บี.กริม เพาเวอร์ ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งในเกาหลีใต้ กำลังผลิตรวม 740 เมกะวัตต์ เดินหน้าขยายพอร์ท "พลังงานทดแทน"

พฤหัส ๐๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ๑๑:๓๒
บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทน ล่าสุดเข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง (offshore wind power plants) จำนวน 2 แห่ง โดยเข้าซื้อหุ้นใน Nakwol Wind และ Hanbit Wind ในสาธารณรัฐเกาหลี รวมกำลังผลิตติดตั้ง 740 เมกะวัตต์ เพื่อสานต่อการร่วมพัฒนาธุรกิจพลังงานทดแทนในสาธารณรัฐเกาหลี สอดคล้องกับกลยุทธ์การขยายธุรกิจพลังงานที่มั่นคงและยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย มุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในอนาคต
บี.กริม เพาเวอร์ ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งในเกาหลีใต้ กำลังผลิตรวม 740 เมกะวัตต์ เดินหน้าขยายพอร์ท พลังงานทดแทน

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า B.Grimm Power Korea Limited บริษัทย่อยที่ บี.กริม เพาเวอร์ ถือหุ้น 100% ได้เข้าลงทุนใน Nakwol Blueheart Co., Ltd. ("Nakwol Wind") ในสัดส่วนรวมร้อยละ 49 โดยมีมูลค่าการซื้อขายรวม 35,750,400 ดอลลาร์สหรัฐ

โดย Nakwol Wind เป็นเจ้าของและผู้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง Yeonggwang Nakwol ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้งประมาณ 365 เมกะวัตต์ โดย Nakwol Wind ได้ทำสัญญาเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับ Korea Electric Power Corporation ("KEPCO") และมีสัญญาซื้อขาย REC ระยะยาวจาก Korea Southern Power Co., Ltd. (KOSPO) ซึ่ง KEPCO ถือหุ้น 100% เป็นระยะเวลา 20 ปี นับจากวันที่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในเดือนธันวาคม 2568

นอกจากนี้ บี.กริม เพาเวอร์ ยังได้เข้าลงทุนใน Hanbit Wind Power Co., Ltd. ("Hanbit Wind") ในสัดส่วนร้อยละ 49 โดยมีมูลค่าการซื้อขายที่ 25,284,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดย Handbit Wind เป็นเจ้าของและเป็นผู้พัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง Yeonggwang Hanbit ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้งประมาณ 375 เมกะวัตต์ ซึ่งได้ทำสัญญาการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับ KEPCO แล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการด้านใบอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ ("COD") ในเดือนธันวาคม 2569

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า บี.กริม เพาเวอร์ ได้เดินหน้าขยายการลงทุนในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีโครงการอาทิ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงงานแสงอาทิตย์หลายโครงการรวมกำลังการผลิต 122.49 เมกะวัตต์ ซึ่งได้เปิด COD เรียบร้อยแล้ว โดยปลายปี 2567 จะมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่จะเปิด COD เพิ่มเติมอีก 20 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมอยู่ในระหว่างการพัฒนาอีกไม่ต่ำกว่า 1 กิกะวัตต์

ทั้งนี้ ความต้องการใช้ไฟฟ้าในสาธารณรัฐเกาหลีมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา จากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตตามเป้าหมาย ซึ่งทำให้ความมั่นคงทางพลังงานกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยสาธารณรัฐเกาหลีได้ดำเนินกลยุทธ์การปฏิรูปพลังงาน ด้วยเป้าหมายก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 เดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และการเติบโตสีเขียว โดยตั้งเป้าในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งจำนวน 20 กิกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2573

บี.กริม เพาเวอร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับ KEPCO ได้สร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนที่โดดเด่นในสาธารณรัฐเกาหลี ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมนอกชายฝั่ง พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายของสาธารณรัฐเกาหลี ที่ต้องการเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ที่มา: กู้ดวิล คอมมูนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ