Sustainability Assessment เวอร์ชั่น 3.0 ในระดับซิลเวอร์ สำหรับไร่มันสำปะหลังในไทยและกัมพูชา จากแพลตฟอร์ม Sustainable Agriculture Initiative หรือ SAI ที่เกิดจากการรวมตัวของภาคีทั่วโลกในการส่งเสริมความก้าวหน้าด้านเกษตรยั่งยืน สะท้อนความมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนอีโคซิสเท็มของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่ปรับตัวได้ในระยะยาว
ไทยวา คว้ามาตรฐานความยั่งยืนด้านฟาร์มจากแพลตฟอร์ม SAI สำหรับไร่มันสำปะหลังในไทยและกัมพูชา เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจุบันไทยวาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของแพลตฟอร์ม SAI เพื่อเรียนรู้และผลักดันการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน โดย หทัยกานต์ กมลศิริสกุล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายกลยุทธ์ ความยั่งยืน นวัตกรรม บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ไทยวามุ่งส่งเสริมให้เกิดอีโคซิสเท็มด้านเกษตรและอาหารที่ยั่งยืนและปรับตัวได้ เพื่อประโยชน์ของผู้คนและโลกใบนี้ เรายินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม SAI และพร้อมร่วมเรียนรู้และผลักดันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การทำเกษตรอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นจริงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไทยวาตั้งเป้าที่จะสนับสนุนและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเกษตรกรในภูมิภาคนี้มากกว่า 1 ล้านรายภายในปี 2571 เราขอขอบคุณเกษตรกรในเครือข่ายทั้งในไทยและกัมพูชา ที่เห็นความสำคัญและร่วมมือกันสร้างความยั่งยืนตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงมือผู้บริโภค เพื่ออนาคตที่ดีของพวกเราทุกคน"

สำหรับในประเทศไทย ไร่มันสำปะหลังในจังหวัดกาฬสินธุ์ของกลุ่มบริหารจัดการฟาร์มของไทยวา ได้รับการรับรองมาตรฐาน Farm Sustainability Assessment ในระดับซิลเวอร์จาก SAI เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 ซึ่งถือเป็นรายแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากความทุ่มเทในการจัดการพื้นที่เพาะปลูกอย่างยั่งยืน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับหลักความยั่งยืนของนานาชาติ

นอกจากนี้ บริษัท ไทยวา อินเวสท์เมนท์ (กัมพูชา) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของไทยวา ยังได้รับการรับรองมาตรฐาน Farm Sustainability Assessment ระดับซิลเวอร์สำหรับไร่มันสำปะหลังจาก SAI เช่นกัน ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการผลักดันความยั่งยืนในทุกชุมชนที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ ด้วยมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งภูมิภาค

ทั้งนี้การประเมินความยั่งยืนด้านฟาร์ม Farm Sustainability Assessment ของแพลตฟอร์ม SAI ครอบคลุมการประเมินด้านการจัดการที่ดิน การควบคุมความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืชและมลพิษ การเคารพสิทธิมนุษยชน และการรักษาวิถีชีวิตของเกษตรกร ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าเกษตรกรในเครือข่ายของไทยวาได้รับการดูแลด้านชีวิตความเป็นอยู่และผลผลิตมันสำปะหลังของไทยวามาจากแหล่งที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ไทยวาดำเนินธุรกิจด้านเกษตรและอาหารมากว่า 76 ปี ใน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม จีน อินโดนีเซีย อินเดีย และกัมพูชา โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น แป้งมันสำปะหลัง แป้งดัดแปร น้ำเชื่อมกลูโคส ไข่มุกมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า วุ้นเส้น เส้นหมี่ ชุดอาหารและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไทยวา เข้าชมได้ที่ www.thaiwah.com

ที่มา: ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์

ไทยวา คว้ามาตรฐานความยั่งยืนด้านฟาร์มจากแพลตฟอร์ม SAI สำหรับไร่มันสำปะหลังในไทยและกัมพูชา เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ