AH โชว์รายได้ปี 66 นิวไฮ แตะ 30,389 ลบ. โตสวนอุตสาหกรรม ตอกย้ำสถานะการเงินแกร่ง บอร์ดเคาะจ่ายปันผลทั้งปี 1.65 บ.

ศุกร์ ๐๑ มีนาคม ๒๕๖๗ ๑๔:๐๙
AH โชว์ฟอร์มผลการดำเนินงานทั้งปี 66 รายได้รวมทำนิวไฮที่ระดับ 30,389 ล้านบาท เติบโต 7% ท่ามกลางอุตสาหกรรมภาพรวมไทยชะลอตัว 2% รับภาพรวมปริมาณคำสั่งซื้อชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งปีที่เติบโตจากปีก่อนหน้าและการเติบโตของยอดขายธุรกิจโชว์รูมรถยนต์ พร้อมปรับโครงสร้างองค์กร เฉือนขายธุรกิจที่ไม่สร้างกำไร เดินเกมปี 67 โตต่อในต่างประเทศ บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ มั่นใจรายได้ทั้งปีโตสูงกว่าอุตสาหกรรม พร้อมตอกย้ำสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง มีศักยภาพหาโอกาสลงทุน บอร์ดไฟเขียวจ่ายปันผลครึ่งปีหลังอีก 0.95 บาท/หุ้น รวมทั้งปีจ่าย 1.65 บาท/หุ้น กำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับปันผล (Record Date) วันที่ 15 มีนาคม 2567 นี้
AH โชว์รายได้ปี 66 นิวไฮ แตะ 30,389 ลบ. โตสวนอุตสาหกรรม ตอกย้ำสถานะการเงินแกร่ง บอร์ดเคาะจ่ายปันผลทั้งปี 1.65 บ.

นาย เย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อาปิโก ไฮเทค หรือ AH ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์และศูนย์บริการหลังการขาย และธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ และ IoT (Internet of Things) รายงานผลประกอบการปี 2566 ว่าบริษัทมีรายได้รวม 30,389 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,041  ล้านบาท หรือ 7% เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีรายได้รวม 28,348 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิหลัก ไม่รวมกำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน และรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว) จำนวน 1,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 59 ล้านบาท หรือ 3.6% เมื่อเทียบกับปี 2565  ที่ทำไว้ 1,704 ล้านบาท

จากข้อมูลสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) การผลิตรถยนต์ในประเทศไทยในปี 2566 หดตัวลงประมาณ 2% ในขณะที่ยอดส่งออกรถยนต์เติบโตประมาณ 12% ยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยลดลงประมาณ 9% โดยมีสาเหตุหลักมาจากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยที่ชะลอตัว ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ประกอบกับสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์ ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศ โดยเฉพาะรถปิคอัพได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก และมีการประมาณการยอดผลิตรถยนต์ในประเทศไทยปี 67 ไว้ที่ 1.9 ล้านคัน เติบโต 3% จากปี 66

อย่างไรก็ตาม อาปิโกยังสามารถทำผลประกอบการทั้งปี 66 ได้ดีกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย จากการเติบโตของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และธุรกิจตัวแทนจำหน่ายและศูนย์การให้บริการรถยนต์ และการดำเนินธุรกิจในประเทศจีน โปรตุเกส และมาเลเซีย ซึงช่วยลดผลกระทบจากสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ ทำให้เห็นว่าบริษัทมีจุดแข็งในการกระจายความเสี่ยงเรื่องรายได้ ซึ่งการมีฐานการผลิตในหลากหลายภูมิภาค มีส่วนสำคัญในการลดการพึ่งพารายได้จากประเทศใดประเทศหนึ่ง

ในขณะที่ผลประกอบการไตรมาส 4/2566 บริษัทมีรายได้รวม 7,226  ล้านบาท ลดลง 8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดผลิตรถยนต์ภายในประเทศลดลง 12% และมีกำไรสุทธิหลัก (ไม่รวมกำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน และรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว) 421 ล้านบาท โดยบริษัทมีรายการค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างธุรกิจ  ได้แก่ การยุติการดำเนินธุรกิจที่ไม่สร้างกำไร จำนวน 76 ล้านบาท รวมถึงรายการแปลงค่างบการเงินที่เคยรับรู้ในส่วนแบ่งกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการขายเงินลงทุนในบริษัท Sakthi Auto Company Limited (SACL) จำนวน 171 ล้านบาท ซึ่งเป็นการรับรู้การขาดทุนผ่านงบกำไรขาดทุนตามมาตรฐานทางบัญชี แต่ไม่มีผลกระทบต่อส่วนทุนผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ

"อาปิโกได้ปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการทบทวนยุทธศาสตร์ และคอยติดตามผลการดำเนินงานของธุรกิจที่ได้เข้าไปลงทุนอย่างใกล้ชิด จึงตัดสินใจยุติธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและสภาวะตลาดที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้อย่างเหมาะสมทั้งในระยะกลาง และระยะยาว" นายเย็บ ซู ชวน กล่าว

โดยในปี 2567 นี้ บริษัทมั่นใจว่าจะยังคงสามารถทำรายได้เติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในประเทศไทย จากปริมาณคำสั่งซื้อของลูกค้าในประเทศจีน โปรตุเกส และมาเลเซียที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และยังคงเดินกลยุทธ์มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ควบคู่กับการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ บริษัทยังมีสถานะทางการเงินและงบดุลแข็งแกร่ง  มีอัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อทุนที่ 0.5 เท่าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนที่ 1 เท่า และมีเงินสดและเงินฝากประจำ 3,339 ล้านบาท ทำให้มีความพร้อมสำหรับการพิจารณาโอกาสลงทุนใหม่ เพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งในการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับสากล

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) ล่าสุด ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566 ในอัตรา 0.95บาท/หุ้น รวมทั้งปีจ่ายเงินปันผล (1 ม.ค.- 31 ธ.ค. 66) ในอัตรา 1.65 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจาก 1.56 บาทต่อหุ้น ในปี 2565 ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบัน คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลถึง 6.9% โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับปันผล (Record Date) วันที่ 15 มีนาคม 2567 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 24 พฤษภาคม 2567

ที่มา: บียอร์นไออาร์

AH โชว์รายได้ปี 66 นิวไฮ แตะ 30,389 ลบ. โตสวนอุตสาหกรรม ตอกย้ำสถานะการเงินแกร่ง บอร์ดเคาะจ่ายปันผลทั้งปี 1.65 บ.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๒ อาลีเพย์พลัสขยายเครือข่ายพันธมิตรด้านการชำระเงินเป็น 35 ราย เชื่อมโยงผู้ค้ากับนักท่องเที่ยวเข้าด้วยกันผ่านการชำระเงินบนมือถือ การขายของในแอปพลิเคชัน
๑๕:๓๙ ยกระดับบริการหลังการขายขึ้นอีกขั้นกับ Volvo Mobile Service เพียงนัดหมาย เราพร้อมให้บริการถึงหน้าบ้านคุณ
๑๕:๓๔ ประกาศราคาไทย HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนนแบบพับได้ระดับท็อป โฉบเฉี่ยวแต่แข็งแกร่ง พร้อมกล้องเพื่อการถ่ายรูปที่สมบูรณ์แบบ
๑๕:๒๔ มหัศจรรย์แห่งเฟสทีฟกลางลมหนาว ที่ห้างหรูในยุโรปของกลุ่มเซ็นทรัล
๑๕:๑๘ บี.กริม เพาเวอร์ ครองตำแหน่งเรตติ้งสูงสุด SET ESG Rating ระดับ AAA และอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน 7 ปีซ้อน ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
๑๔:๐๑ ธนาคารกรุงเทพ สำรองเงินสดช่วงเทศกาลปีใหม่ 40,000 ล้านบาท แนะลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
๑๔:๔๘ เที่ยวไทยสุขใจ ไทยพาณิชย์ โพรเทค มอบของขวัญปีใหม่ 2568 แจกฟรี! ประกันบ้านหรืออุบัติเหตุ 50,000 สิทธิ์
๑๕:๒๕ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ร่วมงานเลี้ยงการกุศล ส่งเสริมความเสมอภาคและโอกาสในสังคม
๑๕:๔๗ คณะผู้บริหารและพนักงาน ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล เยี่ยมชมโรงงาน 1NUO ที่ประเทศจีน
๑๔:๔๕ TFM เปิดแผนผลิตกุ้งยั่งยืน ดันไทยชิงโอกาสในตลาดโลก ชูนวัตกรรมอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน